ภาพปกบทความประโยคสมบูรณ์

หากพูดถึง ‘ประโยค’ น้อง ๆ คงคุ้นชินกับคำนี้กันดีอยู่แล้ว แต่รู้กันไหมว่าประโยคที่ใช้พูดคุยหรือเรียนมาตลอดนั้น
มีอยู่หลายรูปแบบ มีทั้งรูปแบบที่เป็นประโยคสมบูรณ์และประโยคไม่สมบูรณ์ แต่วันนี้พี่จะเจาะลึกไปที่ประโยคสมบูรณ์
ก่อนน้าา (ขอบอกว่ามีออกสอบที่โรงเรียนและ A-Level ภาษาไทยด้วยย)

โดยในบทความนี้ น้อง ๆ จะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประโยคสมบูรณ์ ตั้งแต่นิยามความหมาย โครงสร้างของประโยค เทคนิคการจำแนกประโยค รวมไปถึงเทคนิคที่ช่วยให้ทำข้อสอบให้ไวขึ้น ถ้าใครอยากเข้าใจเรื่องนี้ เล่ือนลงไปอ่านกันเลย !!

ประโยค คือ หน่วยทางภาษาที่ประกอบด้วยคำหลายคำเรียงต่อกัน ซึ่งคำเหล่านั้นต้องมีความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ประโยคเป็นหน่วยทางภาษาที่สามารถส่ือความได้ว่าเกิดอะไรขึ้น หรืออะไรมีสภาพเป็นอย่างไร

โดยในข้อสอบ A-Level ภาษาไทย (รวมถึงข้อสอบ 9 วิชาสามัญในระบบเก่า) มักจะออกเรื่องประโยคสมบูรณ์ ทุกปี
ปีละ 1 – 2 ข้อ ซึ่งข้อสอบก็มักจะถามว่าข้อใดเป็นประโยคหรือข้อใดไม่เป็นประโยค ดังนั้นข้อสอบประโยคสมบูรณ์จึงเป็นข้อสอบที่ให้น้อง ๆ ได้จำแนกประโยคนั่นเอง

โครงสร้างของประโยค

หากอยากจะทำข้อสอบประโยคสมบูรณ์ใน A-Level ภาษาไทยได้ ก็ต้องแยกให้เป็นก่อนว่าข้อความใดเป็นประโยคหรือ
ข้อความใดเป็นแค่การนำคำมาเรียงกัน ซึ่งการจะจำแนกได้นั้น น้อง ๆ ต้องเข้าใจโครงสร้างของประโยคเพื่อที่จะได้แยก
ส่วนประกอบของประโยคได้นั่นเอง

โดยทั่วไปประโยคประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ นามวลี ทำหน้าที่ ประธาน กับกริยาวลี ทำหน้าที่ ภาคแสดง

  • ประธาน คือ นามวลีซึ่งอาจเป็นคำนามคำเดียวหรือคำนามกับส่วนขยาย มีความสัมพันธ์กับภาคแสดง
    ในฐานะที่เป็น ผู้แสดงกิริยาอาการ ผู้แสดงสภาพ หรือเจ้าของคุณสมบัติ
  • ภาคแสดง คือ กริยาวลีที่แสดงกิริยาอาการ สภาพ หรือคุณสมบัติของประธาน ภาคแสดงจะต้องมีคำกริยา
    อยู่ด้วยเสมอ
    และอาจมีหน่วยกรรม หน่วยเติมเต็ม หรือหน่วยขยายด้วยก็ได้

เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจมากยิ่งขึ้น พี่ขอยกตัวอย่างประโยคแล้วทำการแยกโครงสร้างของประโยคเพื่อให้น้อง ๆ จำแนกได้ว่า ส่วนใดเป็น ประธาน ส่วนใดเป็น ภาคแสดง

ตัวอย่างประโยค

แม่หัวเราะ
แม่หัวเราะเสียงดัง
แม่ของฉันหัวเราะเสียงดัง
เพื่อนเป็นคนใจดี
เพื่อนในหมู่บ้านของฉันเป็นคนใจดีมากจนใคร ๆ ก็ยอมรับ

นามวลี กริยาวลี
ประธาน
ภาคแสดง
แม่
หัวเราะ
แม่
หัวเราะเสียงดัง
แม่ของฉัน
หัวเราะเสียงดัง
เพื่อน
เป็นคนใจดี
เพื่อนในหมู่บ้านของฉัน
เป็นคนใจดีมากจนใคร ๆ ก็ยอมรับ

