TGAT3 การบริหารจัดการอารมณ์

เมื่อพูดถึง TGAT3 น้อง ๆ Dek68 บางคนอาจจะพอคุ้นหูชื่อนี้กันมาบ้าง เพราะเป็นหนึ่งในข้อสอบ TGAT ซึ่งมีทั้งหมด 4 พาร์ต ได้แก่ การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การบริหารจัดการอารมณ์ และการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม

โดยในวันนี้พี่จะพาไปเจาะลึกพาร์ตการบริหารจัดการอารมณ์ให้ทุกคนได้รู้ว่าพาร์ตนี้ออกสอบอะไรบ้าง มีเทคนิคการทำข้อสอบยังไงให้เก็บคะแนนได้เยอะ ๆ พร้อมตัวอย่างข้อสอบให้ฝึกทำ ซึ่งพี่เชื่อว่าถ้าน้อง ๆ ได้ทำความรู้จักและฝึกทำข้อสอบ TGAT3 การบริหารจัดการอารมณ์ตั้งแต่ตอนนี้ ก็จะช่วยให้น้อง ๆ เข้าใกล้เป้าหมายไปอีกก้าวหนึ่งได้ ดังนั้นก็
อย่ารอช้า ไปรู้จักข้อสอบพาร์ตนี้กันเลยยย

ข้อสอบ TGAT3 การบริหารจัดการอารมณ์เป็นข้อสอบที่วัดทัศนคติและความฉลาดทางอารมณ์ผ่านการจัดการอารมณ์ การรับมือกับสถานการณ์ หรือการปฏิบัติกับตนเองและบุคคลอื่นอย่างเหมาะสม โดยข้อสอบพาร์ตนี้จะประกอบด้วย 3 หัวข้อ คือ

  • ความตระหนักรู้ในตนเอง (Self awareness) คือ การรู้จักตนเอง รับรู้ถึงสถานะและบทบาท เข้าใจศักยภาพและเงื่อนไข เพื่อรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง รับมือกับสถานการณ์ และพัฒนาตนเองได้
  • การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control) คือ การควบคุมอารมณ์และ
    การแสดงออกอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นให้สามารถควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพได้อย่างเหมาะสม
  • ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding) คือ การทำความเข้าใจความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น ทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก เพื่อตอบสนองต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

จากหลักคิดทั้ง 3 หัวข้อที่พี่สรุปมา น้อง ๆ จะเห็นว่าสิ่งที่ออกสอบใน TGAT3 การบริการจัดการอารมณ์เป็นเรื่องที่อยู่ภายในตัวเราเอง และเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ดังนั้นข้อสอบก็จะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ใกล้ตัวในชีวิตประจำวันที่น้อง ๆ สามารถวิเคราะห์และหาคำตอบได้นั่นเอง

การเตรียมตัวสอบ TGAT3 การบริหารจัดการอารมณ์และรีวิวข้อสอบปี 67

เมื่อเรารู้แล้วว่าข้อสอบ TGAT3 พาร์ตนี้คืออะไร มีหัวข้อไหนบ้าง สิ่งสำคัญที่น้อง ๆ ทุกคนควรทำก่อนสอบ คือ การดูว่าข้อสอบเคยออกโจทย์ในรูปแบบไหน และเกี่ยวข้องกับแนวคิดทั้ง 3 หัวข้อที่พี่อธิบายไปข้างต้นยังไง เพื่อให้เราคุ้นชินกับข้อสอบ เมื่อถึงเวลาลงสนามจริง น้อง ๆ ก็จะสามารถทำพาร์ตนี้ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น และกังวลน้อยลงด้วย

โดยจากการรีวิวข้อสอบ TGAT3 ปี 67 ในพาร์ตนี้ของ Dek67 พบว่าข้อสอบไม่แตกต่างจากปีก่อน ๆ มากนัก ดังนั้นน้อง ๆ สามารถดูโครงสร้างข้อสอบจากเว็บไซต์ myTCAS และนำข้อสอบเก่ามาฝึกทำได้เลย ซึ่งในหัวข้อถัดไปพี่ก็มีแนวข้อสอบมาให้น้อง ๆ ดูเป็นตัวอย่างด้วยน้า ไปดูกันได้เลยยย

