ประเภทของโวหารการเขียน

น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “โวหารการเขียน” จากวิชาภาษาไทยในห้องเรียนหรือจากการทำข้อสอบ
แต่อาจจะไม่มั่นใจว่ามันคืออะไรหรือสับสนอยู่บ้างว่าแต่ละประเภทโวหารต่างกันอย่างไร ?

วันนี้พี่จะพาน้อง ๆ มารู้จักกับโวหารการเขียนกันมากขึ้น ตั้งแต่โวหารการเขียนคืออะไร ? มีกี่ประเภท ? แต่ละประเภท
ของโวหารมีวิธีสังเกตอย่างไร ? พร้อมทั้งมีตัวอย่างข้อสอบช่วยเสริมความเข้าใจ ขอบอกเลยว่าการทำความเข้าใจโวหารการเขียนนั้นค่อนข้างสำคัญเพราะมีออกในข้อสอบ A-Level ภาษาไทยซึ่งเป็นหนึ่งสนามใหญ่สำหรับเด็กสอบเข้า
มหาลัยฯ  เพราะฉะนั้นใครอยากทบทวนเนื้อหาเตรียมตัวสอบ ต้องการเทคนิคในการจำ เล่ือนลงไปดูกันเลยย !!

โวหารการเขียน หมายถึง ท่วงทำนองหรือลีลาของภาษาที่ผู้ผลิตผลงานใช้ในการเขียน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราว
และความรู้สึกตามวัตถุประสงค์ของที่เรื่องที่เขียน ซึ่งในทางภาษาไทยมีการจำแนกโวหารการเขียนไว้หลากหลายชนิด อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ง่ายต่อการจำของน้อง ๆ พี่ขอจำแนกโวหารการเขียนคร่าว ๆ ออกเป็น 2 แบบดังนี้เลยย

  1. โวหารการเขียนที่ออกในข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ( 3 ประเภท)
  2. โวหารการเขียนประเภทอื่น ๆ ( 2 ประเภท)

โวหารการเขียนที่ออกในข้อสอบ A- Level ภาษาไทย

สำหรับ A-Level ภาษาไทยนั้น หากอ้างอิงตาม Test Blueprint ตามประกาศของทปอ. โวหารการเขียนจะออกสอบเพียงแค่ 3 โวหารเท่านั้น ซึ่ง 3 โวหารที่ว่า มีโวหารอะไรบ้าง ลักษณะเป็นอย่างไรและตัวอย่างข้อสอบจะเป็นอย่างไร ไปดูกันนน

1. อธิบายโวหาร

อธิบายโวหาร คือ ลักษณะการเขียนเนื้อความให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียดและชัดเจน อธิบายอย่างง่าย ๆ ก็คือการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านคลายความสงสัย

ซึ่งวิธีการสังเกตอธิบายโวหาร เราสามารถใช้เทคนิคการดูประเภทของการอธิบาย หากเราอ่านแล้วพบว่าบทความนี้
ใช้ประเภทของการอธิบาย ก็จะสามารถตอบได้ว่าผู้เขียนใช้อธิบายโวหาร ซึ่งประเภทการอธิบายที่ออกข้อสอบบ่อย ๆ
จะมีด้วยกัน 4 ประเภทคือ

1.1 การให้นิยาม ลักษณะนี้เคยออกข้อสอบบ่อยมาก ซึ่งการให้นิยามก็คือการกำหนดความหมายของสิ่งนั้น ๆ ดังนั้น
วิธีการสังเกตคือให้ลองดูคำที่บ่งบอกถึงการใช้ความหมาย เช่น คำว่า, หมายถึง, คือ, เป็น

ตัวอย่างอธิบายโวหารแบบการให้นิยาม

  •  โอกาดะเป็นวิธีการรักษาสุขภาพด้วยการใช้พลังธรรมชาติชําระล้างทั้งร่างกายและจิตใจ
  •  ฉลามหัวบาตรคือปลาฉลามในวงศ์ปลาฉลามครีบดํา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Carcharhinus leucas

1.2 การให้ตัวอย่าง เป็นอีกหนึ่งลักษณะของการอธิบายที่ออกข้อสอบบ่อยเช่นกัน ซึ่งลักษณะของการให้ตัวอย่าง
ก็ตรงตามชื่อเลยคือเป็นการอธิบายโดยยกตัวอย่างประกอบ วิธีการสังเกตก็ไม่ยากคือให้น้อง ๆ ลองสังเกตคำที่แสดงถึงการยกตัวอย่าง เช่น คำว่า, ตัวอย่างเช่น, เช่น, อาทิ

ตัวอย่างอธิบายโวหารแบบการให้ตัวอย่าง

  • การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การลุกขึ้นยืดเหยียดเป็นระยะขณะนั่งทำงานเป็นเวลานาน จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงาน หรือลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมระหว่าง
    นั่งทำงาน

  • โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มักพบในเด็กมีมากมายหลายชนิด อาทิ โรคมือเท้าปาก โรคไข้หวัดใหญ่
    โรคไข้เลือดออก

1.3 การเปรียบเทียบ เป็นวิธีการอธิบายที่ผู้เขียนจะชี้ให้เห็นถึงความเหมือนและความแตกต่าง ของสิ่งที่ผู้เขียนนำมา
เปรียบเทียบกัน วิธีการสังเกตคือต้องดูว่าการเขียนอธิบายนั้นมีการเปรียบเทียบให้เห็นความเหมือนหรือความต่าง
ของบางอย่างที่มากกว่า 2 สิ่งหรือไม่

ตัวอย่างอธิบายโวหารแบบการเปรียบเทียบ

  • การเล้ียงลูกสุนัขสักตัวไม่ต่างอะไรกับการดูแลลูกมนุษย์หรือทารก การดูแลสุนัขที่ดีต้องอาศัยเวลา ความรักและการดูแลเอาใจใส่ เฉกเช่นเดียวกับการดูแลทารกวัยแรกเกิด

  • เก้งตัวผู้มีเขาเช่นเดียวกับกวาง เขาเก้งมีขนาดเล็กกว่ากวางมาก ยาว 5-12 เซนติเมตร แต่กลับมีฐานเขา
    ยกขึ้นสูง เขากวางส่วนใหญ่มีฐานสูงเพียงประมาณ 2.5 เซนติเมตรเหนือฐานกะโหลก แต่ฐานเขาของเก้ง
    ยาวเฉล่ีย 15 เซนติเมตร

1.4 การชี้ให้เห็นถึงสาเหตุและผลลัพธ์ เป็นการเขียนอธิบายที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ว่า สาเหตุนั้นก่อให้เกิดผลลัพธ์อะไรตามมา หรือผลลัพธ์นั้นเกิดจากสาเหตุอะไร วิธีการสังเกตคือน้อง ๆ ต้องดูว่าการอธิบายนั้นมีการให้เหตุผลหรือไม่นั่นเอง

ตัวอย่างอธิบายโวหารแบบการชี้ให้เห็นถึงสาเหตุและผลลัพธ์

  • การเคล่ือนตัวของแผ่นเปลือกโลกที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสึนามิ

  • กระทิงมักจะเลือกหากินอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่อดน้ำไม่เก่ง

2. บรรยายโวหาร

บรรยายโวหาร คือ ลักษณะการเขียนด้วยวิธีเล่าเรื่องราวให้ผู้อ่านเข้าใจและติดตามเรื่องราวได้โดยตลอด สิ่งที่บรรยายอาจเป็นเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาพของบ้านเมือง ผู้คน ความเป็นมาหรือประวัติ
ของบุคคลสถานที่ และเหตุการณ์ เป็นต้น

วิธีสังเกตบรรยายโวหาร เทคนิคง่ายแสนง่ายเลยคือ ในเมื่อบรรยายโวหารเป็นการบรรยายเหตุการณ์ ดังนั้นจึงต้องมี
ตัวละครและเรื่องราวเกิดขึ้น วิธีการสังเกตน้อง ๆ ต้องสังเกตว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร หากอ่านแล้วพบตัวละคร เรื่องราวต่าง ๆ ฟันธงไว้ก่อนเลยว่านี่คือบรรยายโวหาร

ตัวอย่างบรรยายโวหาร

  • ชายหนุ่มเล้ียวรถออกจากถนนสายหลัก สวนทางกับชาวบ้านที่ต้อนฝูงวัวอยู่
  • คนหาปลาออกจากกระท่อมแต่เช้าตรู่ คล้องแหไว้กับท่อนแขน สะพายข้องตรงไปยังชายน้ํา

3. พรรณนาโวหาร

พรรณนาโวหาร คือ ลีลาการเขียนเนื้อความอย่างละเอียดที่ทำให้ผู้อ่านสร้างภาพในจินตนาการ เกิดอารมณ์และความรู้สึกคล้อยตาม ซึ่งผู้แต่งมักจะใช้แทรกเสริมประกอบโวหารอื่น เช่น โวหารบรรยาย เพื่อให้งานเขียนมีเรื่องราวต่อเนื่อง พรรณนาโวหารเป็นภาษาที่ทำให้เห็นภาพ ใช้คำที่ประดิษฐ์ให้ไพเราะเสริมแต่งด้วยความเปรียบต่าง ๆ

