รวมเทคนิคเตรียมตัวสอบแพทย์ภายใน 1 ปี

เหลือเวลาเตรียมตัวสอบแพทย์อีกแค่ 1 ปี ควรจะเตรียมตัวยังไงดีถึงจะสอบติด ? สำหรับ Dek68 คนไหนที่ฝันอยากเป็นแพทย์ แล้วกำลังกังวลเรื่องนี้อยู่ ก่อนอื่นสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ และใจเย็น ๆ กันก่อนน้า เพราะช่วงเวลา 1 ปีต่อจากนี้
พี่บอกเลยว่าทุกคนยังมีเวลาเหลืออยู่อีกเยอะเลย ยังไงก็เตรียมตัวสอบทันแน่นอนน

แต่ถ้าใครที่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง และอยากได้วิธีในการเตรียมตัวสอบแพทย์เพิ่มเติม พี่ก็จัดมาให้แล้วในบทความนี้กับ
3 วิธีเตรียมตัวยังไงให้สอบติดแพทย์ภายใน 1 ปี เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมายไปจนถึงการอ่านหนังสือ ถ้าทุกคนอยากรู้แล้วว่าจะมีวิธีอะไรบ้าง ตามพี่ไปดูได้เลยย

3 วิธีเตรียมตัวสอบแพทย์ให้ติดใน 1 ปี

1. ค้นหาตัวเองว่าอยากเป็นแพทย์แบบไหน ?

ก่อนที่เราจะเริ่มวางแผนอ่านหนังสือ สิ่งแรกที่พี่แนะนำให้น้อง ๆ ทำเลยก็คือ “ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน” ว่าเราอยากจะเป็นแพทย์แบบไหน เพราะการมีเป้าหมายชัดจะช่วยให้เราวางแผนอ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และทำให้รู้ว่าควรจะตั้งเป้าคะแนนที่เท่าไรด้วย ซึ่งถ้าพูดถึงการเรียนแพทย์ หลายคนอาจจะนึกถึงคณะแพทยศาสตร์อย่างเดียว แต่ที่จริงการเรียนแพทย์ในประเทศไทยมีหลากหลายมากกก พี่จะขอยกตัวอย่าง 4 คณะมาให้น้าา นั่นคืออ

คณะแพทยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์จะได้เรียนเกี่ยวกับระบบร่างกายของมนุษย์ทั้งหมด รวมถึงความผิดปกติของร่างกาย ยารักษาโรค และอื่น ๆ อีกมากมายตั้งแต่ภาคทฤษฎีไปจนถึงภาคปฏิบัติที่เราจะได้เรียนรู้จากการรักษาคนไข้จริง ๆ เรียกได้ว่าใครชอบ
ช่วยเหลือ อยากรักษาให้คนอื่นหายดี คณะแพทยศาสตร์อาจเป็นคณะที่ใช่ของน้อง ๆ ก็ได้น้าา

คณะทันตแพทยศาสตร์

คณะทันตแพทยศาสตร์เป็นอีกคณะที่น้อง ๆ จะได้เรียนเพื่อไปรักษาคนไข้เหมือนกับคณะแพทยศาสตร์เลยย แต่คณะนี้จะโฟกัสที่การรักษาภายในช่องปากของคนเรา ซึ่งนอกจากการที่น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับอวัยวะ ระบบภายในช่องปาก โรคและวิธีการรักษาแล้ว

น้อง ๆ ก็ยังจะได้ใช้สกิลงานฝีมือในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การทำฟันปลอม การกรอฟัน เป็นต้น ถ้าใครอยากช่วยเหลือคนอื่น อยากเรียนรู้เรื่องของการรักษาฟันและช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ก็เหมาะเลยยย

คณะสัตวแพทยศาสตร์

ได้รู้จักคณะแพทย์ที่รักษาคนไปแล้ว ขยับมาดูคณะแพทย์ที่รักษาเพื่อนรักต่างสายพันธุ์ของเรากันบ้างดีกว่ากับ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่น้อง ๆ จะได้รู้จักกับระบบร่างกายของสัตว์หลายประเภทมากก รวมถึงโรคและวิธีการรักษา
ต่าง ๆ เรียกได้ว่าใครที่รักและฝันอยากจะช่วยเหลือสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ก็เป็นทางเลือกที่พี่ว่าน่าสนใจมากเลยยย

คณะเภสัชศาสตร์

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า หมอยา กันมาบ้าง ซึ่งเป็นชื่อเล่นของคณะเภสัชศาสตร์ที่น้อง ๆ จะได้เรียนเจาะลึกเกี่ยวกับ
ยารักษาโรคตั้งแต่โครงสร้างทางเคมีของยา การคำนวณโดสยา ไปจนถึงการให้คำแนะนำกับผู้ป่วยเพื่อวิเคราะห์อาการและจ่ายยาที่เหมาะสมที่สุด ใครที่อยากรู้ว่ายาแต่ละประเภทมีโครงสร้างยังไง และสามารถใช้รักษาคนเราได้ยังไงบ้าง น้อง ๆ ก็สามารถเก็บคณะเภสัชศาสตร์ไว้เป็นอีกทางเลือกก็ได้น้า

นี่ก็เป็นแค่การอธิบายคร่าว ๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของคณะแพทย์แต่ละสายเท่านั้นน้าา แต่ถ้าใครอยากรู้ว่าแต่ละคณะของสายหมอรวมถึงคณะอื่น ๆ จะเรียนอะไรบ้าง หรือจบไปจะได้ทำงานประมาณไหน ก็สามารถเข้าไปอ่านบทความรวมคณะ ได้เลยน้าา บอกเลยว่าน้อง ๆ จะได้รู้จักคณะสายหมอ และคณะอื่น ๆ มากขึ้นแน่นอน !!

2. เช็กว่าเตรียมตัวสอบแพทย์รอบไหนได้บ้าง ?

หลังจากที่ตั้งเป้าหมายกันแล้วว่าเราอยากจะเป็นแพทย์แบบไหน ขั้นต่อไปที่น้อง ๆ ควรรู้ก็คือ “สามารถสอบแพทย์เข้ารอบไหนได้บ้าง” เพราะน้อง ๆ สามารถเลือกยื่นได้ถึง 4 รอบด้วยกันในระบบ TCAS68 โดยแต่ละรอบก็จะมีจุดเด่นและเกณฑ์การรับสมัครที่ต่างกันด้วยน้าา ซึ่งพี่ก็สรุปมาให้แล้ว ตามนี้เลยย

รอบ 1 Portfolio

รอบ 1 Portfolio เป็นรอบที่เหมาะกับน้อง ๆ สายทำกิจกรรม ชอบเก็บผลงาน หรือมีความสามารถพิเศษ เพราะรอบนี้จะใช้ Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงานเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการคัดเลือก ซึ่งนอกจากการยื่น Portfolio แล้ว
บางโครงการของคณะสายหมอในบางมหาลัยฯ ก็กำหนดเกณฑ์อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คะแนนสอบ BMAT, GPAX ขั้นต่ำ, คะแนนสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ เป็นต้น

ดังนั้นพี่แนะนำให้ลองเช็กกับทางคณะ / มหาลัยฯ ที่อยากเข้า อีกทีโดยอ้างอิงข้อมูลจาก TCAS67 กันไปก่อนก็ได้น้าา ตัวอย่างโครงการคณะสายหมอในรอบนี้ เช่น โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย, โครงการเด็กดีมีที่เรียน, โครงการโอลิมปิกวิชาการ

รอบ 2 Quota

สำหรับการคัดเลือกรอบ 2 Quota จะมีการเปิดรับสมัครในรูปแบบโครงการต่าง ๆ คล้ายกับรอบ 1 Portfolio เลยย โดยบางคณะ / มหาลัยฯ ก็จะกำหนดเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น น้อง ๆ ต้องเรียนอยู่ในโรงเรียนเครือข่ายของมหาลัยฯ หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมหาลัยฯ กำหนด

นอกจากนี้คณะสายหมอในบางแห่งก็เริ่มใช้เกณฑ์คะแนนที่หลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น TPAT1, A-Level รวมถึง
วิชาเฉพาะของมหาลัยฯ นั้น ๆ ด้วยน้าา ตัวอย่างโครงการคณะสายหมอในรอบนี้ เช่น โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท, โครงการโควตาพื้นที่

รอบ 3 Admission

ในส่วนของรอบ 3 Adimission พี่เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อ “กสพท” กันมาก่อนแน่นอน ซึ่งเป็นระบบ
การคัดเลือกเพื่อสอบเข้าคณะสายหมออย่าง คณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, และ
คณะสัตวแพทยศาสตร์โดยเฉพาะ แถมยังเปิดรับสมัครเยอะมากก และใช้แค่เกณฑ์เดียวในการคัดเลือก นั่นคือ
TPAT1 30% + A-Level 70%

นอกจากคณะสายหมอในกลุ่ม กสพท ที่เปิดรับสมัครแล้ว ก็ยังมีคณะสายหมอนอก กสพท ที่เปิดรับสมัครในรอบนี้ด้วย (แต่เปิดรับค่อนข้างน้อยเลย T_T) ซึ่งเกณฑ์คะแนนก็จะขึ้นอยู่กับคณะ / มหาลัยฯ นั้น ๆ กำหนด เช่น
คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.พะเยา, คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ เป็นต้น

รอบ 4 Direct Admission

รอบ 4 Direct Admission เป็นรอบสุดท้ายของระบบ TCAS ที่พี่ต้องขอบอกก่อนว่าไม่ได้มีคณะสายหมอ
เปิดรับทุกมหาลัยฯ T_T และเกณฑ์รวมถึงคุณสมบัติที่น้อง ๆ จะสามารถสมัครได้ก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทางคณะ / มหาลัยฯ เป็นคนกำหนด คล้ายกับการคัดเลือกในรอบ 1 และ 2 เลยย

ซึ่งพี่ก็แนะนำให้ติดตามประกาศจากทางมหาลัยฯ ที่เราอยากเข้าอีกทีน้า หรือเช็กข้อมูลจาก TCAS67 กันก่อนก็ได้
สำหรับตัวอย่างคณะสายหมอที่เปิดรับในรอบ 4 เช่น คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร (อ้างอิงข้อมูลจาก TCAS66)

และนี่ก็คือทั้ง 4 รอบ TCAS68 ที่น้อง ๆ สามารถสมัครเข้าคณะสายหมอที่ตัวเองตั้งเป้าหมายได้น้าา ใครที่สนใจจะยื่นเข้ารอบไหนพี่ก็แนะนำให้เริ่มวางแผนและค่อย ๆ เตรียมตัวกันตั้งแต่ตอนนี้ เพราะยิ่งเริ่มเร็วเท่าไร เราก็จะมีชัยไปมากกว่าครึ่ง พูดมาถึงขนาดนี้แล้วก็อย่ารอช้า ใครอยากรู้วิธีเตรียมตัวสอบแพทย์ ก็ไปดูหัวข้อถัดไปกันเลยดีกว่าา

3. เริ่มวางแผนเตรียมตัวสอบแพทย์ภายใน 1 ปี ยังไงให้สอบติด ?

มีเป้าหมายแล้ว รู้แล้วว่าอยากจะสอบเข้าคณะสายหมอในรอบไหน ขั้นตอนถัดไปที่สำคัญมากกกเพื่อให้น้อง ๆ ไปถึง
เป้าหมายได้สำเร็จ ก็คือ “การวางแผนอ่านหนังสือ” โดยพี่ได้รวบรวมวิธีอ่านหนังสือที่จะช่วยให้การเตรียมตัวสอบเข้าของทุกคนง่ายมากขึ้นมาให้แล้วว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

ลิสต์วิชาที่ต้องสอบ คำนวณเวลาที่เหลือ และตั้งเป้าคะแนน

อย่างที่น้อง ๆ เห็นในหัวข้อที่แล้วเลยว่าเกณฑ์การคัดเลือกทั้ง 4 รอบของระบบ TCAS68 ก็จะมีเรื่องของคะแนนสอบเข้ามาใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินด้วยว่าเราจะสอบติดคณะสายหมอที่อยากเข้าไหม ดังนั้นวิธีแรกที่พี่แนะนำให้น้อง ๆ ทำเลย
ก็คือ การลิสต์ว่าเราจะต้องสอบอะไรบ้าง และ ตอนนี้เราเหลือเวลาอีกเท่าไรก่อนจะถึงวันสอบ

เพราะวิธีนี้จะช่วยให้น้อง ๆ จัดวิชาที่ต้องอ่านได้ง่ายขึ้นว่าควรเก็บวิชาไหนก่อนหรือหลัง รวมถึงยังสามารถเผื่อเวลากรณีมีเรื่องสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ในตอนแรกได้ด้วย

นอกจากนี้การตั้งเป้าคะแนนที่เราอยากได้ก็เป็นอีกวิธีที่พี่ว่ามีประโยชน์มากเลยย ถ้าเรารู้ว่าคะแนนต่ำสุดของคณะที่เราอยากเข้าในปีก่อนเป็นยังไง ก็จะทำให้เห็นเป้าหมายได้ชัดเจน และช่วยให้เราวางแผนอ่านหนังสือได้ตรงจุดมากขึ้นด้วย

หมายเหตุ : ตอนนี้ข้อมูลวันสอบและคะแนนสูง-ต่ำปียังไม่มีการอัปเดตจากทางทปอ. ดังนั้นถ้าใครจะเตรียมตัวก่อนสามารถดู กำหนดการ TCAS67 เป็นแนวทางไปก่อนได้เลยย

หาวิธีอ่านหนังสือที่ตรงกับสไตล์ของตัวเอง

การเตรียมตัวสอบแพทย์มีวิชาที่ต้องอ่านเยอะมากก จนบางคนก็อาจจะยังไม่แน่ใจว่าควรจัดตารางอ่านหนังสือยังไงถึงจะได้ผลที่สุด พี่ก็ขอแนะนำให้น้อง ๆ ลองค้นหาสไตล์การอ่านหนังสือของตัวเองกันดูก่อนว่าเราชอบแบบไหน เช่น อาจจะลองอ่านโดยการจับคู่วิชาที่เน้นจำกับวิชาที่เน้นคำนวณมาอ่านด้วยกัน, เริ่มอ่านจากวิชาที่ถนัดก่อน, หรือการทำสรุปไปพร้อมกับการอ่านหนังสือ เป็นต้น เพราะเมื่อเราเจอวิธีการอ่านหนังสือที่ใช่กับเราแล้ว เราจะทำมันได้นานและได้ผลกับ
ตัวเรามากที่สุดนั่นเองง

ควรฝึกทำโจทย์และจับเวลาจริงควบคู่ไปด้วย

เป็นวิธีที่พี่บอกเลยว่าสำคัญมากกกก เพราะยิ่งเราฝึกทำโจทย์หรือเจอข้อสอบเก่าบ่อย ๆ พร้อมกับจับเวลาในการ
ทำข้อสอบไปด้วย ก็จะยิ่งทำให้น้อง ๆ คุ้นชินกับบรรยากาศการสอบมากเท่านั้น แถมยังได้รู้ว่าข้อสอบจะพลิกแพลง
ยังไงบ้าง ทำให้เมื่อวันสอบจริงมาถึง ก็จะช่วยลดความตื่นเต้นในห้องสอบรวมถึงจุดผิดพลาดของเราด้วย เพราะเราเคยซ้อมกับข้อสอบเก่ามาแล้ว

สำหรับข้อสอบสนาม A-Level ถือว่ายังเป็นสนามใหม่ที่เพิ่งใช้มาได้แค่ 2 รุ่นเท่านั้น ทำให้น้อง ๆ อาจจะกังวลว่ากลัวจะทำข้อสอบเก่าไม่ถูกปี เพราะเนื้อหาข้อสอบมีการเปลี่ยนแปลง วันนี้พี่เลยลิสต์ของวิชา A-Level คณิต 1, A-Level คณิต 2, A-Level ภาษาไทย, A-Level สังคม มาให้แล้วว่าเราต้องเก็บและควรเก็บข้อสอบของปีไหนบ้าง ตามมาดูได้เลยย

ตารางสรุปข้อสอบเก่าวิชา A-Level คณิต, A-Level ภาษาไทย, A-Level สังคมที่ต้องเก็บ

จดข้อผิดพลาดตัวเองแล้วทบทวนบ่อย ๆ

เวลาที่น้อง ๆ ฝึกทำโจทย์ พี่เชื่อว่าคงมีข้อที่เราทำผิดบ้างเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ซึ่งการที่เราจะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเองได้ก็คือการที่เราทำความเข้าใจแล้วก็จดเอาไว้น้าา เพราะเราจะได้รู้ว่าตัวเองยังไม่เข้าใจตรงไหน เมื่อน้อง ๆ ไปเจอโจทย์ที่คล้ายกันอีกครั้ง ก็จะช่วยให้เราทำข้อสอบผิดน้อยลง

ขอเสริมเพิ่มอีกนิดหนึ่งง สำหรับคนที่สงสัยว่าเราควรย้อนกลับมาทำโจทย์หรือข้อสอบเดิมอีกครั้งตอนไหน พี่แนะนำให้ลองเอากลับมาทำอีกครั้งหลังจากผ่านไป 1 เดือนน้าา เพราะจะได้ทดสอบตัวเองด้วยว่ายังพลาดในจุดเดิมไหม หรือยังมีเนื้อหาตรงไหนที่ยังไม่เคลียร์หรือเปล่านั่นเองง

