สรุปเนื้อหาภาษาไทย วิธีการเขียนเรียงความ

น้อง ๆ รู้กันไหมว่าการเขียนเรียงความเป็นทักษะการเขียนขั้นพื้นฐานที่สามารถนำไปต่อยอดได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น
การเขียนเรียงความเพื่อยื่นเข้ามหาลัยฯ หรือการสมัครเข้าทำงาน

ยิ่งไปกว่านั้น การเขียนเรียงความยังเป็นเนื้อหาที่ออกสอบใน A-Level ภาษาไทยอีกด้วยน้า ซึ่งบทความนี้ พี่จะสรุป
เรื่องความหมายและขั้นตอนการเขียนเรียงความ พร้อมแชร์เทคนิคการตอบคำถามเมื่อเจอใน A-Level ให้ด้วย น้อง ๆ สามารถนำไปใช้ฝึกเขียนเรียงความหรือทำข้อสอบ A-Level ภาษาไทยได้เลยย

เรียงความ คือ งานเขียนที่มีโครงสร้างชัดเจน มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็น และความรู้สึกโดยใช้ภาษาที่ดี ถูกต้อง และกระชับ ซึ่งในข้อสอบวิชาสามัญ และ A-Level ภาษาไทยออกข้อสอบเรื่องการเขียนเรียงความทุกปี
ปีละ 1-2 ข้อ

การเขียนเรียงความ มีอะไรบ้าง ?

การเขียนเรียงความมี 3 ส่วน ได้แก่ คำนำ เนื้อหา และสรุป ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปจะทำให้งานเขียนไม่สมบูรณ์ได้
ซึ่งการเขียนเรียงความจะสมบูรณ์และน่าสนใจขึ้นต้องมีเทคนิคที่ดีในการเขียนแต่ละส่วน ตามนี้เลยยย

ส่วนที่ 1 ของเรียงความ : คำนำ

คำนำ คือ ส่วนแรกของเรียงความมีหน้าที่เปิดประเด็นเข้าสู่เรื่องเพื่อให้ผู้อ่านสนใจและอยากอ่านต่อนั่นเอง ซึ่งเทคนิคที่ช่วยให้คำนำมีความน่าสนใจ ได้แก่

  • เริ่มด้วยข่าวหรือปัญหาสังคม
    “โจรใต้โหดยิงสาวท้องร่อแร่ บึ้มตลาด 20 จุด ตำรวจ ชาวบ้านเจ็บระนาว ไม่เว้นแม้เด็ก 2 ขวบ” ข้อความจากข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์นี้ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกสะเทือนใจกับเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อไหร่หนอเหตุการณ์เช่นนี้จะจบลงเสียที คำถามนี้คงอยู่ในหัวใจของคนไทยหลาย ๆ คน เช่นกัน
    (เรียงความเรื่อง “ใต้ร่มไตรรงค์” โดย นางสาวไพรผกา เพชรย้อย)

  • เริ่มด้วยคำถาม
    แม่คนหนึ่งรักและเล้ียงดูลูกได้สักกี่คน คำตอบก็คือ ถ้าเป็นลูกของแม่แล้วไม่ว่ากี่คนแม่ก็มีความรักความห่วงใย ความปรารถนาดีให้แก่ลูก ๆ ทุกคนอย่างไม่เอียงเอน พร้อมที่จะเล้ียงดูลูกเสมอไม่ว่าลูกจะสูงต่ำดำขาว โง่เขลาหรือเฉลียวฉลาด และไม่ว่าลูกจะเติบโตขึ้นเพียงใด แม่ก็ยังคงคอยมองดูและคอยประคับประคองเมื่อลูกก้าวพลาดเสมอ
    (เรียงความเรื่อง “แม่ของแผ่นดิน” โดย นางสาวรุ่งนภา ธูปหอม)

  • เริ่มด้วยคำคม สุภาษิต คำขวัญ
    เมื่อตอนบ่ายวันนี้ อาจารย์วิชาภาษาอังกฤษ นำสุภาษิตบทหนึ่งมาสอนนักเรียนในชั้น สุภาษิตบทนั้นคือ “Spare the rod, spoil the child” อาจารย์ให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า สุภาษิตบทนี้ตรงกับสุภาษิตไทยว่าอะไร หลายคนช่วยกันคิด และในที่สุดก็ได้คำตอบว่า สุภาษิตไทยที่ตรงกันพอดีกับ สุภาษิตอังกฤษบทนี้ คือ “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ดี”
    (เรียงความเรื่อง “จริงหรือ…รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” โดย นางสาวชนัดดา แสนลี)

