
วิชาวิทยาศาสตร์ในชั้นม.ปลาย จะถูกแบ่งออกเป็น 3 วิชา คือ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา และแต่ละวิชาก็จะเรียนไม่เหมือนกัน โดยในบทความนี้พี่จะขอพูดถึงเฉพาะวิชาฟิสิกส์ก่อน
ซึ่งเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ที่น้อง ๆ จะได้เรียนในแต่ละชั้นปีก็มีความหลากหลายมาก ซึ่งวันนี้พี่จะมาสรุปให้ทุกคนอ่านกันใน
เบื้องต้นว่า ฟิสิกส์ ม.4 – 6 เรียนเรื่องอะไรบ้าง (อ้างอิงจากหลักสูตร สสวท.) ถ้าพร้อมแล้ว ไปอ่านกันเลยยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleรวมเนื้อหา ฟิสิกส์ ม.ปลาย (ม.4, ม.5, ม.6)

รวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4

รวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1
ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
บทนี้น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้เราสามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ได้อย่างแม่นยำ ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา, พัฒนาการ, ไปจนถึงแนวคิดทางฟิสิกส์ รวมถึงการวัดและการบันทึกผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ เช่น ระบบหน่วย และเรียนเกี่ยวกับการทดลองทางฟิสิกส์ ตั้งแต่ความสำคัญ, การบันทึกผล,
การรายงานผลด้วย
การเคล่ือนที่แนวตรง
สำหรับเนื้อหาเรื่องการเคล่ือนที่แนวตรงนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนตั้งแต่แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการระบุตำแหน่งของวัตถุ ไปจนถึงรู้จักกับความสัมพันธ์และปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคล่ือนที่แนวตรง เช่น การกระจัด, ระยะทาง, อัตราเร็ว, ความเร็ว, ความเร่ง โดยน้อง ๆ จะได้วิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟการเคล่ือนที่ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำความเข้าใจการเปล่ียนแปลงของวัตถุ
แรงและกฎการเคล่ือนที่
ในเนื้อหาบทนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนพื้นฐานของกลศาสตร์และช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจว่าทำไมวัตถุถึงเคล่ือนที่หรือหยุดนิ่ง จากผลของแรงประเภทต่าง ๆ เช่น แรงลัพธ์, แรงเสียดทาน, แรงดึงดูดระหว่างมวล รวมถึงได้คำนวณเพื่อหาผลลัพธ์ของแรงประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้เรียนเรื่องมวล และกฎการเคล่ือนที่ด้วยว่ามีความสัมพันธ์กับแรงต่าง ๆ อย่างไร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเคล่ือนที่อย่างไรได้บ้าง
รวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.4 เทอม 2
สมดุลกล
ความรู้เรื่องแรงและกฎของนิวตัน จะถูกนำมาใช้ต่อในบทเรียนนี้ โดยน้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับสมดุลกล, จุดศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง, สมดุลต่อการเล่ือนที่, สมดุลต่อการหมุนผ่านการทดลอง วิเคราะห์ รวมถึงคำนวณปริมาณต่าง ๆ ทั้งยังได้เรียนเรื่องเสถียรภาพของวัตถุด้วยว่าสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรได้บ้าง
งานและพลังงาน
น้อง ๆ จะได้รู้จักความหมายของงานในเชิงฟิสิกส์, วิเคราะห์ และคำนวณงานที่เกิดจากแรงคงตัวและแรงไม่คงตัว อีกทั้งยังได้เรียนเรื่องกำลัง, พลังงานกล, เครื่องกล และการอนุรักษ์พลังงานกล ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่อธิบายว่าพลังงานไม่สามารถถูกสร้างหรือทำลายได้ แต่สามารถเปล่ียนรูปจากพลังงานชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งได้
โมเมนตัมและการชน
บทนี้น้อง ๆ จะได้รู้จักกับโมเมนตัมซึ่งเป็นปริมาณที่เกี่ยวข้องกับมวลและความเร็วของวัตถุ สำหรับวิเคราะห์การชนกันของวัตถุ, ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเปล่ียนโมเมนตัม นอกจากนี้ยังได้เรียนการอนุรักษ์โมเมนตัม,
การชนและการดีดตัวแยกจากกัน ทั้งในแง่ของนิยาม, การคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้อง และทำการทดลองเลยน้า
การเคล่ือนที่แนวโค้ง
สำหรับบทนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับหลักการเคล่ือนที่ใน 2 มิติ ได้แก่ การเคล่ือนที่แบบโพรเจกไทล์และหลักการเคล่ือนที่แบบวงกลม รวมถึงได้ทดลองและคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคล่ือนที่ดังกล่าวด้วย
รวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.5

รวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.5 เทอม 1
การเคล่ือนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
บทนี้น้อง ๆ จะได้รู้จักกับการเคล่ือนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย หรือการเคล่ือนที่กลับไปมาซ้ำเส้นทางเดิม ได้แก่
การสั่นของมวลติดปลายสปริงและการแกว่งของลูกตุ้ม ว่ามีปริมาณที่เกี่ยวข้องและวิธีการคำนวณอย่างไรบ้าง รวมถึงได้เรียนเรื่องความถี่ธรรมชาติและการสั่นพ้องด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับในการเริ่มต้นเรียนเรื่องคล่ืนในบทเรียนถัดไป
คล่ืน
น้อง ๆ จะได้รู้จักกับธรรมชาติของคล่ืน ตั้งแต่การอธิบายปรากฏการณ์คล่ืนและองค์ประกอบต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้เรียนเรื่องอัตราเร็วของคล่ืน, หลักการที่เกี่ยวกับคล่ืน, และพฤติกรรมของคล่ืนด้วย ได้แก่ การสะท้อน, การหักเห,
การเล้ียวเบน และการแทรกสอด พร้อมมีวิธีการคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้อง
แสงเชิงคล่ืน
สำหรับบทนี้น้อง ๆ จะได้เรียนเจาะเฉพาะลงไปเกี่ยวกับคล่ืนแสง ตั้งแต่แนวคิดพื้นฐาน ไปจนถึงพฤติกรรมของแสงทั้ง
การแทรกสอด และการเล้ียวเบนของแสงผ่านสลิตคู่, สลิตเดี่ยว และเกรตติง ซึ่งน้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับการคำนวณหาความยาวคล่ืนแสงและปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเลย
แสงเชิงรังสี
ในบทนี้น้อง ๆ จะได้เรียนแสงในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ แสงเชิงรังสี ผ่านคุณสมบัติของคล่ืนแสงเกี่ยวกับการสะท้อนและ
การหักเหของแสง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมองเห็นภาพและการเกิดภาพ ผ่านทัศนูปกรณ์ในชีวิตประจำวันของน้อง ๆ ได้แก่ กระจกเงาราบ, เลนส์บาง, กระจกเงาโค้ง รวมถึงเรื่องการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ โดยจะได้เรียนตั้งแต่ความหมาย,
การทดลองการมองเห็นภาพ ไปจนถึงการคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
รวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2
เสียง
สำหรับบทเสียง ม.5 นี้ น้อง ๆ จะได้เรียนลักษณะเฉพาะของคล่ืนเสียงที่เด่นชัด ได้แก่ ธรรมชาติของเสียง, การได้ยินเสียง, ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับเสียง ตั้งแต่ความหมาย, ความสัมพันธ์และการคำนวณเกี่ยวกับปริมาณที่เกี่ยวข้องกับเสียง และการประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องเสียงอีกด้วย
ไฟฟ้าสถิต
น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับสมบัติทางไฟฟ้าของสสาร ได้แก่ ธรรมชาติของไฟฟ้าสถิต, กฎของคูลอมบ์, สนามไฟฟ้า,
ศักย์ไฟฟ้าและความต่างศักย์, ตัวเก็บประจุ ตั้งแต่นิยามของแต่ละเรื่อง ความสัมพันธ์และการคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การนำไฟฟ้าสถิตไปใช้ประโยชน์อีกด้วย
ไฟฟ้ากระแส
ในเนื้อหาเรื่องไฟฟ้ากระแสนี้ น้อง ๆ จะได้เรียน, ทดลองเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าในองค์ประกอบที่ซับซ้อนขึ้นกว่าเนื้อหาในระดับ ม.ต้น ในเรื่องกระแสไฟฟ้า, ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับความต่างศักย์, พลังงานในวงจรไฟฟ้า
กระแสตรง, แบตเตอรี่และวงจรไฟฟ้ากระแสเบื้องต้น, พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีด้านพลังงาน
รวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.6

รวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.6 เทอม 1
