พอได้ยิน TGAT2 พาร์ตความสามารถตัวเลขแล้ว น้อง ๆ หลายคนอาจจะเข้าใจว่าข้อสอบพาร์ตนี้จะเป็นการคำนวณล้วน ๆ แต่ที่จริงแล้ว TGAT2 ความสามารถทางตัวเลขไม่ได้มีแต่การคำนวณตัวเลข บวก ลบ คูณ หาร อย่างเดียว แต่จะมีโจทย์ที่ประยุกต์มาเพื่อทดสอบความเข้าใจและการวิเคราะห์ของน้อง ๆ ด้วย
ดังนั้นวันนี้พี่จะพาทุกคนไปเจาะลึกข้อสอบ สรุปเนื้อหา TGAT2 พาร์ตความสามารถทางตัวเลขตั้งแต่สิ่งที่น้อง ๆ ควรรู้, โครงสร้างข้อสอบ, การเตรียมตัวสอบ และตัวอย่างข้อสอบพร้อมแนวคิด ใครอยากรู้แล้วก็เลื่อนลงไปทำความเข้าใจพร้อมกันได้เลยน้า
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleโครงสร้างข้อสอบ TGAT2 ความสามารถทางตัวเลข
ข้อสอบความสามารถทางตัวเลข มี 4 ด้าน คือ
- อนุกรมมิติ
- การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ
- ความเพียงพอของข้อมูล
- โจทย์ปัญหา
โดยข้อสอบเป็นแบบปรนัย (5 ตัวเลือก) จำนวนทั้งหมด 20 ข้อ โดยแบ่งเป็น 5 ข้อข้อละ 1.25 คะแนน ทั้งหมด 25 คะแนน
TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล จะมีเวลาในการทำข้อสอบทั้งหมด 60 นาที แสดงว่าน้องจะมีเวลาในการทำข้อสอบพาร์ตความสามารถทางตัวเลขทั้ง 20 ข้อนี้ประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้นน้า
การเตรียมตัวสอบ TGAT2 ความสามารถทางตัวเลข
1. ทบทวนความรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน
ข้อสอบ TGAT2 พาร์ตความสามารถทางตัวเลข ต้องใช้ความรู้ที่เคยเรียนมาตั้งแต่ ม.ต้น จนถึง ม.ปลาย ดังนั้นน้อง ๆ สามารถทบทวนความรู้ ตั้งแต่ระดับชั้น ม.ต้น จนถึง ม.ปลายในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานได้เลย เช่น เรื่องสมการ
กำไร – ขาดทุน อัตราส่วน ร้อยละ พื้นฐานเรขาคณิต (เรื่องการหาพื้นที่รูปเรขาคณิตต่าง ๆ รวมถึงการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร) การนับและความน่าจะเป็น และสถิติ เป็นต้น
2. ฝึกทำโจทย์พื้นฐาน
แนะนำว่าน้อง ๆ ควรหาโจทย์ที่ต้องใช้ความรู้ข้างต้นมาฝึกทำดูน้าา อาจหามาจากแบบฝึกหัดระดับชั้น ม.ต้น เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของตัวเองในหัวข้อนั้น ๆ และเพื่อความแม่นยำในการทำโจทย์ ถึงแม้โจทย์ในพาร์ตความสามารถด้านตัวเลขจะไม่ได้มีความยากมาก แต่เนื่องจากเรามีเวลาในการทำข้อสอบ TGAT2 ต่อข้อค่อนข้างน้อย ดังนั้นการที่น้อง ๆ มีพื้นฐาน ความรู้ที่แน่นและมีความชำนาญในการทำโจทย์ที่มากพอ ก็จะช่วยให้ทำข้อสอบพาร์ตนี้ได้ทันเวลา
3. ฝึกทำโจทย์ที่มีความยากเทียบเท่าข้อสอบจริง
หลังจากที่เราทบทวนเนื้อหาและฝึกทำโจทย์กันมาแล้ว พี่แนะนำให้น้อง ๆ หาข้อสอบที่มีแนวเดียวกับข้อสอบจริงจากในคลังข้อสอบต่าง ๆ โดยเลือกที่มีความยากเทียบเท่ากับข้อสอบจริงมาฝึกทำ ไม่ว่าจะเป็นโจทย์อนุกรมมิติ การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ ความเพียงพอของข้อมูล และโจทย์ปัญหา เพื่อเรียนรู้แนวข้อสอบเและเพิ่มความชำนาญในการทำข้อสอบน้าา ที่สำคัญเลย น้อง ๆ อย่าลืมตรวจสอบและศึกษาข้อผิดพลาดจากการทำโจทย์แต่ละครั้ง เพื่อนำมาปิดรอยรั่วด้วยนะ เราจะได้เก็บคะแนนในพาร์ตนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เลย !
4. จับเวลาทำข้อสอบ
น้อง ๆ ควรจับเวลาทำข้อสอบและจัดบรรยากาศในการสอบให้เหมือนจริง เช่น ควรนั่งทำบนโต๊ะ ไม่ควรดูโทรทัศน์ เปิดเพลงหรือกินขนมระหว่างทำข้อสอบน้าา เพื่อให้เรามีสมาธิในการทำข้อสอบมากที่สุด และจำลองสถานการณ์ให้คุ้นเคยกับความกดดันในห้องสอบ เมื่อเข้าสอบจริงจะได้ไม่ตื่นเต้นมากจนเกินไป
ที่สำคัญคือเราจะมีโอกาสวางแผนการจัดการเวลาในห้องสอบก่อน น้อง ๆ จะได้รู้ว่าตัวเองใช้เวลาในการทำข้อสอบพาร์ตไหนมากที่สุด หรือถนัดพาร์ตไหนมากที่สุด เมื่อเข้าสอบจริงเราจะวางแผนได้ถูกต้องว่าควรทำข้อสอบพาร์ตไหนก่อน เพื่อให้เราทำข้อสอบได้ทันและเก็บคะแนนให้ได้มากที่สุด !
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT2 ความสามารถทางตัวเลข
อนุกรมมิติ
โจทย์อนุกรมมิติเป็นการหาความสัมพันธ์ของตัวเลขที่ให้มา และต้องมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยโจทย์จะให้หาตัวเลขตัวสุดท้ายหรือตัวที่หายไป ซึ่งวิธีในการหาอนุกรมจะไม่ตายตัว อาจจะใช้การบวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง หรือมีการคำนวณมากกว่า 1 ขั้นตอน ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวเลขนั้น ๆ
ตัวอย่างโจทย์
คำชี้แจง แต่ละข้อจะมีตัวเลขหลายจำนวนเรียงกัน ให้ผู้สอบคิดให้ดีว่าตัวเลขเหล่านั้น เรียงกันอยู่อย่างไร เมื่อทราบแล้ว ให้คิดว่าตัวเลขถัดไปจะต้องเป็นตัวเลขใด จากตัวเลือก 1, 2, 3, 4 หรือ 5 ที่กำหนดให้
ตัวอย่างที่ 1
1) 300
2) 180
3) -180
4) -300
5) -360
ตอบ 5) -360
แนวคิด เมื่อดูจากโจทย์แล้วมีทั้งจำนวนลบและจำนวนบวกสลับกันไป ทำให้เราสามารถเดาได้ว่าอนุกรมมิติข้อนี้ ถูกคูณด้วยจำนวนลบ
จาก \frac{1}{2} ไป -1 คือคูณด้วย -2
– จาก -1 ไป 3 คือคูณด้วย -3
– จาก 3 ไป -12 คือคูณด้วย -4
– จาก -12 ไป 60 คือคูณด้วย -5
จึงสามารถสรุปได้ว่า จำนวนถัดไปต้องคูณด้วย -6 จึงตอบ -360 นั่นเอง
ตัวอย่างที่ 2
1) 6
2) 8
3) 16
4) 18
5) 24
ตอบ 2) 8
แนวคิด เมื่อพิจารณาโจทย์แล้ว ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นค่าที่เท่า ๆ กัน นั่นคือ น่าจะไม่ได ้เป็นการบวก จึงพิจารณาการคูณแทน
– จากช่องที่ 1 และช่องที่ 2 นั่นคือ 1\times 2 จะได้ 2 ในช่องที่ 3
– จากช่องที่ 2 และช่องที่ 3 นั่นคือ 2\times 2 จะได้ 4 ในช่องที่ 4
– ช่องที่ 5 เกิดจากช่องที่ 3 และช่องที่ 4 คือ 2\times 4 เท่ากับ 8 ซึ่งเป็นคำตอบ
– จากช่องที่ 4 และช่องที่ 5 นั่นคือ 4\times 8 จะได้ 32 ในช่องที่ 6
การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ
ความรู้ที่ต้องใช้ในพาร์ตนี้จะเป็นคณิตศาสตร์ ม.ต้น และคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.ปลาย เช่น พื้นฐานของจำนวน พื้นที่ ความยาวรอบรูป ปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิต ความน่าจะเป็นพื้นฐาน เป็นต้น
โดยโจทย์พาร์ตการเปรียบเทียบเชิงปริมาณ จะกำหนดปริมาณทั้งหมด 3 ปริมาณ แล้วให้พิจารณาว่าปริมาณใดมีค่ามากที่สุด ทุกปริมาณมีค่าเท่ากัน หรือข้อมูลไม่เพียงพอที่จะเปรียบเทียบ
ตัวอย่างโจทย์
คำชี้แจง แต่ละข้อจะกำหนดข้อมูลให้ 3 สดมภ์ คือ ก. ข. และ ค. ซึ่งข้อมูลแต่ละสดมภ์อาจนำไปคำนวณได้เป็นปริมาณ/ตัวเลขจำนวนหนึ่ง ให้เปรียบเทียบปริมาณทั้งสามนี้แล้วเลือกตอบตามตัวเลือก ดังนี้
ตอบ 1) ถ้าปริมาณในสดมภ์ ก. มากที่สุด
ตอบ 2) ถ้าปริมาณในสดมภ์ ข. มากที่สุด
ตอบ 3) ถ้าปริมาณในสดมภ์ ค. มากที่สุด
ตอบ 4) ถ้าปริมาณทั้ง 3 สดมภ์เท่ากัน
ตอบ 5) ถ้าข้อมูลที่กำหนดให้ไม่เพียงพอที่จะเปรียบเทียบ
ตัวอย่างที่ 3
1) ปริมาณในสดมภ์ ก. มากที่สุด
2) ปริมาณในสดมภ์ ข. มากที่สุด
3) ปริมาณในสดมภ์ ค. มากที่สุด
4) ปริมาณทั้ง 3 สดมภ์เท่ากัน
5) ข้อมูลที่กำหนดให้ไม่เพียงพอที่จะเปรียบเทียบ
ตอบ 3) ปริมาณในสดมภ์ ค. มากที่สุด
แนวคิด เราสามารถหาผลบวกของแต่ละจำนวนที่โจทย์กำหนด โดยใช้ความรู้เรื่องลำดับและอนุกรม
– พิจารณาสดมภ์ ก. คือผลบวกของ 2, 3, 5, …, 97
ผลบวกของจำนวนเฉพาะทั้งหมดที่มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 100 คือ 1,060 แต่เราไม่จำเป็นต้องหาผลบวกออกมาก็สามารถตอบได้นะ สังเกตได้ว่าจำนวนเฉพาะเป็นจำนวนคี่บางจำนวน และมี 2 เพิ่มเข้ามาเท่านั้น นั่นคือ ผลบวกของจำนวนเฉพาะจะน้อยกว่าผลบวกของจำนวนคี่
– พิจารณาสดมภ์ ข. คือผลบวกของ 1 ,3, 5, …, 95, 97, 99
ผลบวกของจำนวนคี่ทั้งหมดที่มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 100 มีค่าเท่ากับ 2,500
– พิจารณาสดมภ์ ค. คือผลบวกของ 2, 4, 6, …, 96, 98, 100
ผลบวกของจำนวนคู่ทั้งหมดที่มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 100 มีค่าเท่ากับ 2,550
ตัวอย่างที่ 4
1) ปริมาณในสดมภ์ ก. มากที่สุด
2) ปริมาณในสดมภ์ ข. มากที่สุด
3) ปริมาณในสดมภ์ ค. มากที่สุด
4) ปริมาณทั้ง 3 สดมภ์เท่ากัน
5) ข้อมูลที่กำหนดให้ไม่เพียงพอที่จะเปรียบเทียบ
ตอบ 4) ปริมาณทั้ง 3 สดมภ์เท่ากัน
แนวคิด เราสามารถหาค่าของแต่ละสดมภ์ได้ โดยใช้ความรู้เรื่องเปอร์เซ็นต์
– สดมภ์ ก. \left ( \frac{50}{100} \times 1,000 \right )+\left ( \frac{25}{100} \times 400 \right )=600
– สดมภ์ ข. \left ( \frac{30}{100} \times 1,500 \right )+\left ( \frac{20}{100} \times 750 \right )=600
– สดมภ์ ค. \left ( \frac{70}{100} \times 500 \right )+\left ( \frac{40}{100} \times 625 \right )=600
ความเพียงพอของข้อมูล
ความรู้ที่ใช้สอบในพาร์ตนี้จะเป็นความรู้คณิตศาสตร์ในระดับพื้นฐานของมัธยมต้นและมัธยมปลาย เช่น พื้นฐานทางด้านจำนวน สถิติ และตรรกศาสตร์ เป็นต้น
โดยโจทย์ของความเพียงพอของข้อมูลจะกำหนดสถานการณ์ปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการรู้มาให้ หลังจากนั้นให้น้อง ๆ พิจารณาว่าข้อมูล ก. และข้อมูล ข. ที่โจทย์ให้มาสามารถใช้แก้สถานการณ์ปัญหาได้หรือไม่
ตัวอย่างโจทย์
คำชี้แจง แต่ละข้อประกอบด้วยสถานการณ์ที่เป็นปัญหา โดยข้อมูล (ก) และ (ข) เป็นข้อมูลที่ใช้ในการแก้ปัญหา ให้พิจารณาว่าต้องใช้ข้อมูลใดบ้างจึงจะเพียงพอที่จะตอบคำถามนั้นได้ และตัดสินใจตอบตามตัวเลือก ดังนี้
ตอบ 1) ถ้าใช้ข้อมูล ก เพียงข้อเดียวก็ตอบคำถามได้ แต่ข้อมูล ข ใช้ตอบไม่ได้
ตอบ 2) ถ้าใช้ข้อมูล ข เพียงข้อเดียวก็ตอบคำถามได้ แต่ข้อมูล ก ใช้ตอบไม่ได้
ตอบ 3) ถ้าต้องใช้ข้อมูล ก และ ข ทั้ง 2 ข้อ จึงจะเพียงพอสำหรับตอบคำถาม
ตอบ 4) ถ้าใช้ข้อมูล ก หรือ ข เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ตอบคำถามได้
ตอบ 5) ถ้าใช้ข้อมูลทั้ง ก และ ข ก็ไม่เพียงพอที่จะตอบคำถามได้
ตัวอย่างที่ 5 นักเรียนชั้น ม.5 มีทั้งหมดกี่คน
ข้อมูล ก. นักเรียนหญิงระดับชั้น ม.5 มีจำนวน 120 คน
ข้อมูล ข. นักเรียนชายระดับชั้น ม.5 คิดเป็น 40% ของนักเรียนระดับชั้น ม.5 ทั้งหมด
1) ใช้ข้อมูล ก. เพียงข้อเดียวก็ตอบคำถามได้ แต่ข้อมูล ข. ใช้ตอบไม่ได้
2) ใช้ข้อมูล ข. เพียงข้อเดียวก็ตอบคำถามได้ แต่ข้อมูล ก. ใช้ตอบไม่ได้
3) ต้องใช้ข้อมูล ก. และ ข. ทั้ง 2 ข้อจึงจะเพียงพอสำหรับตอบคำถาม
4) ใช้ข้อมูล ก. หรือ ข. เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ตอบคำถามได้
5) ใช้ข้อมูล ก. และ ข. ก็ไม่เพียงพอที่จะตอบคำถามได้
ตอบ 3) ต้องใช้ข้อมูล ก. และ ข. ทั้ง 2 ข้อจึงจะเพียงพอสำหรับตอบคำถาม
แนวคิด
จากโจทย์และตัวเลือกของข้อสอบ น้องจะเห็นว่าเราต้องพิจารณาทั้งข้อมูล ก. และข้อมูล ข. พี่ขอสรุปเทคนิคในการทำข้อสอบพาร์ตนี้ไว้ดังนี้
– ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาว่าข้อมูล ก. เพียงพอที่จะแก้โจทย์ปัญหาได้หรือไม่
พิจารณาข้อมูล ก. จะเห็นว่าข้อมูลจำนวนของนักเรียนหญิงชั้น ม.5 ยังไม่เพียงพอที่จะหาจำนวนนักเรียนชั้น ม.5 ทั้งหมดได้
– ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาว่าข้อมูล ข. เพียงพอที่จะแก้โจทย์ปัญหาได้หรือไม่
พิจารณาข้อมูล ข. เราได้ข้อมูลว่านักเรียนชายระดับชั้นม.5 คิดเป็น 40% ของนักเรียนระดับชั้น ม.5 ทั้งหมด เนื่องจากยังไม่รู้ว่านักเรียนชาย มีทั้งหมดเท่าใด จึงทำให้ยังไม่ทราบว่ามีจำนวนนักเรียนม.5 กี่คน ดังนั้น ข้อมูล ข. ยังไม่เพียงพอที่จะตอบคำถามได้
– ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาว่าสามารถใช้ข้อมูลทั้ง 2 ข้อพร้อมกันในการแก้โจทย์ปัญหาได้หรือไม่
พิจารณาข้อมูล ข. จะได้ว่านักเรียนหญิงระดับชั้น ม.5 คิดเป็น 60% ของนักเรียนระดับชั้น ม. 5 ทั้งหมด
พิจารณาข้อมูล ก. จะได้ว่านักเรียนหญิงระดับชั้น ม.5 คิดเป็น 60% ของนักเรียนระดับชั้น ม. 5 ทั้งหมด เท่ากับ 120
แสดงว่าเราสามารถหาจำนวนนักเรียนทั้งหมดได้ ซึ่งเท่ากับ 200 คน
ดังนั้นข้อนี้จึงตอบว่าต้องใช้ข้อมูล ก และ ข ทั้ง 2 ข้อจึงจะเพียงพอสำหรับตอบคำถามนั่นเอง
ตัวอย่างที่ 6 กระดาษรูปวงกลมมีพื้นที่ประมาณเท่าใด
ข้อมูล ก. กระดาษรูปวงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 เซนติเมตร
ข้อมูล ข. กระดาษรูปวงกลมมีพื้นที่เป็น 3.5 เท่าของความยาวเส้นรอบวง
1) ใช้ข้อมูล ก. เพียงข้อเดียวก็ตอบคำถามได้ แต่ข้อมูล ข. ใช้ตอบไม่ได้
2) ใช้ข้อมูล ข. เพียงข้อเดียวก็ตอบคำถามได้ แต่ข้อมูล ก. ใช้ตอบไม่ได้
3) ต้องใช้ข้อมูล ก. และ ข. ทั้ง 2 ข้อจึงจะเพียงพอสำหรับตอบคำถาม
4) ใช้ข้อมูล ก. หรือ ข. เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ตอบคำถามได้
5) ใช้ข้อมูล ก. และ ข. ก็ไม่เพียงพอที่จะตอบคำถามได้
ตอบ 4) ใช้ข้อมูล ก. หรือ ข. เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ตอบคำถามได้
แนวคิด
– พิจารณาข้อมูล ก. จะได้ว่าเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นสองเท่าของรัศมีแล้วสามารถนำรัศมีไปหาพื้นที่ต่อไปได้ จึงสามารถใช้ข้อมูล ก. ในการหาคำตอบได้
– พิจารณาข้อมูล ข. เราจะได้ว่า \pi r^{2}=3.5\left ( 2\pi r \right ) แล้วเราสามารถแก้สมการหาค่า r ได้ แล้วนำไปหาคำตอบต่อไป
ดังนั้นเราสามารถใช้ข้อมูล ก. หรือ ข. เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ตอบคำถามในข้อนี้ได้
ตัวอย่างที่ 7 กำหนดให้ k เป็นจำนวนเต็มบวก แล้ว k เป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่
ข้อมูล ก. 4k เป็นจำนวนคู่
ข้อมูล ข. 5k เป็นจำนวนคู่
1) ใช้ข้อมูล ก. เพียงข้อเดียวก็ตอบคำถามได้ แต่ข้อมูล ข. ใช้ตอบไม่ได้
2) ใช้ข้อมูล ข. เพียงข้อเดียวก็ตอบคำถามได้ แต่ข้อมูล ก. ใช้ตอบไม่ได้
3) ต้องใช้ข้อมูล ก. และ ข. ทั้ง 2 ข้อจึงจะเพียงพอสำหรับตอบคำถาม
4) ใช้ข้อมูล ก. หรือ ข. เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ตอบคำถามได้
5) ใช้ข้อมูล ก. และ ข. ก็ไม่เพียงพอที่จะตอบคำถามได้
ตอบ 2) ใช้ข้อมูล ข. เพียงข้อเดียวก็ตอบคำถามได้ แต่ข้อมูล ก. ใช้ตอบไม่ได้
แนวคิด
– พิจารณาข้อมูล ก. 4 เป็นจำนวนคู่ จำนวนคู่คูณกับจำนวนเต็มใด ๆ จะได้จำนวนเต็มคู่เสมอ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถใช้ข้อมูล ก. ในการแก้ปัญหานี้ได้
– พิจารณาข้อมูล ข. 5 เป็นจำนวนคี่ จำนวนคี่คูณกับจำนวนคี่จะได้จำนวนคี่ และจำนวนคี่คูณกับจำนวนคู่จะได้จำนวนคู่
แสดงว่า k เป็นจำนวนคู่นั่นเอง
ดังนั้น เราใช้ข้อมูล ข. เพียงข้อเดียวก็ตอบคำถามได้ แต่ข้อมูล ก. เพียงข้อเดียวยังตอบไม่ได้
ในข้อสอบพาร์ตนี้ พี่แนะนำว่าไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการคิดคำตอบออกมาให้เป็นตัวเลขที่ถูกต้องก็ได้น้า เพียงแค่หาเงื่อนไขที่สอดคล้องกับคำตอบเพื่อพิจารณาว่าเพียงพอที่จะใช้ในการตอบคำถามหรือไม่
โจทย์ปัญหา
โจทย์ปัญหาในข้อสอบ TGAT2 จะเน้นปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งใช้ความรู้คณิตศาสตร์พื้นฐานของระดับม.ต้น และม.ปลาย เหมือนพาร์ตอื่น ๆ โดยจะวัดความสามารถในการคิดคำนวณแก้โจทย์ปัญหาโดยอาศัยพื้นฐานความเข้าใจในความคิดรวบยอด หลักการคณิตศาสตร์ หรืออาศัยข้อมูลต่าง ๆ
ตัวอย่างโจทย์
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ตัวอย่างที่ 8 พี่ปั้นขับรถออกจากบ้านไปทำงานที่ต่างจังหวัดด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อพี่ปั้นออกจากบ้านไปแล้ว 3 ชั่วโมงเพิ่งรู้ว่าลืมของไว้ที่บ้าน จึงให้พี่ป๋อพี่ชายฝาแฝดขับรถมาส่งของที่พี่ปั้นลืมไว้ โดยพี่ป๋อขับรถด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พี่ป๋อต้องขับรถอย่างน้อยกี่ชั่วโมง จึงจะตามรถพี่ปั้นทัน ถ้าพี่ปั้นยังคงขับรถด้วยความเร็วเดิมแม้จะรู้ว่าลืมของ
1) 1 ชั่วโมง
2) 2 ชั่วโมง
3) 3 ชั่วโมง
4) 4 ชั่วโมง
5) 5 ชั่วโมง
ตอบ 5) 5 ชั่วโมง
แนวคิด สมมติให้พี่ป๋อใช้เวลาในการขับรถ t ชั่วโมง พี่ปั้นจะใช้เวลาทั้งสิ้น t + 3 ชั่วโมง
จากระยะทางเท่ากับอัตราเร็วคูณด้วยเวลาที่ใช้ และระยะทางที่พี่ปั้นขับรถจะต้องเท่ากับระยะทางของพี่ป๋อที่ออกรถทีหลัง
จะได้ว่า
50(t+3)=80t
50t+150=80t
150=3t
t=5
ดังนั้น พี่ป๋อต้องขับรถอย่างน้อย 5 ชั่วโมง จึงจะตามรถพี่ปั้นทัน
ตัวอย่างที่ 9 ถ้าร้อยละ 60 ของจำนวนหนึ่งมีค่าเท่ากับร้อยละ 50 ของ 1,500 แล้วจำนวนนั้นมีค่าเท่าใด
1) 1,100
2) 1,150
3) 1,200
4) 1,250
5) 1,300
ตอบ 4) 1,250
แนวคิด กำหนดให้ x แทนจำนวนหนึ่ง
จากโจทย์ ร้อยละ 50 ของ 1,500 คือ 1500\times \frac{50}{100}=750 นั่นเอง
เนื่องจากร้อยละ 60 ของจำนวนนั้นมีค่าเท่ากับ 750 สามารถตั้งสมการได้ดังนี้
\left (\frac{60}{100} \right )x=750
x=\left (\frac{100}{60} \right )750
x=1,250
ดังนั้น จำนวนนั้นคือ 1,250 นั่นเอง
ดูคลิปติว TGAT2 ความสามารถทางด้านตัวเลข
ติดตามคลิปติวอื่น ๆ ได้ทาง YouTube Channel : SmartMathPro
TGAT2 พาร์ตความสามารถทางตัวเลขนี้ ถึงแม้จะใช้ความรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน แต่ก็ต้องอาศัยการตีโจทย์และทำความเข้าใจให้ดีภายในเวลาที่จำกัด เพราะยังต้องไปทำข้อสอบพาร์ตอื่นอีก ดังนั้นพี่อยากให้น้อง ๆ ไม่ประมาท ตั้งใจทบทวนและฝึกทำโจทย์เยอะ ๆ โดยทุกคนสามารถเอาวิธีเตรียมตัวสอบที่พี่แนะนำไปปรับใช้ให้เข้ากับวิธีของตัวเองได้เลย
แต่ถ้าใครรู้สึกว่าการทบทวนด้วยตัวเองมันอาจจะใช้เวลาทำความเข้าใจเยอะจนอาจไม่มีเวลาไปทบทวนวิชาอื่น เลยอยากจะได้ตัวช่วยเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้มีคนคอยช่วยไกด์แนวทางทำข้อสอบและอธิบายให้น้อง ๆ เข้าใจมากที่สุด พี่ก็มีคอร์สมาแนะนำด้วย เป็นคอร์สของพี่เองงง โดยพี่จะสอนตั้งแต่ปูพื้นฐานเพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจเนื้อหามากที่สุด พร้อมพาตะลุยเนื้อหาแบบจัดเต็ม !! ในคอร์สนอกจากจะมีคอร์ส TGAT2 ที่สอนโดยพี่ปั้นแล้ว ยังมีคอร์ส TGAT3 ที่สอนโดยอ.ขลุ่ยด้วยน้า >< ใครสนใจคลิกไปดูรายละเอียดได้เลยยย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro