มีใครสังเกตไหมว่าสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยเริ่มกลับมาเป็นที่นิยมอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นละคร นิยาย หรือซีรีส์
จนหลายคนอาจจะสงสัยว่า เหตุการณ์ที่เราเห็นตามสื่อต่าง ๆ เคยเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ไทยหรือไม่ เพราะวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนค่อนข้างแตกต่างจากสมัยนี้
วันนี้พี่เลยจะพาทุกคนไปหาคำตอบในบทความ ประวัติศาสตร์ไทย ที่พี่ได้รวบรวมเนื้อหามาให้ครบทั้ง การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย และเรื่องอื่น ๆ บอกเลยว่านอกจากความรู้ที่สามารถนำไปใช้สอบที่โรงเรียนกับสอบ A-Level สังคม ได้แล้ว น้อง ๆ ยังสามารถนำความรู้นี้ไปเชื่อมโยงกับสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยที่เราชอบได้ด้วยน้า ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว ไปอ่านกันเลยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleประวัติศาสตร์ ม.ปลาย เรียนอะไรบ้าง ?
ประวัติศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งสาระที่อยู่ในเนื้อหาวิชาสังคมศึกษา โดยในเนื้อหา ม.ปลาย จะแบ่งเนื้อหาประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ประวัติศาสตร์ไทย เช่น ความเป็นมาของชาติ อาณาจักรโบราณ เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในสมัยต่าง ๆ
- ประวัติศาสตร์สากล เช่น การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ การสร้างสรรค์อารยธรรมในแต่ละยุค
แต่สำหรับวันนี้พี่จะขอพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกเนื้อหาเฉพาะ ประวัติศาสตร์ไทย ให้ทุกคนเข้าใจไปถึงแก่นกัน ซึ่งจะมีเรื่อง
เกี่ยวกับอะไรบ้าง เลื่อนไปอ่านหัวข้อถัดไปกันได้เลย
ประวัติศาสตร์ไทย คืออะไร สำคัญยังไง ?
ประวัติศาสตร์ไทย คือ การศึกษาเรื่องราวสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง วิถีชีวิตหรืออื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในอาณาจักรหรือดินแดนของประเทศไทยในช่วงยุคสมัยต่าง ๆ ซึ่งการเรียนประวัติศาสตร์ จะทำให้เราเข้าใจทั้งตนเอง ผู้อื่น และสังคมของเราด้วย
ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ไทย หรือ การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของผู้คนในชาติของเรา จะทำให้เราเข้าใจความเป็นมาของชาติ และรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชาติของเรามากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันยังมีการนำความรู้ทางประวัติศาสตร์ไปบูรณาการ ต่อยอด สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจได้อีกมากมาย เช่น ละครย้อนยุคต่าง ๆ ที่หลายเรื่องก็มีพื้นฐานมาจากประวัติศาสตร์ไทยนั่นเองง
หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ไทย
การศึกษาประวัติศาสตร์ เป็นการหาข้อเท็จจริงของสังคมจากหลักฐานหรือร่องรอยที่เกี่ยวข้องกับอดีต โดยหลักฐานที่
ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยนั้นมีหลายรูปแบบมากกก แต่พี่ขอลิสต์มาเฉพาะบางอย่างน้า ตามนี้เลย
1. จารึก คือ หลักฐานที่ใช้เขียนหรือจารึกลงในวัสดุต่าง ๆ เช่น เขียนลงแผ่นหิน (ศิลาจารึก) เขียนลงใบลาน (จารึกใบลาน) เขียนลงแผ่นทองคำ (จารึกลานทอง)
ตัวอย่างจารึกในประวัติศาสตร์ไทย เช่น จารึกเขาน้อย ถือเป็นศิลาจารึกที่เก่าที่สุดที่ระบุศักราชในประเทศไทย
2. บันทึกของชาวต่างชาติ คือ บันทึกของนักเดินทาง คณะทูตของอาณาจักรต่าง ๆ ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย
ตัวอย่างบันทึกของชาวต่างชาติในประวัติศาสตร์ไทย เช่น เล่าเรื่องกรุงสยาม ซึ่งเป็นหนังสือบันทึกเล่าเรื่องชีวิต
ความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัย ร.4 โดยบาทหลวงปาเลอร์กัวซ์
3. วรรณกรรม คือ งานเขียนที่แต่งขึ้นในแต่ละสมัย มักจะสะท้อนวิถีชีวิต และสภาพสังคมไทยในสมัยนั้น ๆ จึงสามารถใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้เหมือนกัน แต่ต้องระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น อาจจะไม่สามารถสะท้อนภาพความเป็นจริงได้ทั้งหมด
ตัวอย่างวรรณกรรมในประวัติศาสตร์ไทย เช่น ขุนช้างขุนแผน ที่เป็นวรรณคดีเรื่องสำคัญที่สามารถสะท้อนภาพสังคมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้
4. ตำนาน คือ เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา และมีการนำไปบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรภายหลัง ส่วนมากมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ทำให้ค่อนข้างมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์น้อย
ตัวอย่างตำนานในประวัติศาสตร์ไทย เช่น ตำนานรัตนพิมพวงศ์ที่เล่าเรื่องราวการสร้างพระแก้วมรกตและการนำไปประดิษฐานยังเมืองต่าง ๆ
5. จดหมายเหตุ คือ บันทึกข่าวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยมีการลงวัน เดือน ปี ก่อนบันทึกเหตุการณ์
ตัวอย่างจดหมายเหตุในประวัติศาสตร์ไทย เช่น จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ที่เขียนโดย ซีมง เดอ ลาลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เป็นจดหมายเหตุที่เล่าเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนในปลายรัชสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
6. พงศาวดาร / พระราชพงศาวดาร คือ บันทึกเรื่องราวในราชสำนัก เน้นเรื่องราวของพระมหากษัตริย์และราชวงศ์
ตัวอย่างพงศาวดารในประวัติศาสตร์ไทย เช่น พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ถือเป็นฉบับที่เก่าแก่ที่สุด บันทึกเหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่เริ่มสถาปนา จนถึงรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้อีกหลากหลาย เช่น กฎหมาย สารตรา ศุภอักษร ใบบอก หรือหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถาน
ทั้งนี้นอกจากการศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยก็ต้องใช้วิธีการศึกษาที่ถูกต้อง หรือที่เราเรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอน โดยในบทความนี้พี่จะขอพูดถึงแต่ละวิธีแบบคร่าว ๆ เท่านั้น คือ
1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา หรือการกำหนดหัวข้อ
2. การรวบรวมหลักฐาน หรือการหาหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราต้องการจะศึกษา
3. การประเมินคุณค่าของหลักฐานหรือการวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การที่เรานำหลักฐานที่หามาได้ มาดูว่าใช้ได้หรือเปล่า โดยในขั้นตอนนี้ สามารถเช็กได้ 2 รูปแบบ คือ
- การวิพากษ์วิธีภายนอก คือ การเช็กจากภายนอกว่าหลักฐานที่เราได้มานั้น เป็นของจริงหรือของปลอม
- การวิพากษ์วิธีภายใน คือ การเช็กจากภายในว่าหลักฐานที่เราได้มานั้น ให้ข้อมูลอะไรกับเราบ้าง หรือการดูว่าข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือไหม
4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล คือ เมื่อเราพิสูจน์แล้วว่าหลักฐานที่เราหามาเป็นของจริง เชื่อถือได้ เราก็ต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ เพื่อเชื่อมโยงกับเรื่องที่เราต้องการศึกษา
5. การเรียบเรียงและนำเสนอ คือ การอธิบายข้อเท็จจริงหรือความรู้ที่เราได้จากการศึกษา เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ
โดยสามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ
ยุคสมัยของประวัติศาสตร์ไทย มีอะไรบ้าง ?