แม่เหล็กและไฟฟ้า
สำหรับบทเรื่องแม่เหล็กและไฟฟ้า น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับนิยามและหลักการทำงานของสนามแม่เหล็ก, แรงแม่เหล็ก, โมเมนต์ของแรงคู่ควบกระทำต่อขดลวดที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก, กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำและอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำ, ไฟฟ้ากระแสสลับ รวมถึงได้คำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวด้วย
ความร้อนและแก๊ส
น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับความร้อน, การถ่ายโอนความร้อนจนถึงอุณหภูมิผสม, ลำดับขั้นของการเปล่ียนแปลงสถานะและการเปล่ียนแปลงอุณหภูมิของสารต่าง ๆ ที่ซับซ้อนขึ้นกว่าเนื้อหาในระดับ ม.ต้น รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับแก๊สอุดมคติ,
ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส, กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ ตั้งแต่นิยาม ไปจนถึงการอธิบายและคำนวณความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนกับปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเลย
ของแข็งและของไหล
ในเนื้อหาบทของแข็งและของไหลนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนเรื่องของแข็งและสภาพยืดหยุ่นของของแข็ง, ความตึงผิวและความหนืดของของเหลว, ของไหลสถิต, พลศาสตร์ของของไหล ตั้งแต่ความหมาย, การทดลอง ไปจนถึงการคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยน้า
รวมเนื้อหาฟิสิกส์ ม.6 เทอม 2
คล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า
สำหรับเนื้อหาบทนี้ น้อง ๆ จะได้รู้จักกับคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้าในหลายแง่มุม ทั้งการเกิดคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า, สเปกตรัมของคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า, โพลาไรเซชันของคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า, การประยุกต์ใช้คล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า, การส่ือสารโดยอาศัยคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า โดยจะได้เรียนทั้งความหมายของเรื่องเหล่านี้ หลักการ และการนำไปประยุกต์ใช้เลย
ฟิสิกส์อะตอม
ในเรื่องฟิสิกส์อะตอม น้อง ๆ จะได้รู้จักกับสมมติฐานของพลังค์ และทฤษฎีอะตอมของโบร์ว่าเกี่ยวกับฟิสิกส์อะตอมอย่างไร หรือมีหลักการคำนวณปริมาณตาม ๆ ตามทฤษฎีอย่างไรบ้าง และน้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับปรากฏการณ์
โฟโตอิเล็กทริก รวมถึงเรื่องทวิภาวะของคล่ืนและอนุภาคด้วยว่าคืออะไร
ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค
สำหรับเรื่องสุดท้ายของฟิสิกส์ ม.ปลาย นี้ น้อง ๆ จะได้เรียนความหมาย และคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเสถียรภาพของนิวเคลียส, กัมมันตภาพรังสี, ปฏิกิริยานิวเคลียร์และพลังงานนิวเคลียร์, ฟิสิกส์อนุภาค รวมถึงยังได้เรียนรู้ประโยชน์และการป้องกันอันตรายจากรังสีด้วย
วิชาฟิสิกส์ ม.ปลาย เป็นวิชาที่น้อง ๆ จะได้เรียนทั้งในแง่ของทฤษฎี, การคำนวณ, และการทดลองเลย เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในวิชาสายวิทยาศาสตร์ที่เนื้อหาค่อนข้างหลากหลายและน่าสนใจมาก และเนื้อหาเหล่านี้ยังสามารถใช้เตรียมสอบใน
A-Level ฟิสิกส์ได้ด้วยน้า
ซึ่งถ้าใครต้องสอบสนามนี้ก็สามารถมาดูเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลายในเบื้องต้นก่อนได้ แล้วค่อยวางแผนเก็บเนื้อหาและฝึกทำโจทย์สนาม A-Level ฟิสิกส์ได้เลยยย
ขอขอบคุณ
เนื้อหาจากหนังสือรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฟิสิกส์ เล่ม 1 – 6) ตามผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
X : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro
Lemon8 : @pan_smartmathpro