เทคนิคการหาประโยคสมบูรณ์

มาถึงตรงนี้แล้ว น้อง ๆ อาจจะเริ่มงงแล้วใช่ไหมว่าการเรียนรู้โครงสร้างประโยคจะทำให้เราแยกประโยคได้อย่างไร พี่บอกเลยว่าช่วยได้แน่นอน เพราะการรู้เรื่องเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจว่า “ประโยค” มีลักษณะอย่างไร ซึ่งการที่จะเป็นประโยคได้นั่นคือ ต้องมี ประธาน และ ภาคแสดงน้าา

นอกจากนี้พี่ขอเน้นย้ำเพิ่มเติมถึงเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ในการจำแนกว่าข้อความใดเป็นประโยคหรือไม่ คือ ภาคแสดง
จะต้องมีคำกริยาอยู่ด้วยเสมอ
เพราะภาคแสดงคือกริยาวลีที่แสดงกิริยาอาการ สภาพ หรือคุณสมบัติของประธาน

และพี่ขอเสริมว่าจากการศึกษาข้อสอบจริง ตัวเลือกที่ไม่ใช่ประโยคที่ข้อสอบชอบออกนั้น จะเป็นเพียงนามวลีที่เป็นคำนามแล้วมีส่วนขยายเสริมเข้ามาให้กลายเป็นข้อความยาว ๆ เท่านั้น

แต่ถ้าใครอยากได้เทคนิคเพิ่มเติม พี่ก็มีแถมเทคนิคส่วนตัวของพี่เองให้ด้วย บอกเลยว่ารู้แค่ 2 เทคนิคนี้เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปปรับใช้ในการทำข้อสอบ A-Level ภาษาไทยได้แล้วน้าา

1. หากริยาให้เจอ

เพราะการจะเป็นประโยคได้ต้องมี ประธาน + ภาคแสดง และภาคแสดงต้องมีคำกริยาอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้นเมื่อเจอกริยาหมายความว่า ข้อความนั้นคือประโยคนั่นเอง

ตัวอย่างเช่น

1. คุณปู่ของเขาเป็นนายพรานชื่อดัง

ข้อความข้างต้นเป็นประโยคเพราะมีประธานคือ “คุณปู่ของเขา” ภาคแสดงคือ “เป็นนายพรานชื่อดัง” โดยมี “เป็น”
เป็นคำกริยา

2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์คนนั้นตื่นเช้าทุกวัน

ข้อความข้างต้นเป็นประโยคเพราะมีประธานคือ “เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์คนนั้น” ภาคแสดงคือ “ตื่นเช้าทุกวัน” 
โดยมี “ตื่น” เป็นคำกริยา

3. กุหลาบสีขาวในแจกันแก้วบนโต๊ะ

ข้อความข้างต้นไม่เป็นประโยคเพราะเป็นเพียงนามวลีเรียงต่อกัน ไม่มีคำกริยา

2. สังเกตส่วนขยาย

อย่างที่พี่ได้บอกไป ข้อสอบมักจะนำข้อความที่มีลักษณะเป็นนามวลีที่เป็นคำนามแล้วมีส่วนขยายเสริมเข้ามาให้กลายเป็นข้อความยาว ๆ มาหลอกและการที่จะเป็นส่วนขยายได้ก็ต้องมี “คำเชื่อม” นำหน้าด้วยนั่นเองงง 

อธิบายแบบนี้น้อง ๆ อาจยังไม่เข้าใจ ดังนั้นเราไปเรียนรู้ผ่านตัวอย่างหลาย ๆ แบบกันดีกว่า แล้วมาลองสังเกตว่าตัวอย่างเหล่านี้เป็นประโยคหรือเปล่า

ตัวอย่างเช่น

1. สุนัขที่มีหางสีดำสลับขาว

แม้ว่าข้อความข้างต้นจะมีคำกริยาคือคำว่า “มี” แต่ข้อความข้างต้นไม่เป็นประโยคน้าาา เพราะคำกริยาดังกล่าวจัดว่าเป็น “ส่วนขยาย” ไม่ใช่ “ภาคแสดง” ซึ่งหากวิเคราะห์โครงสร้างประโยคจะได้ว่า “สุนัข” เป็นคำนาม และมีส่วนขยายคือ
“ที่มีหางสีดำสลับขาว” โดยมี “ที่” เป็นคำเชื่อม

2. ยาปฏิชีวนะที่คนทั่วไปเรียกว่ายาแก้อักเสบซึ่งใช้รักษาโรคมากมายหลายชนิด

แม้ว่าข้อความข้างต้นจะมีคำกริยาคือคำว่า “เรียกว่า” และ “ใช้รักษา” แต่ข้อความข้างต้นไม่เป็นประโยคน้าาา
เพราะคำกริยาดังกล่าวจัดว่าเป็น “ส่วนขยาย” ไม่ใช่ “ภาคแสดง” ซึ่งหากวิเคราะห์โครงสร้างประโยคจะได้ว่า
“ยาปฏิชีวนะ” เป็นคำนาม และมีส่วนขยายคือ “ที่คนทั่วไปเรียกว่ายาแก้อักเสบซึ่งใช้รักษาโรคมากมายหลายชนิด”
โดยมี “ที่” และ “ซึ่ง” เป็นคำเชื่อม

3. ความเชื่อว่าเมื่อเจ็บป่วยต้องใช้ยารักษาทำให้ยาหลายชนิดขาดตลาด

สำหรับข้อความนี้ระวังโดนหลอกน้าาา เพราะข้อความนี้เป็นประโยค แม้ว่าจะมีคำเชื่อมคือคำว่า “เมื่อ” แต่ข้อความนี้ปรากฏคำกริยาอยู่คือคำว่า “ทำให้” ดังนั้นข้อความนี้จึงมีประธานคือ “ความเชื่อว่าเมื่อเจ็บป่วยต้องใช้ยารักษา”
ภาคแสดงคือ “ทำให้ยาหลายชนิดขาดตลาด” โดยมี “ทำให้” เป็นคำกริยา

นี่แหละ สิ่งที่โจทย์ชอบหลอกเรา ดังนั้นนอกจากการที่น้อง ๆ ต้องหาคำกริยาแล้ว ยังต้องสังเกตคำเชื่อมให้ดี ๆ จำไว้เลยยถ้าเจอคำกริยาหลังคำเชื่อม นั่นคือ ส่วนขยาย ไม่ใช่ ภาคแสดง จึงไม่นับว่าเป็นประโยค แต่หากมีคำกริยาอยู่เดียว ๆ นั่นคือภาคแสดง เป็นประโยค

แบบฝึกหัดเรื่องประโยคสมบูรณ์

 หลังจากเรียนรู้เทคนิคแล้ว เรามาลองฝึกเล็ก ๆ ก่อนไปเจอข้อสอบจริงกันดีกว่า พี่จะมีข้อความ 5 ข้อ น้อง ๆ ลองฝึกดูว่าข้อความดังกล่าวเป็นประโยคหรือเปล่า ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยย  

1. ………… ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในการเข้าถึงความต้องการของประชาชน
2. ………… การละเล่นพื้นเมืองของไทยเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมไทย
3. ………… ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลายประเภท
4. ………… การแปลวรรณกรรมอาเซียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยองค์กรทางวรรณกรรมต่าง ๆ
5. ………… หลักการบริหารจัดการน้ำต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำฝนที่ตกและที่เก็บได้

เฉลยแบบฝึกหัด

เฉลย 

1. ….ไม่เป็น…. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในการเข้าถึงความต้องการของประชาชน

2. ….เป็น….การละเล่นพื้นเมืองของไทยเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมไทย

3. ….เป็น…. ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลายประเภท

4. ….ไม่เป็น…. การแปลวรรณกรรมอาเซียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยองค์กรทางวรรณกรรมต่าง ๆ

5. ….เป็น…. หลักการบริหารจัดการน้ำต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำฝนที่ตกและที่เก็บได้

ตัวอย่างข้อสอบประโยคสมบูรณ์

แนวข้อสอบ-ประโยคสมบูรณ์-1
คำอธิบายเฉลย

เฉลย  ข้อนี้ตอบข้อ 2. ความเจ็บปวดที่เกินจะบรรยาย ไม่เป็นประโยคเพราะไม่ปรากฏคำกริยาน้า ส่วนข้ออื่น
เป็นประโยคเพราะปรากฏคำกริยาดังนี้
1. เติบโต
3. เป็น
4. ทำให้
5. บอก

แนวข้อสอบ-ประโยคสมบูรณ์-2
คำอธิบายเฉลย

เฉลย  ข้อนี้ตอบข้อ 2. การพัฒนากระบวนการผลิตไข่เยี่ยวม้าสีทองลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย เพราะมีประธานคือ “การพัฒนากระบวนการผลิตไข่เยี่ยวม้าสีทอง” ภาคแสดงคือ “ลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย”
โดยมี “ลด” เป็นคำกริยา ส่วนข้ออื่นไม่เป็นประโยคเพราะไม่มีคำกริยา

แนวข้อสอบ-ประโยคสมบูรณ์-3
คำอธิบายเฉลย

เฉลย ข้อนี้ตอบข้อ 4. การขนส่งที่เก็บรักษาอย่างเหมาะสมก่อนถึงผู้บริโภคป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมสลายได้ เพราะมีประธานคือ “การขนส่งที่เก็บรักษาอย่างเหมาะสมก่อนถึงผู้บริโภค” ภาคแสดงคือ “ป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมสลายได้” โดยมี “ป้องกัน” เป็นคำกริยา ส่วนข้ออื่นไม่เป็นประโยคเพราะไม่มีคำกริยา

 

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจเรื่องประโยคสมบูรณ์มากขึ้นน้าา นอกจากจะสามารถใช้ทำข้อสอบเกี่ยวกับประโยคสมบูรณ์ได้โดยตรงแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับข้อสอบ A-Level ภาษาไทยส่วนอื่น ๆ เช่น
การอ่านจับใจความได้อีกด้วยย

A-Level ภาษาไทยเป็นอีกหนึ่งวิชาที่สามารถใช้ยื่นคะแนนได้ในหลายคณะ ดังนั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิชาสำคัญ แต่ถ้าน้อง ๆ Dek68 คนไหนกังวลว่าจะเตรียมตัวสอบไม่ถูกจุด เพราะสนามนี้มีหลายวิชา วันนี้พี่ขอแนะนำคอร์สเรียนพิเศษสนาม
A-Level ของ SmartMathPro ที่มีทั้ง A-Level คณิต 1,2 / A-Level ภาษาอังกฤษ / A-Level ฟิสิกส์ / A-Level
ภาษาไทย / A-Level สังคม เลยน้าา

โดยแต่ละคอร์สมีสอนเนื้อหาปูพื้นฐานอิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุด (ใครที่พื้นฐานไม่แน่นก็สามารถเรียนได้) พร้อมพาตะลุยโจทย์แบบไต่ระดับ ตั้งแต่โจทย์ซ้อมมือไปจนถึงข้อสอบเก่าหรือโจทย์ที่ใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย และพาตะลุยโจทย์หลายระดับจัดเต็ม พร้อมแจกเทคนิคในการทำข้อสอบที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มโอกาสในการอัปคะแนนให้อีกด้วย !!

แนะนำว่ายิ่งเริ่มเตรียมตัวสอบเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งพร้อมมากกว่าใครน้า เพราะปีนี้สนามสอบ A-Level เล่ือนมาสอบไวขึ้น น้อง ๆ จะได้มีเวลาทบทวนเนื้อหาและฝึกทำโจทย์เสริมแกร่งได้นั่นเอง ที่สำคัญ ถ้าสมัครคอร์สตั้งแต่ตอนนี้พี่มี
Unseen Mock Test ชุดพิเศษ 1 ชุด แถมฟรีไปให้ลองทำพร้อมสิทธิพิเศษประจำเดือนอีกมากมายด้วย ถ้าน้อง ๆ
คนไหนสนใจคอร์สเตรียมสอบ A-Level สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาภาษาไทย การอ่านจับใจความ
การอ่านจับใจความ สรุปเนื้อหาพร้อมเทคนิคและข้อสอบจริงให้ลองทำ
สรุปเนื้อหา ประโยคกำกวม
ประโยคกำกวม คืออะไร ? สรุปเนื้อหาพร้อมตัวอย่างประโยคและข้อสอบจริง
ประเภทของโวหารการเขียน
โวหารการเขียนมีกี่ประเภท ? สรุปเทคนิคการจำและตัวอย่าง
เนื้อหาภาษาไทย ม.ปลาย
สรุป ภาษาไทย ม.ปลาย (ม.4 ม.5 ม.6) เรียนอะไรบ้าง ? - SmartMathPro
กำหนดการ TCAS68
TCAS68 สอบวันไหน? ลงทะเบียน MyTCAS68 เมื่อไหร่? สรุปตารางสอบ Dek68 ฉบับอัปเดตล่าสุด
ทุกสิ่งที่ต้องรู้ก่อนสอบ A-Level ภาษาไทย
ก่อนสอบ A-Level ภาษาไทย ต้องรู้อะไรบ้าง? สรุปให้ครบในบทความนี้

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share