ส่วนที่ 2 ของเรียงความ : เนื้อหา

เนื้อหา คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นส่วนที่ขยายความข้อเท็จจริง ความรู้ หรือความคิด ตามจุดประสงค์ที่ผู้เขียนต้องการเสนอ ซึ่งส่วนนี้ต้องอาศัยการเรียบเรียงอย่างดี น้อง ๆ อาจใช้เทคนิคเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการเขียน ได้แก่

  • การจัดลำดับเนื้อหา
    • การจัดลำดับด้วยเหตุและผล
      ผู้เชิดหุ่นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ เพื่อเชิดหุ่นให้มีชีวิตและสีสัน และในการสร้าง
      โรงหุ่นและฉากก็ต้องมีความรู้ด้านสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์ หุ่นกระบอกเป็นมหรสพที่มีคุณค่าทางศิลปะเพราะเป็นมหรสพที่สัมพันธ์และหลอมรวมภูมิปัญญาไทยกับศิลปะหลายสาขาไว้ด้วยกันอย่างเหมาะสม
      (เรื่องความเรื่อง “หุ่นกระบอกไทย” ใน บรรทัดฐานภาษาไทย เล่มที่ 4)

    • การจัดลำดับเนื้อหาตามเหตุการณ์ก่อนหลัง
      พออายุได้ 5-6 ปี ฉันมักร้องไห้ตามลูกป้าไปโรงเรียน แต่ไม่มีสูติบัตรยายเลยพาไปฝากกับเพื่อนยายที่เป็นครูใหญ่ เรียนอนุบาลถึง ป.1 สอบได้ที่ 1 มาตลอด คุณครูใหญ่ก็บอกยายว่า ถ้าอยากจะให้หลานเล่ือนชั้น ป. 2 ต้องนำสูติบัตรมาแจ้งแก่ทางโรงเรียน เป็นเหตุให้ยายต้องพาฉันมาบ้านปู่ และครั้งนี้ทำให้พ่อกับแม่ฉันกลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง
      (เรียงความเรื่อง “จะดีจะชั่วอยู่ที่ตัวทำ…จะสูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว” โดย นางสาวชนัดดา แสนลี)
  • ใช้หลักฐานสนับสนุน
    • นำเสนอข้อเท็จจริง
      “เปลือกสมอง มีบทบาทสำคัญในระบบความทรงจำ ความตระหนักรู้ ความคิด ภาษา และการรับความรู้สึก”

    • ยกตัวอย่าง
      “ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เส้ือผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป”

    • อ้างอิงสถิติ
      “ผลการเอ็กซเรย์สมองของเด็ก 4,500 คน พบหลักฐานในเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า เด็กที่ใช้เวลาอยู่หน้าจอวันละ 7 ชั่วโมงหรือมากกว่า”

    • อ้างอิงคำพูดจากผู้เชี่ยวชาญ
      “ศาตราจารย์ แอนดรูว์ บัตเลอร์ นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า
      การทำข้อสอบแบบหลายตัวเลือกจะช่วยให้นักเรียนจดจำข้อมูลได้แม่นยำและเรียนรู้ได้ลึกซึ้งขึ้นในระยะยาว ก็ต่อเมื่อข้อสอบนั้นปราศจากตัวเลือกหลอก”
  • ใช้คำเชื่อมโยงเพื่อความต่อเนื่อง
    อีกหนึ่งเทคนิคสำคัญที่ช่วยให้เนื้อหาของเรานั้นมีความต่อเนื่องและล่ืนไหล ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น
    ซึ่งพี่ขอแบ่งคำเชื่อมโยงเป็น 3 แบบ ได้แก่
    • เพิ่มเติมข้อมูล ตัวอย่างคำว่า นอกจากนี้ อีกทั้ง ยิ่งไปกว่านั้น
    • เปรียบเทียบ ตัวอย่างคำว่า ในทางตรงกันข้าม อย่างไรก็ตาม
    • สรุปแนวคิด ตัวอย่างคำว่า ดังนั้น เพราะเหตุนี้ ด้วยเหตุนี้

ส่วนที่ 3 ของเรียงความ : สรุป

สรุป คือ ส่วนปิดท้ายของงานเขียน การสรุปต้องครอบคลุมประเด็นทั้งหมดของเรื่อง ย่อหน้านี้ควรให้มีใจความกระชับ ประทับใจผู้อ่าน เทคนิคคล้ายกันกับการเขียนคำนำเลย แต่ไม่ควรใช้วิธีเดียวกันน้าาา เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับงานเขียนให้
น่าสนใจขึ้น

  • การสรุปด้วยคำคม สุภาษิต และร้อยกรอง

    ฉันมีวันนี้ได้เพราะฉันได้รับโอกาสจากผู้มีพระคุณ ที่ไม่ได้มีความสัมพันฉันญาติอะไรกับฉัน แต่ท่านเป็นเสมือนแม่ เป็นทุก ๆ อย่างให้กับฉัน แต่นั่นก็คือส่วนหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเรา เพราะจะดีจะชั่วอยู่ที่ตัวทำ จะสูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว
    (เรียงความเรื่อง “จะดีจะชั่วอยู่ที่ตัวทำ…จะสูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว” โดยนางสาวชนัดดา แสนลี)

  • สรุปด้วยข้อความ ที่ให้แง่คิด
    การแก้ปัญหานั้นไม่ใช่จะมีแต่ในทฤษฎี ต้องปฏิบัติด้วย เราทุกคนต้องร่วมมือกัน อย่าลืมว่าแบ่งพวกทำให้เสียรัก แบ่งพรรคทำให้เสียสามัคคี แบ่งทั้งพวกแบ่งทั้งพรรค เสียทั้งความรักและความสามัคคี ดิฉันขอให้กำลังใจผู้บริสุทธิ์ และขอให้กลุ่มคนไม่ดีหยุดการกระทำที่ผิด ศีลธรรมนี้เสีย และกลับมาช่วยกันสร้างความสันติสุขให้คืนสู่แผ่นดินโดยเร็ว (เรียงความเรื่อง “สามัคคีคือพลัง ยับยั้งไฟใต้” โดยนางสาวธนพร มูลผิว)

การเขียนเรียงความ ใน A-Level ภาษาไทย มีเทคนิคตอบอย่างไร ?

การทำข้อสอบเรื่องการเขียนเรียงความ น้อง ๆ ต้องสามารถจำแนก ส่วนนำ / เนื้อหา / สรุป ได้ ซึ่งวันนี้พี่เลยมีทริกง่าย ๆ ในการสังเกตข้อความแต่ละส่วนมาให้จำ ตามนี้เลยย

คำนำ = เปิดประเด็นเข้าสู่เรื่องแบบกว้าง ๆ มีการเร้าความสนใจของผู้อ่าน
เนื้อหา = ขยายรายละเอียดของเรื่อง อาจมีการยกตัวอย่างประกอบ ตรงกับชื่อเรื่อง
สรุป = ให้ข้อคิด ตั้งคำถามปลายเปิดหรือให้ข้อเสนอแนะ

นอกจากนี้ ในตัวข้อสอบอาจจะใช้คำที่ต่างออกไปได้ พี่แปะไว้ให้เผื่อน้อง ๆ เจอในข้อสอบจะได้ไม่งงน้า
คำนำ = ความนำ
เนื้อเรื่อง = ตัวเรื่อง
ความลงท้าย = สรุป

การตั้งชื่อเรื่อง เป็นอีกส่วนสำคัญเนื่องจากในข้อสอบ A-Level ภาษาไทยมักจะกำหนดชื่อเรื่องมาให้และหาว่าตัวเลือกไหนมีความสอดคล้องกับชื่อเรื่องนั่นเอง เพราะฉะนั้น น้อง ๆ ต้องวิเคราะห์ดูให้ดีว่าชื่อเรื่องที่โจทย์กำหนดให้ครอบคลุมกับเนื้อหาไหม ซึ่งลักษณะของการตั้งชื่อเรื่องที่ดี ได้แก่

ตัวอย่างข้อสอบ การเขียนเรียงความ ใน A-Level ภาษาไทย

แนวข้อสอบ A-Level ภาษาไทย เรื่องการเขียนเรียงความ ข้อที่ 1
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภาษาไทย (การเขียนเรียงความ)

ตอบ ตัวเลือกที่ 2


ตัวเลือก 1. ผิด เพราะมีวลี “ดังกล่าวข้างต้น” แสดงถึงเนื้อหาที่กล่าวไปแล้วและกล่าวถึงรายละเอียดของเนื้อหาจึงจัดเป็นส่วนเนื้อหา

ตัวเลือก 2. ถูก เพราะเป็นข้อความที่เกริ่นภาพกว้าง ๆ ก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่อง ไม่ได้มีการลงรายละเอียดจึงเหมาะเป็นส่วนคำนำ

ตัวเลือก 3. ผิด เพราะมีวลี “เหล่านี้” แสดงถึงเนื้อหาที่กล่าวไปแล้วและกล่าวถึงรายละเอียดของเนื้อหาจึงจัดเป็นส่วนเนื้อหา

ตัวเลือก 4. ผิด เพราะขึ้นต้นประโยคว่า “นอกเหนือจาก” เป็นการเชื่อมข้อความจากข้อความก่อนหน้าจึงนี้จึงเหมาะเป็นส่วนเนื้อหา

ตัวเลือก 5. ผิด เพราะจากประโยค “ป่าไม้ที่ยืนต้นอยู่ก็ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมอเนกประการ” เป็นข้อความที่กล่าวถึงรายละเอียดของเนื้อหา จึงจัดเป็นส่วนของเนื้อหา

แนวข้อสอบ A-Level ภาษาไทย เรื่องการเขียนเรียงความ ข้อที่ 2
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภาษาไทย (การเขียนเรียงความ)

ตอบ ตัวเลือกที่ 4

ตัวเลือก 1. ผิด เพราะสถิติผู้ป่วยและสถานการณ์รายวันเป็นข้อมูลที่กล่าวกว้าง ๆ ถึงโควิด-19 ไม่ได้ลงรายละเอียดถึงการหยุดโควิดจึงเหมาะเป็นส่วนคำนำ

ตัวเลือก 2. ผิด เพราะนิยามความหมายเป็นข้อมูลกว้าง ๆ ของโควิด-19 ไม่ได้ลงรายละเอียดถึงการหยุดโควิด-19 จึงเหมาะเป็นส่วนคำนำ

ตัวเลือก 3. ผิด เพราะสถานรักษาพยาบาลเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาซึ่งไม่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง “หยุดโควิด-19”

ตัวเลือก 4. ถูก เพราะอาการของโรค การติดต่อ การป้องกันและการรักษา เป็นหัวข้อที่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง “หยุดโควิด-19” มากที่สุด และเหมาะเป็นส่วนเนื้อเรื่อง

ตัวเลือก 5. ผิด เพราะขั้นตอนการรักษาและการดูแลผู้ป่วยเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาซึ่งไม่สอดคล้องกับเรื่องการหยุดโควิด-19

พี่เชื่อว่าน้อง ๆ ที่อ่านบทความนี้ คงจะได้ความรู้เรื่องการเขียนเรียงความกันไปแบบจัดเต็ม ทั้งคนที่จะนำความรู้ไปใช้เขียนเรียงความและเตรียมสอบ A-Level ภาษาไทย อย่างไรก็ตาม นอกจากการอ่านเนื้อหาแล้ว อย่าลืมฝึกเขียนบ่อย ๆ หรือลองทำข้อสอบเก่าย้อนหลังหลาย ๆ ปีด้วยน้า

สำหรับใครที่กลัวเตรียมตัวไม่ทันอยากจะประหยัดเวลาในการเตรียมสอบ พี่ขอแนะนำคอร์สเรียนพิเศษสนาม A-Level ของ SmartMathPro ที่มีทั้ง A-Level คณิต 1,2 / A-Level ภาษาอังกฤษ / A-Level ฟิสิกส์ / A-Level ภาษาไทย / A-Level สังคม เลยน้าา

โดยสำหรับใครที่ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนได้ เพราะพี่สอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน ไปจนถึงพาทำโจทย์ตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงความยากใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย แถมมีเทคนิคในการทำข้อสอบอีกเพียบที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น > <

และสำหรับใครที่ยังไม่เริ่ม เริ่มติวตอนนี้ก็ยังทันน้าา แอบกระซิบว่าถ้าสมัครคอร์สตั้งแต่ตอนนี้ พี่มี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ 1 ชุด แถมฟรีไปให้ลองทำพร้อมสิทธิพิเศษประจำเดือนอีกมากมายด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจคอร์สเตรียมสอบ A-Level สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาภาษาไทย การอ่านจับใจความ
การอ่านจับใจความ สรุปเนื้อหาพร้อมเทคนิคและข้อสอบจริงให้ลองทำ
สรุปเนื้อหา ประโยคกำกวม
ประโยคกำกวม คืออะไร ? สรุปเนื้อหาพร้อมตัวอย่างประโยคและข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหาภาษาไทย ระดับภาษา
ระดับภาษา คืออะไร มีกี่ระดับ สรุปเนื้อหาระดับภาษาพร้อมข้อสอบจริง
เนื้อหาภาษาไทย ม.ปลาย เรียนอะไรบ้าง ?
สรุป ภาษาไทย ม.ปลาย (ม.4 ม.5 ม.6) เรียนอะไรบ้าง ? - SmartMathPro
กำหนดการ TCAS68
TCAS68 สอบวันไหน? ลงทะเบียน MyTCAS68 เมื่อไหร่? สรุปตารางสอบ Dek68 ฉบับอัปเดตล่าสุด
ทุกสิ่งที่ต้องรู้ก่อนสอบ A-Level ภาษาไทย
ก่อนสอบ A-Level ภาษาไทย Dek68 ต้องรู้อะไรบ้าง? สรุปครบในบทความนี้

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share