หาตัวช่วยในการอ่านหนังสือ

ใครที่ลองอ่านหนังสือคนเดียวดูแล้ว แต่รู้สึกไม่มีไฟในการเตรียมตัวสอบแพทย์ พี่ว่าการลองหาเพื่อนร่วมทางที่มี
เป้าหมายเดียวกันกับเราอาจเป็นตัวช่วยในการเติมพลังและแรงใจในการอ่านหนังสือของน้อง ๆ ก็ได้น้าา ซึ่งนอกจากที่เราจะมี Passion ในการเตรียมตัวสอบแพทย์มากขึ้น เรายังได้แชร์เทคนิคในการเรียนต่าง ๆ รวมถึงถ้ามีคำถามสงสัย
ตรงไหนก็สามารถแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ได้ด้วย ทำให้การเตรียมตัวสอบสนุกยิ่งขึ้น

และตัวช่วยอีกอย่างหนึ่งสำหรับน้อง ๆ ที่ยังเริ่มต้นอ่านหนังสือไม่ถูก แต่อยากเตรียมตัวสอบแพทย์ตั้งแต่วันนี้ เพราะจะได้พร้อมสอบก่อนใคร พี่ก็มีคอร์สเตรียมสอบแพทย์มาแนะนำน้อง ๆ ด้วยน้า ซึ่งคนไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้สบายมากก เพราะในแต่ละคอร์สพี่ก็จะสอนเนื้อหาตั้งแต่ปูพื้นฐานไปจนถึงพาทำโจทย์แบบไต่ระดับทั้งโจทย์ซ้อมมือและข้อสอบแข่งขัน แถมยังสอนเทคนิคทำข้อสอบให้ทันเวลาด้วย (กระซิบว่าถ้าสมัครเรียนตั้งแต่ตอนนี้ มีอัปเดตข้อสอบให้ฟรีจนถึงปีล่าสุดพร้อมสิทธิพิเศษมากมายเลยน้าา) ถ้าใครสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก ได้เลยย

แบ่งเวลาอ่านหนังสือและพักผ่อนให้ชัดเจน

หลายคนที่เตรียมตัวสอบแพทย์อาจจะกำลังมุ่งมั่นที่จะอ่านหนังสือให้ได้นาน ๆ หรือทำโจทย์ให้ได้เยอะ ๆ จนอาจละเลยการพักผ่อนไป ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่พี่แนะนำว่าทุกคนไม่ควรมองข้ามเลยน้า T_T เพราะถ้าเราพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้สุขภาพของน้อง ๆ แย่ลง หรืออาจทำให้หมดไฟอ่านหนังสือไวกว่าปกติ

ดังนั้นนอกจากการแบ่งเวลาอ่านหนังสือของแต่ละวิชาแล้ว ก็อย่าลืมแบ่งเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่แล้วค่อยไปลุยต่อกันด้วยน้าา

วิธีในการเตรียมตัวสอบแพทย์ที่พี่ลิสต์มาให้ทุกคนในวันนี้ก็เป็นวิธีในเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับไลฟ์สไตล์การอ่านหนังสือ หรือตารางชีวิตของทุกคนได้เลยย และไม่ว่าน้อง ๆ จะอยากเป็นแพทย์แบบไหน หรืออยากสอบเข้ารอบที่เท่าไรในระบบ TCAS68 พี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน ใน 1 ปีนี้ มาลุยกันให้เต็มที่ เพื่อสอบติดคณะสายหมอ
ในฝันกันเลย !!

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุป TPAT1 กสพท 68 ฉบับอัปเดตล่าสุด ตามแถลงการณ์
สรุป กสพท คืออะไร? ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง? กสพท68 มีอะไรเปล่ียนแปลง?
แจกฟรี กำหนดการ กสพท 68 ฉบับอัปเดตล่าสุด
กสพท 68 สอบวันไหน ? สมัครสอบวันไหน ? Dek68 เช็กเลย !
A-Level คืออะไร ? ปี 68 สอบวิชาอะไรบ้าง ?
A-Level คืออะไร? มีกี่ข้อ? วิชาอะไรบ้าง? พร้อมแนวข้อสอบและคลิปติว
Dek68 จะสอบเข้ามหาลัยฯ ต้องเตรียมตัวยังไง ?
Dek68 สอบเข้ามหาลัยฯ ควรเริ่มยังไง? สรุปทุกขั้นตอนควรรู้ของ TCAS68
เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด
เตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยยังไง? สรุปและแจกเทคนิคอ่านหนังสือสอบ TCAS

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share