คะแนน TGAT ประกาศเรียบร้อยแล้ววว ยินดีกับคนที่ได้คะแนนตามที่หวังด้วยน้าา ส่วนใครยังที่คะแนนยังไม่ถึงเป้า ก็อย่าเพิ่งท้อน้าา เพราะจริง ๆ แล้วคะแนนของน้อง ๆ อาจจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเทียบกับค่าเฉล่ียของประเทศก็ได้~
วันนี้พี่ก็เลยจะมาวิเคราะห์จากสถิติที่ทางทปอ. ได้ประกาศออกมาว่าแนวโน้มคะแนนแต่ละวิชาเป็นอย่างไรบ้าง ? จะเฟ้อขึ้นหรือฝืดลงมากน้อยแค่ไหน ? ถ้าได้คะแนนเท่านี้จะอยู่กลุ่มไหนของประเทศ ? ไปดูพร้อม ๆ กันเลยยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleวิธีการดูใบคะแนน
คะแนนเฉล่ีย (Mean)
ค่าที่นำคะแนนที่ทุกคนสอบได้ในรายวิชานั้นมารวมกันทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนผู้เข้าสอบในรายวิชานั้นทั้งหมด
มัธยฐาน (Median)
ค่าคะแนนที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียบเรียงข้อมูลจากคะแนนน้อยที่สุดไปหาคะแนนมากที่สุด หรือจากคะแนนที่มากที่สุดไปหาคะแนนที่น้อยที่สุด
ฐานนิยม (Mode)
คะแนนที่มีจำนวนคนสอบได้คะแนนนี้เยอะที่สุด
เปอร์เซ็นไทล์ (Percentile)
ตำแหน่งของข้อมูลที่แสดงให้รู้ว่าน้องอยู่ตำแหน่งใดเมื่อนำคะแนนของผู้เข้าสอบทุกคนมาเรียงจากน้อยไปมาก โดยนำไปเทียบกับ 100
ค่าเปอร์เซ็นไทล์จะเรียงลำดับคะแนนจากน้อยไปมาก คนที่ได้คะแนนมาก ค่านี้ก็จะมากตามไปด้วย ดังนั้นถ้ามีเยอะก็จะยิ่งดีน้า เพราะจะบอกตำแหน่งว่าเราอยู่เหนือกว่าคู่แข่ง กี่ % ของคนทั้งหมด
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
คือ ค่าที่ทำให้เห็นการกระจายตัวคะแนนสอบในรายวิชานั้นของผู้สอบทั้งหมด ถ้ายิ่งน้อย แปลว่า คะแนนเกาะกลุ่มอยู่ที่ค่าเฉลี่ย แต่ถ้ายิ่งมาก แปลว่า คะแนนกระจายตัวห่างจากค่าเฉลี่ยมาก ซึ่งปีนี้ไม่ได้ต่างจากปีที่แล้วมาก
ค่ามาตรฐาน (T-score)
นำคะแนนที่น้อง ๆ ได้มาผ่านการแปลงทางสถิติตามสูตรคำนวณ จะได้เป็นคะแนนมาตรฐาน หรือ T-score เป็นคะแนนที่ถูกปรับคะแนนค่าเฉล่ียให้มาอยู่ตรงกลาง (50 คะแนน) บางคณะ / มหาลัยฯ ก็กำหนด T-score เป็นคะแนนขั้นต่ำ
หรือเอาไปคำนวณสำหรับยื่นรอบ 3
- ได้ต่ำกว่า 50 = ต่ำกว่าค่าเฉล่ีย
- ได้สูงกว่า 50 = สูงกว่าค่าเฉล่ีย
คะแนน TGAT ปี 68 เฟ้อ หรือ ฝืด ?
ถ้ามองภาพรวมคะแนน TGAT เมื่อเทียบปี 67 กับปี 68 จะเห็นว่าคะแนนฝืดลง แต่ถ้าลองดูแยกทีละพาร์ต (TGAT1 TGAT2 TGAT3) พบว่าคะแนน TGAT1 และ TGTA3 ฝืด ขณะที่คะแนนของ TGAT2 นั้นค่อนข้างเฟ้อ
สถิติคะแนนการสอบ TGAT / TPAT ปี 67 เทียบกับ ปี 68
สถิติการกระจายตัวของคะแนน TGAT ปี 67 เทียบกับปี 68
6 ปัจจัยที่จะใช้ตัดสินว่า ยื่นติด / ยื่นไม่ติด
1. สถิติภาพรวมคะแนนแต่ละวิชา (เฟ้อ / ฝืด)
2. การกระจายตัวคะแนนของกลุ่มนักเรียน
3. จำนวนรับของคณะ / มหาวิทยาลัยที่แตกต่างกันในแต่ละปี
4. เกณฑ์ / วิธีการประมวลผลของแต่ละสถาบัน
5. ความสนใจในคณะ / มหาวิทยาลัยนั้น ๆ
6. การปั่น / การสร้างจิตวิทยา / ความกล้าเลือก / ข้อมูลที่มีในมือ
(ส่งผลต่อจำนวนคนยื่นในคณะนั้น ๆ )
ดูคลิปวิเคราะห์คะแนน TGAT 68
ดูคลิปแนะแนวอื่น ๆ ได้ที่ Youtube : SmartMathPro
อันนี้เป็นการวิเคราะห์คะแนน TGAT จากพี่เองน้าา ซึ่งมันก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ทุกคนสอบติด เช่น GPAX, จำนวนคนสมัครในคณะนั้น ๆ หรือ คะแนน A-Level เป็นต้น และอย่างที่พี่บอกไปตั้งแต่ต้นเลยว่า ถ้าใครที่คะแนนไม่เยอะ ก็ยังไม่อยากให้ท้อน้า ลองสู้อีกสักตั้ง เรียนรู้ข้อผิดพลาดจากสนามที่ผ่านมา ฟิตสนาม A-Level ดูก่อน อาจจะได้คะแนนปัง
จนสอบติดคณะที่หวังเลยก็ได้ !!
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
X : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro
Lemon8 : @pan_smartmathpro