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยสามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่ที่เรามักจะเห็นกันในหนังสือเรียน หรือการเรียนประวัติศาสตร์ไทยโดยทั่วไป คือ มักใช้เกณฑ์การแบ่งจากราชธานีเป็นหลัก ตามที่น้อง ๆ เคยได้ยินบ่อย ๆ เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ นั่นเอง
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่คิดค้นตัวอักษร เราจะศึกษาประวัติศาสตร์จากหลักฐานที่เป็นสิ่งของโดยแบ่งยุคสมัยตามเครื่องมือเครื่องใช้ ในประวัติศาสตร์ไทยสามารถแบ่งช่วงเวลาในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ตามนี้เลย
- ยุคหินเก่า เครื่องมือเครื่องใช้เป็นหินกะเทาะ ไม่ได้ตกแต่ง เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังคงเร่ร่อน ล่าสัตว์ และอาศัยอยู่ตามถ้ำ
- ยุคหินใหม่ เครื่องมือเครื่องใช้เป็นหินขัด ด้านหนึ่งคม อีกด้านหนึ่งมน เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์เข้าสู่สังคมเกษตรกรรม และตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน
- ยุคสำริด เครื่องมือเครื่องใช้เป็นทองแดงผสมดีบุก เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นชุมชนที่ซับซ้อนมากขึ้น
เริ่มติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่น - ยุคเหล็ก เครื่องมือเครื่องใช้เป็นเหล็ก เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นชุมชนกระทั่งพัฒนาเป็นเมืองหรือรัฐ
เริ่มมีประเพณี และการประกอบพิธีกรรม
สมัยประวัติศาสตร์
สำหรับสมัยประวัติศาตร์จะเริ่มต้นเมื่อมนุษย์ได้บันทึกประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนของประเทศไทย
นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เมื่อค้นพบจารึกปราสาทเขาน้อย จ.สระแก้ว เนื่องจากเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ระบุศักราชในประเทศไทย ซึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ไทย สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1. รัฐโบราณในดินแดนประเทศไทย
ก่อนจะมีการสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นเป็นเมืองหลวง ดินแดนไทยในปัจจุบันเคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีความสำคัญหลายแห่ง ดังนี้
2. สมัยสุโขทัย
- ก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย ดินแดนบริเวณนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรขอม
- เมื่อขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง กลุ่มคนไทยจึงได้พยายามตั้งตนเป็นอิสระ
- มีผู้นำ คือ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง กับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด
- เมื่อสามารถเอาชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้แล้ว ได้สถาปนากรุงสุโขทัยและพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์
- การปกครองสมัยในสมัยสุโขทัย แบ่งรูปแบบออกเป็น 2 รูปแบบ
- ในช่วงสมัยสุโขทัยตอนต้น ปกครองแบบพ่อปกครองลูก กษัตริย์มีฐานะเปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัว
- ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้เปลี่ยนคติการปกครองเป็น ธรรมราชา
- สภาพสังคมสมัยสุโขทัย ประชาชนถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคม อาชีพหลักของชาวสุโขทัย คือ เกษตรกรรม และมีอุตสาหกรรมสำคัญ คือ เครื่องสังคโลก ซึ่งสันนิษฐานจากการขุดพบ “เตาทุเรียง” จำนวนมาก
- สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในปี
พ.ศ. 1826 ซึ่งถือเป็นมรดกสำคัญของชนชาวไทยที่ตกทอดมาถึงในปัจจุบัน
3. สมัยอยุธยา
- การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา เกิดจากการรวมกันระหว่างแคว้นสุพรรณภูมิ และแคว้นละโว้
- ผู้นำในการสถาปนาคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
- ช่วงสมัยอยุธยาถือเป็นช่วงเวลาที่เป็นศูนย์กลางอำนาจยาวนานที่สุดของไทยในปัจจุบัน (กว่า 417 ปี)
- การปกครองสมัยอยุธยา กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง มีฐานะทรงเป็นสมมุติเทพ แต่ยังยึดหลักธรรมในการปกครอง
- ในเมืองหลวงใช้ระบบเสนาบดี 4 ตำแหน่ง เรียกว่า จตุสดมภ์ ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และนา
- เกิดการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
- สภาพสังคมสมัยอยุธยา ใช้ระบบศักดินาในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคนในสังคม
- ประชาชนประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม และการเก็บของป่าขาย
- ส่วนรัฐมีรายได้จากพระคลังสินค้า และการจัดเก็บภาษีประเภทต่าง ๆ ประกอบด้วย จังกอบ อากร ส่วย และฤชา
4. สมัยธนบุรี
- เริ่มภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้กอบกู้เอกราชและรวบรวมกำลังคน