แนวข้อสอบ TGAT3 การบริหารจัดการอารมณ์

ความตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness)

ตัวอย่างโจทย์

คุณฝึกทำแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์หลังจากกลับจากโรงเรียน แต่ไม่ว่าคุณจะพยายามทำกี่ครั้งก็ยังทำคะแนนได้ไม่ถึงครึ่ง ทำให้คุณรู้สึกหมดกำลังใจ คุณจะทำอย่างไร

  1. พยายามทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะทำถูก
  2. ให้ครูประจำวิชาช่วยอธิบายเนื้อหาอีกครั้งทางโทรศัพท์
  3. เลิกทำโจทย์คณิตศาสตร์แล้วไปทำโจทย์วิทยาศาสตร์แทน
  4. กลับไปทบทวนว่าตนเองผิดพลาดที่ขั้นตอนใดและลองทำอีกครั้ง
เฉลยและคำอธิบาย

ตอบ ตัวเลือกที่ 4 กลับไปทบทวนว่าตนเองผิดพลาดที่ขั้นตอนใดและลองทำอีกครั้ง

คำอธิบาย การประเมินตนเองทำให้เราตระหนักรู้ในตนเองถึงจุดที่ดีและจุดที่ควรปรับปรุง ซึ่งทำให้เราสามารถวางแผนในการพัฒนาตนเอง นำไปสู่การจัดการกับปัญหาด้วยอารมณ์และพฤติกรรมที่เหมาะสมได้

การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control)

ตัวอย่างโจทย์

ในขณะที่คุณกำลังนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน เพื่อนร่วมชั้นของคุณมักจะพูดแทรกขัดขวางการนำเสนอบ่อยครั้ง
คุณจะทำอย่างไร

  1. ไม่สนใจเสียงเพื่อนและพยายามพูดให้เสียงดังกว่า
  2. บอกให้เพื่อนคนนั้นหยุดพูดและช่วยรักษามารยาทในการฟังนำเสนอ
  3. ขอความร่วมมือเพื่อนให้ตั้งใจฟังและตั้งคำถามให้เพื่อนคอยตอบเป็นระยะ
  4. หยุดการนำเสนอแล้วขอให้ครูเตือนเพื่อนให้หยุดพูดขณะที่ผู้อื่นนำเสนอ
เฉลยและคำอธิบาย

ตอบ ตัวเลือกที่ 3 ขอความร่วมมือเพื่อนให้ตั้งใจฟังและตั้งคำถามให้เพื่อนคอยตอบเป็นระยะ

คำอธิบาย เมื่อต้องรับมือกับบุคคลอื่นในสถานการณ์เฉพาะหน้า เราควรควบคุมอารมณ์ตนเองและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยเราต้องไม่ละเลยปัญหาที่เกิดขึ้นและไม่ทำให้สถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่นั้นแย่ลง

ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding)

ตัวอย่างโจทย์

หากเพื่อนของคุณถูกคนแปลกหน้ามาคอมเมนต์เชิงล้อเลียนรูปร่างหน้าตาในโซเชียลมีเดีย คุณจะทำอย่างไร

  1. ถ่ายภาพหน้าจอเพื่อนำไปแจ้งความกับตำรวจ
  2. พูดคุยกับเพื่อนเพื่อให้กำลังใจและช่วยกันหาวิธีรับมือ
  3. ส่งข้อความไปหาคนที่คอมเมนต์เพื่อเตือนว่าอย่าทำแบบนี้อีก
  4. คอมเมนต์ล้อเลียนหน้าตาในโซเชียลมีเดียของคนที่มาล้อเลียนเพื่อน
เฉลยและคำอธิบาย

ตอบ ตัวเลือกที่ 2 พูดคุยกับเพื่อนเพื่อให้กำลังใจและช่วยกันหาวิธีรับมือ

คำอธิบาย เมื่อคนใกล้ตัวเรากำลังเผชิญกับปัญหา สิ่งแรกที่เราควรนึกถึง คือ อารมณ์และสภาพจิตใจ เราควรช่วยสนับสนุนด้านจิตใจและร่วมกันหาวิธีรับมือกับปัญหาอย่างเหมาะสม

ข้อสอบที่พี่เอามาให้น้อง ๆ ลองทำข้างต้นนี้เป็นแนวข้อสอบที่ปรับมาจากข้อสอบจริง โดยตัวข้อสอบจริงนั้นจะไม่ได้บอกว่าข้อสอบข้อไหนอยู่ในหัวข้ออะไร แต่เราสามารถใช้หลักคิดทั้ง 3 หัวข้อในการตอบคำถามได้ ซึ่งบางข้ออาจใช้หลักคิด
มากกว่า 1 หัวข้อ สำหรับข้อสอบ TGAT3 พาร์ตการบริหารจัดการอารมณ์นั้นมีคำตอบที่เป็นไปได้ตั้งแต่ 0-1 คะแนน ซึ่งพี่ก็มีเทคนิคการทำข้อสอบเพื่อคว้า 1 คะแนนในแต่ละข้อมาฝากน้อง ๆ ในหัวข้อถัดไปด้วยน้าาา

เทคนิคการทำข้อสอบ TGAT3 การบริหารจัดการอารมณ์

ด้วยความที่ข้อสอบ TGAT3 พาร์ตการบริหารจัดการอารมณ์ เป็นข้อสอบ Speed Test หรือข้อสอบที่ต้องทำด้วยความเร็ว การมีเทคนิคในการทำข้อสอบจะช่วยให้น้อง ๆ ไม่หลงประเด็น รวมถึงมีแนวในการตอบคำถามและการตัดตัวเลือกอีกด้วย เราไปดูเทคนิคนั้นกันเลยย

  1. เข้าใจประเด็นสำคัญในแต่ละหัวข้อ โดยพี่สรุปข้อความสำคัญไว้ให้แล้ว ดังนี้
    • ความตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) : รู้จักสถานะและบทบาทตนเองว่า มีศักยภาพ (เชิงบวก) หรือเงื่อนไข (เชิงลบ) ยังไง
    • การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control) : ควบคุมอารมณ์และ
      การแสดงออกอย่างเหมาะสม
    • ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding) : เข้าใจผู้อื่น หาข้อมูล จิตใจดี
  2. ไม่ละเลยหรือเพิกเฉยต่อปัญหา
  3. ไม่ขยายปัญหาให้ใหญ่ขึ้น

พี่บอกเลยว่าแค่มีเทคนิค 3 ข้อนี้ ก็สามารถนำไปวิเคราะห์ตัดตัวเลือกได้เกือบทุกข้อ โดยพี่จะยกแนวข้อสอบในหัวข้อที่แล้วมาลองวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเหล่านี้ให้ทุกคนได้ดูเป็นตัวอย่างแล้วนำไปปรับใช้กับโจทย์ที่น้อง ๆ เจอกันอีกทีน้า

ตัวอย่างโจทย์

ในขณะที่คุณกำลังนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน เพื่อนร่วมชั้นของคุณมักจะพูดแทรกขัดขวางการนำเสนอบ่อยครั้ง
คุณจะทำอย่างไร

  1. ไม่สนใจเสียงเพื่อนและพยายามพูดให้เสียงดังกว่า
  2. บอกให้เพื่อนคนนั้นหยุดพูดและช่วยรักษามารยาทในการฟังนำเสนอ
  3. ขอความร่วมมือเพื่อนให้ตั้งใจฟังและตั้งคำถามให้เพื่อนคอยตอบเป็นระยะ
  4. หยุดการนำเสนอแล้วขอให้ครูเตือนเพื่อนให้หยุดพูดขณะที่ผู้อื่นนำเสนอ

วิธีการวิเคราะห์

  • สามารถตัดตัวเลือกที่ 1 ได้ เพราะเป็นการเพิกเฉยต่อปัญหาตามเทคนิคที่พี่ให้ไว้ อีกทั้งยังทำให้เราต้องพูดด้วยเสียงที่ดังขึ้น ตัวเลือกนี้จึงไม่น่าตอบที่สุด
  • สามารถตัดตัวเลือกที่ 4 ได้ เพราะอาจเป็นการขยายปัญหาให้ใหญ่ขึ้น กระทบต่อการนำเสนอ และยังแสดงถึง
    การควบคุมอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย
  • เหลือตัวเลือกที่ 2 และ 3 ให้น้อง ๆ วิเคราะห์และเลือกวิธีที่ดีที่สุด โดยเมื่อนำแนวคิด “การเข้าใจผู้อื่นและจิตใจดี”
    มาวิเคราะห์ด้วยจะเห็นว่าตัวเลือกที่ 2 มีความเข้าใจผู้อื่นและรักษาน้ำใจเพื่อนน้อยกว่า ดังนั้นตัวเลือกที่ 3 จึงเป็น
    คำตอบที่น่าตอบที่สุดและได้ 1 คะแนนไป ทั้งนี้ ตัวเลือกที่ 2 อาจได้คะแนนอยู่บ้าง คือ 0.5 คะแนน

เป็นยังไงกันบ้างกับข้อสอบ TGAT3 พาร์ตการบริหารจัดการอารมณ์ที่พี่ยกมาอธิบายให้ทุกคนได้อ่านกันในบทความนี้ จะเห็นว่าแม้ข้อสอบนี้จะดูเหมือนง่าย แต่มีเกณฑ์การให้คะแนนตั้งแต่ 0-1 คะแนนเลย ดังนั้นถ้าน้อง ๆ มีเทคนิคการทำข้อสอบก็จะยิ่งช่วยให้ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น และเพิ่มโอกาสในการเก็บคะแนนเต็มในแต่ละข้อด้วย (ถ้าใครอยากฝึกทำข้อสอบเพิ่มเติม หรืออยากวิเคราะห์ข้อสอบจริงจากเทคนิคที่พี่ให้ก็สามารถดาวน์โหลดข้อสอบจาก คลังข้อสอบ มาทำได้เลย)

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ลองฝึกทำข้อสอบจากในบทความนี้แล้ว และอยากเริ่มเตรียมสอบ TGAT3 พี่ก็แนะนำให้เตรียมตัวไปพร้อมกับวิชา TGAT2 ได้เลยเพราะ TGAT2 และ TGAT3 เป็นวิชาที่หลายคณะใช้คู่กันในการยื่นคะแนน ซึ่งพี่ก็มีคอร์ส TGAT2,3 ที่สอนโดย พี่ปั้น และ อ.ขลุ่ย มาแนะนำให้น้อง ๆ ด้วยน้าา

จะสอนตั้งแต่ปูพื้นฐานความรู้ TGAT2,3 แบบครบทั้งทุกพาร์ต และพาตะลุยโจทย์จัดเต็มซึ่งเป็นแนวที่ใกล้เคียงกับข้อสอบจริงอิงตาม Test Bluprint มากที่สุด พร้อมเฉลยละเอียดและบอกเทคนิคการทำ TGAT2,3 แต่ละพาร์ตให้ทันเวลาและเก็บคะแนนแบบปัง ๆ

นอกจากนี้ยังมี Unseen Mock Test ให้น้อง ๆ ได้จับเวลาทำข้อสอบแบบเสมือนจริง พร้อมแบบประเมินวิเคราะห์หลังสอบให้น้อง ๆ ได้รู้จุดแข็ง – จุดอ่อนของตัวเองอีกด้วย บอกเลยว่าเป็นคอร์สที่คุ้มมากกก ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจอยากเตรียมสอบ TGAT2,3 ให้พร้อมลงสนามจริงก่อนใครก็ คลิก ได้เลยยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

TGAT2-3
TGAT2 TGAT3 คืออะไร ? สรุปเนื้อหา TGAT2,3 68 พร้อมข้อสอบและเฉลย
TGAT2 ความสามารถทางตัวเลข
TGAT2 ความสามารถทางตัวเลข สรุปเนื้อหาพร้อมแจกเทคนิคเตรียมสอบ
A-Level คืออะไร ?
อัปเดตล่าสุด A-Level คืออะไร ? มีวิชาอะไรบ้าง ที่ Dek68 ควรรู้ !
Dek68 จะสอบเข้ามหาลัยฯ ต้องเตรียมตัวยังไง ?
Dek68 สอบเข้ามหาลัยฯ ควรเริ่มยังไง? สรุปทุกขั้นตอนควรรู้ของ TCAS68
เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด
เตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ TCAS68 ยังไง พร้อมแจกวิธีอ่านหนังสือให้ Dek68

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share