วิธีการสังเกตพรรณนาโวหาร ให้น้อง ๆ จำไว้เลยว่าพรรณนาโวหารมักใช้ภาษาที่ทำให้เห็นภาพ มีความเวอร์วัง
ใช้คำที่อลังการ ทำให้เห็นภาพแบบสุด ๆ ไปเลย แต่ถ้าให้พูดง่าย ๆ พรรณนาโวหารเสมือนการนำบรรยายโวหารมาใช้คำ
หรือภาษาที่อลังการให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างพรรณนาโวหาร

  • ร่างตระหง่านของสัตว์ชนิดหนึ่งปรากฏเด่นทะมึนอยู่กลางทุ่งหญ้า มันคือกระทิงรุ่นหนุ่มร่างกายล่ำสัน
    เขาโค้ง ข้อเท้าทั้งสี่มีสีขาวเหมือนใส่ถุงเท้า
  • รุ่งสางแล้ว ชัยแหงนมองใบไม้เหนือศีรษะ เหมือนผ้าลูกไม้โปร่งด้วยแสงแดดรำไรที่สาดลงมา
สรุปประเภทของอธิบายโวหาร

โวหารการเขียนประเภทอื่น ๆ

นอกจากโวหารการเขียน 3 ประเภทที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีโวหารการเขียนประเภทอื่น ๆ อีกที่ถึงแม้จะไม่เคยออกข้อสอบใน A-Level แต่เคยออกในวิชาสามัญ รวมถึงน้อง ๆ ต้องเจอในห้องเรียนอีกด้วยยย ซึ่งพี่รวบรวมโวหารการเขียนที่น่าสนใจมาอีก 2 โวหารดังนี้เลยย

1. เทศนาโวหาร

เทศนาโวหาร คือ ลักษณะการเขียนเพื่อสั่งสอนผู้อ่านให้ได้รับคติ ข้อคิดหลักธรรม แนวทางการปฏิบัติตน
เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสมตามทำนองคลองธรรมและสร้างสังคมให้เป็นปกติสุข พูดง่าย ๆ ชื่อของมันคือเทศนาโวหาร 

ดังนั้นลักษณะของมันคือเป็นการเขียนในเชิงสั่งสอนความรู้ทางธรรมให้กับผู้อ่าน ข้อสังเกตโวหารประเภทนี้คือให้อ่านภาพรวมทั้งข้อความว่าเป็นไปในลักษณะการสั่งสอนที่แฝงหลักธรรมหรือไม่นั่นเองงง

ตัวอย่างเทศนาโวหาร

โลกหรือสิ่งทั้งปวงมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่เป็นตัวตนของโลก มันจะเล่นงานบุคคลผู้ที่เข้าไปยึดถือด้วยตัณหา อุปทานนับแต่วาระแรก คือตั้งแต่เมื่ออยากได้อยากเป็น กำลังได้กำลังเป็น และได้แล้วเป็นแล้ว ตลอดเวลาแห่งกาลทั้งสาม ใครเข้าไปยึดถืออย่างหลับหูหลับตาแล้วก็จะมีความทุกข์อย่างเต็มที่ เหมือนอย่างที่เราเห็น
ปุถุชนคนเขลาทั้งหลายเป็น ๆ กันอยู่โดยทั่วไปในโลก

(พุทธทาส)

2. สาธกโวหาร

สาธกโวหาร คือ การเขียนข้อความที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายหรือสนับสนุน ความคิดเห็นให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ 

สาธกโวหารถือได้ว่าเป็นโวหารเสริมกับโวหารประเภทอื่น ๆ มักจะแอบแฝงเพื่อช่วยเหลือให้โวหารอื่น ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับเทศนาโวหารหรือบรรยายโวหารน้าา

ตัวอย่างสาธกโวหาร
อำนาจความสัตย์เป็นอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่เพียงแต่จับหัวใจคน แม้แต่สัตว์ก็ยังมีความรู้สึกในความสัตย์ซื่อ
เมื่อกวนอูตายแล้ว ม้าของกวนอูก็ไม่ยอมกินหญ้ากินน้ำ และตามเจ้าของไปในไม่ช้า ไม่ยอมให้หลังของมันสัมผัส
กับผู้อื่นนอกจากนายของมัน

(ประภัสสร เสวิกุล)

สรุป เทคนิคการจำโวหารการเขียน

สรุปโวหารการเขียนมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างข้อสอบโวหารการเขียน

ภาพโจทย์โวหารการเขียน-01
คำอธิบายเฉลย

เฉลย ตอบข้อ 1. ก. เพราะข้อความในข้อ ก. ใช้ภาษาที่มีเขียนเนื้อความอย่างละเอียดที่ทำให้ผู้อ่านสร้างภาพตามได้ โดยจะปรากฎภาษาสร้างจินตภาพในข้อความที่ว่า “ก้อนหินขนาดใหญ่เท่าบ้านทั้งหลัง” และ “ภาพสายน้ำสีมรกตไหลอ้อมโขดหินมหึมา”

คำอธิบายเฉลย

เฉลย ตอบข้อ 2. ข. เพราะข้อความในข้อ ข. ใช้ภาษาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น มีใคร ทำอะไร นั่นคือมีตัวละครดอกไม้สด
ที่เริ่มเขียนนวนิยายนั่นเอง

ภาพโจทย์โวหารการเขียน-03
คำอธิบายเฉลย

เฉลย ตอบข้อ 4. การอธิบายและการบรรยาย เพราะ ข้อความดังกล่าวใช้วิธีการเขียนแบบอธิบาย ตรงที่กล่าวว่า “…จรวดรีไซเคิล คือจรวดที่ติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่เคยใช้งานแล้วนำกลับมาใช้ใหม่…” ซึ่งเป็นการนิยาม ส่วนข้อความที่เหลือเป็นการบรรยาย สังเกตจากเป็นการกล่าวเรื่องราวทั่ว ๆ ไป เล่าว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
ไม่ลงรายละเอียด ใช้คำพื้นฐาน

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเนื้อหาที่พี่รวบรวมมาให้ในวันนี้ จะเห็นได้เลยว่าเรื่องของโวหารการเขียนไม่ได้ยากเลยย ถ้าเรามีเทคนิคในการสังเกต ส่วนใครที่ยังไม่แม่น ก็แนะนำให้ทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดเยอะ ๆ น้า นอกจากจะใช้สอบที่โรงเรียนได้แล้ว ยังใช้สอบ A-Level ภาษาไทยได้อีกด้วย 

แต่ถ้าน้อง ๆ Dek68 คนไหนกังวลว่าจะเตรียมตัวสอบไม่ถูกจุด เพราะสนามนี้มีหลายวิชา วันนี้พี่ขอแนะนำคอร์สเรียนพิเศษสนาม A-Level ของ SmartMathPro ที่มีทั้ง A-Level คณิต 1,2 / A-Level ภาษาอังกฤษ / A-Level ฟิสิกส์ /
A-Level ภาษาไทย / A-Level สังคม เลยน้าา

โดยแต่ละคอร์สมีสอนเนื้อหาปูพื้นฐานอิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุด (ใครที่พื้นฐานไม่แน่นก็สามารถเรียนได้)
พร้อมพาตะลุยโจทย์แบบไต่ระดับ ตั้งแต่โจทย์ซ้อมมือไปจนถึงข้อสอบเก่าหรือโจทย์ที่ใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย
และพาตะลุยโจทย์หลายระดับจัดเต็ม พร้อมแจกเทคนิคในการทำข้อสอบที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น
แถมยังช่วยเพิ่มโอกาสในการอัปคะแนนให้อีกด้วย !!

แนะนำว่ายิ่งเริ่มเตรียมตัวสอบเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งพร้อมมากกว่าใครน้า เพราะปีนี้สนามสอบ A-Level เล่ือนมาสอบไวขึ้น น้อง ๆ จะได้มีเวลาทบทวนเนื้อหาและฝึกทำโจทย์เสริมแกร่งได้นั่นเอง ที่สำคัญ ถ้าสมัครคอร์สตั้งแต่ตอนนี้พี่มี
Unseen Mock Test ชุดพิเศษ 1 ชุด แถมฟรีไปให้ลองทำพร้อมสิทธิพิเศษประจำเดือนอีกมากมายด้วย ถ้าน้อง ๆ
คนไหนสนใจคอร์สเตรียมสอบ A-Level สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาภาษาไทย การอ่านจับใจความ
การอ่านจับใจความ สรุปเนื้อหาพร้อมเทคนิคและข้อสอบจริงให้ลองทำ
สรุปเนื้อหา ประโยคกำกวม
ประโยคกำกวม คืออะไร ? สรุปเนื้อหาพร้อมตัวอย่างประโยคและข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหา ระดับภาษา
ระดับภาษา คืออะไร มีกี่ระดับ สรุปเนื้อหาระดับภาษาพร้อมข้อสอบจริง
เนื้อหาภาษาไทย ม.ปลาย
สรุป ภาษาไทย ม.ปลาย (ม.4 ม.5 ม.6) เรียนอะไรบ้าง ? - SmartMathPro
กำหนดการ TCAS68
TCAS68 สอบวันไหน? ลงทะเบียน MyTCAS68 เมื่อไหร่? สรุปตารางสอบ Dek68 ฉบับอัปเดตล่าสุด
ทุกสิ่งที่ต้องรู้ก่อนสอบ A-Level ภาษาไทย
ก่อนสอบ A-Level ภาษาไทย Dek68 ต้องรู้อะไรบ้าง? สรุปครบในบทความนี้

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share