มาตั้งเมือง - ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยา
- เนื่องจากในสมัยกรุงธนบุรีมีช่วงระยะการเป็นราชธานีสั้น ๆ จึงทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากนัก
5. สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.1 - ร.3)
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เกิดขึ้นเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
มีพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มาฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำเจ้าพระยาและตั้งชื่อใหม่ว่า กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2325
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นหลายเหตุการณ์ พี่ได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญแบบแยกรัชกาลเอาไว้ให้แล้ว เลื่อนลงไปอ่านกันได้เลยย
สมัยรัชกาลที่ 1
- ได้โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาพระไตรปิฎก
- สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
- โปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระกฎหมายตราสามดวง
- ทรงทำสงครามป้องกันบ้านเมือง คือ สงครามเก้าทัพ
สมัยรัชกาลที่ 2
- ถือเป็นช่วงยุคทองของวรรณคดี มีกวีที่สำคัญ คือ สุนทรภู่
- ยุคทองของดนตรีไทย เพราะ ร.2 ทรงมีความสามารถทางด้านดนตรี
สมัยรัชกาลที่ 3
- เป็นช่วงยุคทองแห่งการค้าขาย เพราะ ร.3 เชี่ยวชาญด้านการค้าขายมาก จนได้รับ
พระราชสมัญญานามว่า “เจ้าสัว” - มีเงินเก็บเก็บจำนวนมาก โดยเก็บใส่ถุงผ้าสีแดงไว้ จึงเรียกว่า เงินถุงแดง (พระคลังข้างที่)
- เกิดการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ ซึ่งถือเป็นสนธิสัญญาการค้าฉบับแรกที่ทำกับชาติตะวันตก
6. สมัยรัตนโกสินทร์ช่วงปฏิรูปประเทศ (ร.4 – ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)
ถือเป็นช่วงเวลาที่สภาพสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อให้ประเทศเจริญก้าวหน้าตามแบบอารยธรรมตะวันตก โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ ที่น้อง ๆ
ควรรู้จัก ดังนี้
สมัยรัชกาลที่ 4
- มีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก
- ทรงยกเลิกและปรับเปลี่ยนธรรมเนียมโบราณหลายอย่าง เช่น ให้ข้าราชการไทยสวมเสื้อเมื่อเข้าเฝ้า ให้สิทธิเสรีภาพกับผู้หญิงมากขึ้น ส่งเสริมการศึกษา
- เกิดการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ
สมัยรัชกาลที่ 5
- ประเทศไทยได้เกิดการปฏิรูปในทุกด้าน โดยสาเหตุ คือ เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและเจริญรุ่งเรืองเพื่อให้ทัดเทียมโลกตะวันตก
- จากการทรงงานหนักในการพัฒนาประเทศเพื่อประชาชน ทำให้ ร.5 ได้รับพระราชสมัญญานามว่า
“พระปิยมหาราช” - เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นหลายอย่าง เช่น
- การรวมอำนาจเข้ามาที่พระมหากษัตริย์
- การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์เพื่อจัดเก็บภาษี
- การพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวง
- การยกเลิกระบบไพร่และทาสเพื่อให้คนไทยมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน
สมัยรัชกาลที่ 6
- เป็นช่วงเวลาของการต่อยอดการพัฒนาประเทศ
- ทรงสร้างความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ประชาชน
- ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง จนได้รับพระราชสมัญญานามว่า “พระมหาธีรราชเจ้า”
- ทรงก่อตั้งเมืองดุสิตธานี เพื่อเป็นเมืองจำลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย
- ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาภาคบังคับ ที่ทำให้คนไทยอายุ
7-14 ปี ได้เรียนอย่างทั่วถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
สมัยรัชกาลที่ 7
- เป็นช่วงเวลาที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (จากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1)
- ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยที่ควรรู้
เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
เกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ได้ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม (ชื่อของประเทศไทยในสมัยนั้น) จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
โดยมีสาเหตุของการปฏิวัติ คือ การปฏิรูปการศึกษาทำให้คณะราษฎรบางส่วนได้รับแนวคิดด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามแบบตะวันตก รวมถึงการได้รับอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ตลอดจนการเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั้งของโลกและของไทยนั่นเอง
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในการปฏิวัติ
คณะราษฎร (หรือคณะผู้ก่อการในขณะนั้น) ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองที่กรุงเทพฯ จากนั้นได้จับกุม
พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน และพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่านประกาศ
ยึดอำนาจการปกครอง
หลังจากนั้นในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้ประกาศใช้ธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว และในวันที่
10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้มีพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบ ประวัติศาสตร์ไทย
หลังจากที่เราได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยกันมาอย่างจุใจแล้ว พี่มีตัวอย่างแนวข้อสอบมาให้น้อง ๆ ลองทดสอบความจำกันดูด้วยว่าเราจะสามารถจำเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทยที่มักจะออกข้อสอบกันได้หรือเปล่า ไปลองทำกันดูเลยยย
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1
2. สุนทรภู่เป็นกวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นยุคทองของวรรณคดีไทย
3. สนธิสัญญาเบาว์ริงเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ถือเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับอังกฤษ
4. รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกไพร่และทาสเพื่อให้คนไทยมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน
5. รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งเมืองจำลองดุสิตธานีเพื่อจำลองการปกครองระบบประชาธิปไตย
สำหรับเฉลยของข้อนี้ก็คือ ข้อ 3 สนธิสัญญาเบาว์ริงเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ถือเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับอังกฤษ แม้ว่าสนธิสัญญาเบาว์ริงจะเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ทำกับอังกฤษน้าา เพราะก่อนหน้านี้มีการทำสนธิสัญญาเบอร์นีมาก่อนด้วย ข้อนี้จึงเป็นข้อที่ผิดนั่นเอง
สำหรับเทคนิคในการทำข้อสอบข้อนี้ คือ เริ่มแรกเราต้องเช็กก่อนว่าโจทย์กำลังถามอะไร อย่างข้อนี้โจทย์ถามหาข้อที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นคำที่ต้องระวังเลย เพราะหลาย ๆ คน จำได้ ทำได้ แต่ดันลืมดูว่าเขาถามสิ่งที่ไม่ถูกจนเลือกคำตอบผิด เพราะงั้นน้อง ๆ ควรมีสติเวลาอ่านโจทย์เสมอเลย
ได้รู้คำตอบที่ถูกไปแล้ว เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจโจทย์และตัวเลือกของตัวอย่างข้อสอบข้อนี้มากขึ้น พี่ขออธิบายตัวเลือกอื่น ๆ ด้วยน้าา เราจะได้รู้ว่าแต่ละข้อผิดเพราะอะไร และนำไปปรับใช้กับการทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมได้
ตัวเลือก 1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ข้อนี้ถูกแล้วว ซึ่งคือวัดพระแก้วที่เรารู้จักนั่นเอง
ตัวเลือก 2. สุนทรภู่เป็นกวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นยุคทองของวรรณคดีไทย ข้อนี้ก็ถูกเหมือนกัน เชื่อว่าน้อง ๆ น่าจะคุ้นชื่อกวีคนนี้กันแน่นอนน
ตัวเลือก 4. รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกไพร่และทาสเพื่อให้คนไทยมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน ข้อนี้ถูกต้องตามประวัติศาสตร์ไทยเลย
ตัวเลือก 5. รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งเมืองจำลองดุสิตธานีเพื่อจำลองการปกครองระบบประชาธิปไตย ข้อนี้ก็ถูก
เช่นเดียวกัน
และนี่ก็คือเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทยทั้งหมดที่น้อง ๆ รู้เอาไว้ก็จะเสพสื่อที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยได้สนุกขึ้น
แถมสามารถนำความรู้ไปใช้กับการทำข้อสอบได้อีกเยอะมากกก เพราะประวัติศาสตร์ไทย ก็เป็นหนึ่งในพาร์ตที่ออกสอบข้อสอบม.ปลาย และ A-Level สังคมด้วย
แนะนำเพิ่มว่าถ้าอ่านบทความนี้จบ และอยากทดสอบความรู้ของตัวเองเพิ่มเติมก็ให้ลองฝึกจากการทำแบบฝึกหัดหรือข้อสอบเก่าดูน้าา แล้วเราจะค่อย ๆ กลายเป็นเซียนด้านประวัติศาสตร์ไทยเลย (ซึ่งพี่ก็มีข้อสอบเก่าวิชาสังคมมาแจกด้วย สามารเข้าไปดาวน์โหลดที่คลังข้อสอบกันได้เลยย)
แต่สำหรับ Dek68 คนไหนที่อยากเตรียมตัวสอบ A-Level สังคมพาร์ตนี้ รวมถึงเตรียมสอบวิชาอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น TGAT / TPAT, TPAT1, A-Level คณิต, A-Level ภาษาไทย พี่ก็มีคอร์สเตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ มาแนะนำให้น้อง ๆ เพียบเลย โดยแต่ละคอร์สพี่จะสอนเนื้อหาให้แบบจัดเต็มตั้งแต่ปูพื้นฐานไปจนถึงพาตะลุยโจทย์หลากหลายแนว รับรองว่าต่อให้
พื้นฐานยังไม่แน่นก็สามารถเรียนตามทันได้ (กระซิบว่ามีอัปเดตข้อสอบให้ฟรีจนถึงปีล่าสุดด้วย) แนะนำว่าถ้าน้อง ๆ เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้ เราก็จะยิ่งพร้อมสอบมากกว่าใครน้าา ถ้าสนใจ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันได้เลยยย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro