น้อง ๆ คนไหนจะสมัครรอบ Portfolio อาจจะเคยเห็นคำว่า SOP ผ่านตากันมาบ้างในประกาศรับสมัครของมหาลัยฯ
แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร หรือต้องเขียนอย่างไรถึงจะโดนใจคณะกรรมการ
วันนี้พี่สรุปเรื่องที่ควรรู้มาให้หมดแล้วทั้ง SOP คืออะไร, โครงสร้างการเขียน SOP, และเทคนิคการเขียน SOP ถ้าพร้อมแล้ว ไปอ่านกันเลยยยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
ToggleSOP คืออะไร ? สำคัญอย่างไร ?
SOP (Statement Of Purpose) คือ จดหมายแนะนำตัวที่ใช้ในการยื่นเข้ามหาลัยฯ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ทาง
คณะ / มหาลัยฯ ที่น้อง ๆ ยื่นสมัครได้รู้จักตัวตนของน้อง ๆ มากขึ้น ดังนั้น SOP จึงเป็นเหมือนพื้นที่ที่น้อง ๆ สามารถเขียนนำเสนอตัวเองเพื่อให้คณะกรรมการประทับใจได้นั่นเอง
SOP ยื่นคณะไหนได้บ้าง ?
SOP เป็นเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของเรียงความที่หลายมหาลัยฯ กำหนดให้น้อง ๆ ยื่นในรอบ 1 Portfolio ของระบบ TCAS ซึ่งพี่ลองยกตัวอย่างบางคณะ / มหาลัยฯ ที่กำหนดให้ส่ง SOP มาให้แล้ว ลองดูกันได้เลย
ตัวอย่างมหาลัยฯ ที่กำหนดให้ยื่น SOP ในรอบ 1 Portfolio
น้อง ๆ อาจจะสังเกตว่าบางมหาลัยฯ มีชื่อเรียกจดหมายแนะนำตัวเองแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น SOP, Personal Statment, หรือเรียงความ ซึ่งทั้งหมดนี้มีรูปแบบการเขียนและจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เป็นเรียงความที่ให้น้อง ๆ นำเสนอตัวเอง
ดังนั้นถ้ามหาลัยฯ ไหนใช้ชื่อจดหมายแนะนำตัวเองที่ไม่ใช่ SOP ก็อย่าเพิ่งตกใจน้า แนะนำว่าให้อ่านรายละเอียดให้ครบว่าทางคณะต้องการให้เราเขียนข้อมูลอะไรบ้าง แล้วเขียนตามคำสั่งได้เลย
ทั้งนี้ถ้าคณะไหนไม่ได้บอกรายละเอียดมา หรือบอกแค่ว่า “ให้เขียนแนะนำตัวเองพร้อมบอกเหตุผลที่อยากเข้าเรียนคณะนี้” น้อง ๆ ก็สามารถเขียนตามแพตเทิร์นที่พี่แนะนำในหัวข้อถัดไปได้เลยน้าา
โครงสร้างของ SOP มีอะไรบ้าง ?
แนะนำตัวเอง
แนะนำให้เขียนแบบกระชับที่สุด โดยใส่ข้อมูลเบื้องต้นของตัวเอง เช่น ชื่อ, นามสกุล, โรงเรียนที่กำลังเรียนอยู่ นอกจากนี้ให้น้อง ๆ เล่าว่าตัวเองเป็นคนนิสัยอย่างไรผ่านการยกตัวอย่างเหตุการณ์ / กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม ว่าในเหตุการณ์เหล่านั้นได้บ่งบอกนิสัยที่น้อง ๆ นำเสนออย่างไรบ้าง
เช่น น้อง ๆ เล่าว่าตัวเองเป็นคนมีภาวะผู้นำ เนื่องจากเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายกิจกรรม / ประธานชมรม และเคยเข้าร่วมค่ายอบรมผู้นำในโครงการระดับนานาชาติ
เล่าถึงประวัติการศึกษาและผลงานของน้อง ๆ
แนะนำให้เล่าผ่านผลงานที่น้อง ๆ ภูมิใจนำเสนอมากที่สุด ซึ่งควรเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะ / สาขาที่สมัครด้วย
โดยให้พูดถึงรายละเอียดของผลงานชิ้นนั้นว่าน้อง ๆ ต้องทำอะไรบ้าง, ปัญหา / อุปสรรคในการทำงาน, วิธีการแก้ไขปัญหา และผลลัพธ์ที่ได้ว่าน้อง ๆ มีการพัฒนาตัวเองอย่างไรบ้าง
เช่น น้อง ๆ ยื่นสมัครคณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มีผลงานด้านการเป็นผู้นำนักเรียนในโครงการระดับนานาชาติ ซึ่งได้ใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการพูดคุย หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเพื่อนชาวต่างชาติจนสามารถผ่านโครงการนั้นมาได้อย่างราบรื่น โดยเหตุการณ์นี้ช่วยฝึกการแก้ปัญหาของน้อง ๆ ให้ดีขึ้น
เหตุผลที่อยากเรียนคณะ / สาขาที่สมัคร
แนะนำให้น้อง ๆ เล่าเหตุผลที่อยากเรียนคณะ / สาขานั้น ๆ พร้อมบอกว่าคณะที่สมัครเรียนมีหลักสูตร / วิชาอะไรบ้างที่
น่าสนใจสำหรับเรา หรือวิชาเหล่านั้นจะช่วยให้เราพัฒนาตัวเองในด้านไหนได้บ้าง โดยการเขียนแบบนี้จะทำให้คณะกรรมการเห็นว่าน้อง ๆ เตรียมข้อมูลมาอย่างดี และตั้งใจเลือกเรียนที่นี่จริง ๆ
เช่น น้อง ๆ ยื่นสมัครคณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ ของมหาลัยฯ หนึ่งที่มีสอนวิชาการพูดในที่สาธารณะ
ซึ่งน้อง ๆ สนใจเรียน เพราะจะช่วยให้มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น และทักษะการพูดที่ได้รับก็สามารถใช้ในโอกาสที่
หลากหลายได้
เป้าหมายในอนาคต
แนะนำให้น้อง ๆ พูดถึงเป้าหมายในอนาคตหลังเรียนจบคณะนี้ โดยเชื่อมโยงกับหัวข้อที่แล้วว่าคณะที่น้อง ๆ เรียนนั้นจะสามารถตอบโจทย์เป้าหมายที่น้อง ๆ ตั้งไว้ได้อย่างไรบ้าง
เช่น น้อง ๆ ยื่นสมัครคณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ และในอนาคตมีความฝันอยากเป็นล่าม ซึ่งการเรียนคณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ ของมหาลัยฯ นี้ มีวิชาที่จะช่วยพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่สามารถเป็นใบเบิกทางให้น้อง ๆ เข้าใกล้การเป็นล่ามในอนาคตได้มากยิ่งขึ้น
หมายเหตุ : แพตเทิร์นที่พี่สรุปมาให้เป็นแพตเทิร์นการเขียน SOP โดยทั่วไปเท่านั้น บางคณะอาจกำหนดข้อมูลที่น้อง ๆ ต้องเขียนเพิ่มเติม แนะนำให้อ่านรายละเอียดการรับสมัครให้ครบถ้วนก่อนลงมือเขียนน้า
เทคนิคการเขียน SOP มีอะไรบ้าง ?
การเขียน SOP มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทางมหาลัยฯ กำหนด ทำให้น้อง ๆ บางคนอาจจะมีข้อสงสัย
ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่ควรใช้ หรือความยาวของ SOP วันนี้พี่ลองรวบรวมเทคนิคการเขียนมาให้น้อง ๆ ดูเพิ่มเติมตามนี้เลย
เขียน SOP ด้วยภาษาอะไร ?
มหาลัยฯ ส่วนใหญ่มักกำหนดให้น้อง ๆ เขียน SOP ด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งถ้าทางคณะกำหนดภาษาที่ต้องเขียนมาแล้ว น้อง ๆ ก็ต้องเขียนด้วยภาษานั้น ๆ ตามคำสั่งของทางคณะ
แต่ถ้าไม่มีการกำหนดว่าต้องเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พี่แนะนำให้ดูจากหลักสูตรที่เราสมัครว่าเป็นหลักสูตรไทย / นานาชาติ / สองภาษา และให้เลือกภาษาที่ควรเขียนจากประเภทหลักสูตรที่เลือก จะช่วยสร้างความประทับใจให้กับคณะกรรมการได้นั่นเอง
เขียน SOP แบบไหน ?
บางมหาลัยฯ มีการกำหนดให้น้อง ๆ ต้องเขียน SOP ด้วยการใช้ลายมือเขียน หรือการพิมพ์อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
แนะนำให้เช็กรายละเอียดการรับสมัครให้ดี จะได้ไม่โดนตัดสิทธิ์กันน้า
เขียน SOP ควรใช้ฟอนต์อะไร ?
แนะนำให้ใช้ฟอนต์ที่เป็นทางการ เช่น Arial หรือ Times New Roman ขนาด 12 เนื่องจาก SOP เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญที่ใช้สมัครเรียนต่อมหาลัยฯ
เขียน SOP ควรเขียนกี่หน้า ?
โดยทั่วไปหลายมหาลัยฯ กำหนดให้น้อง ๆ เขียน SOP ไม่เกิน 1 – 2 หน้า A4 ทั้งนี้มีบางคณะที่กำหนดให้เขียนมากกว่านั้น พี่แนะนำให้เช็กรายละเอียดของคณะที่สนใจกันอีกทีน้า
เขียน SOP ควรใช้คำแทนตัวเองว่าอะไร ?
แนะนำให้ใช้คำแทนตัวเองที่เป็นทางการ เช่น ดิฉัน, ข้าพเจ้า เพราะจะทำให้คณะกรรมการเห็นว่าน้อง ๆ เลือกใช้ระดับภาษาได้อย่างเหมาะสมกับเอกสารทางการอย่าง SOP
เขียน SOP สามารถดูของคนอื่นเป็นตัวอย่างได้ไหม ?
น้อง ๆ สามารถดูตัวอย่าง SOP ของคนอื่นเป็นแนวทางได้น้า แต่ห้ามคัดลอกเด็ดขาด เพราะจะถือว่าน้อง ๆ ใส่ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงลงในเอกสารสำหรับสมัครเรียน ซึ่งถ้าทางมหาลัยฯ ตรวจพบก็จะโดนตัดสิทธิ์ทันที ดังนั้นแนะนำให้เขียนจากประสบการณ์ตัวเองจะดีที่สุดน้าาา
SOP ถือเป็นด่านแรก ๆ ของการสมัครรอบ Portfolio ที่คณะกรรมการของมหาลัยฯ ต่าง ๆ จะเข้ามาอ่านเพื่อทำความรู้จักตัวตนของน้อง ๆ มากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าน้อง ๆ ส่ือสารออกมาได้โดดเด่นและน่าสนใจมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้คณะกรรมการรู้สึกประทับใจ เพิ่มโอกาสในการที่น้อง ๆ จะได้รับการคัดเลือกเข้าสัมภาษณ์มากขึ้น
ดังนั้นถ้าคณะไหนกำหนดให้เราต้องเขียน SOP หรือจดหมายแนะนำตัวเองประเภทอื่น ๆ พี่อยากให้ทุกคนตั้งใจเขียนให้
เต็มที่เลยน้า ทั้งนี้นอกจากการเขียน SOP แล้ว พี่แนะนำให้น้อง ๆ เตรียมตัวสอบสนามต่าง ๆ ไว้ด้วย เพราะในรอบ Portfolio ของบางมหาลัยฯ ก็มีการใช้คะแนนสนามสอบ TGAT / TPAT เป็นเกณฑ์การคัดเลือกด้วยนั่นเอง
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
X : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro