
คณิตศาสตร์ ม.ต้น จะว่ายากก็ไม่ยาก จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย (เอ๊ะ ยังไง!!) โดยเฉพาะในคณิตศาสตร์ ม.2 ซึ่งเป็นเนื้อหาที่อยู่ตรงกลางระหว่างด่านแรกที่เป็นการปรับพื้นฐานจากคณิตประถมสู่คณิต ม.ต้น อย่างคณิตศาสตร์ ม.1 และด่านสุดท้ายของคณิตศาสตร์ ม.ต้น ก่อนที่จะเลื่อนไปเรียนคณิต ม.ปลาย อย่างคณิตศาสตร์ ม.3 ทำให้เนื้อหาคณิตที่ได้เรียนในปีนี้จะมีทั้งง่ายและยากปน ๆ กันไป
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยู่ในช่วงกำลังจะขึ้น ม.2 หรืออยู่ ม.2 แล้วอยากรู้ว่าเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 ที่จะได้เรียนกันทั้ง เทอม 1 และ เทอม 2 เป็นยังไงบ้างเพื่อที่จะได้แพลนอ่านหนังสือหรือเตรียมตัวถูก พี่ก็เตรียมมาให้แล้วน้า ไปดูกันเลยดีกว่าว่าแต่ละเทอมจะเรียนเรื่องอะไรบ้าง และเนื้อหาประมาณไหน > <
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleคณิตศาสตร์ ม.2 เรียนเรื่องอะไรบ้าง ?
คณิตศาสตร์ ม.2 ที่น้อง ๆ จะได้เรียนกัน มีทั้งหมด 11 บท มีทั้งหมด 2 เล่ม โดยน้อง ๆ จะได้เรียน 1 เล่ม ต่อ 1 เทอม ซึ่งพี่ก็แบ่งมาให้ดูแบบง่าย ๆ แล้วน้า ตามนี้เลยย

เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ประกอบด้วย
- ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง
- ปริซึมและทรงกระบอก
- การแปลงทางเรขาคณิต
- สมบัติของเลขยกกำลัง
- พหุนาม
เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 2 ประกอบด้วย
- สถิติ (2)
- ความเท่ากันทุกประการ
- เส้นขนาน
- การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
- การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
คณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 (เล่ม 1)
สำหรับคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 (เล่ม 1) จะมีจำนวนบทเรียนมากกว่าเทอม 2 หน่อยน้า แค่ 1 บทเท่านั้น !! น้อง ๆ ไม่ต้องกลัวเลยว่าเนื้อหาจะหนักเกินไป เพราะส่วนใหญ่บทเรียนในเทอมนี้จะเป็นการปูพื้นฐานเพื่อใช้ต่อยอด จะมีอะไรบ้างนั้น เลื่อนลงไปดูเล้ยยย
ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
พีทาโกรัส เป็นชื่อของนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก เป็นคนคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก การเรียนทฤษฎีนี้จะช่วยต่อยอดให้น้อง ๆ เอาไปใช้ได้หลากหลายเลย เช่น ความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยม หรือหาพื้นที่ และปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิตบางรูปได้ด้วยน้า
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
- รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ในบทนี้มีเป็นการหาความยาวของด้านต่าง ๆ ของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากจากสูตรที่กำหนดให้ น้อง ๆ จึงควรแยกได้ว่ารูปใดเป็นหรือไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
- เลขยกกำลัง เนื่องจากสูตรที่กำหนดให้ มีการใช้เลขยกกำลังมาช่วยในการหาความยาวของด้าน จึงจะต้องรู้จักการเขียนและการหาเลขยกกำลังโดยเน้นที่เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็น 2
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีเส้นทแยงมุมยาว 15 เซนติเมตร จะมีพื้นที่กี่ตารางเซนติเมตร
ตอบ 112.5 ตารางเซนติเมตร
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง
ในคณิตศาสตร์ ม.1 น้อง ๆ ได้เรียนเรื่องจำนวนเต็ม ทศนิยมและเศษส่วนมาแล้ว เมื่อถึงคณิตศาสตร์ ม.2 ก็จะได้เกี่ยวกับจำนวนจริงและความสัมพันธ์ของจำนวนจริง เช่น จำนวนไหนเป็นจำนวนตรรกยะ, จำนวนอตรรกยะ หรือเขียนทศนิยมซ้ำในรูปเศษส่วน เป็นต้น
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง
- เลขยกกำลัง เป็นพื้นฐานการคำนวณที่ขาดไม่ได้เลย เพราะเราจะต่อยอดการคำนวณและพิจารณาจำนวนใหม่ ๆ ที่ท้าทายขึ้น
- การแปลงเศษส่วนให้เป็นทศนิยมซ้ำ เป็นความรู้พื้นฐานของระบบจำนวนจริงที่ควรรู้ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในการคำนวณยาก ๆ ได้
- ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างจำนวนใหม่ ๆ โดยอาศัยความยาวของด้านจากรูปสามเหลี่ยมมาช่วย
ค่าของ katex is not defined เท่ากับเท่าใด
ตอบ 32
ปริซึมและทรงกระบอก
บทนี้น้อง ๆ จะได้รู้จักกับรูปสามมิติอย่างปริซึมและทรงกระบอกมากขึ้นว่ามีลักษณะหรือองค์ประกอบยังไงบ้าง หาพื้นที่ผิวและปริมาตรยังไง เรื่องนี้อาจจะฟังดูยากไปหน่อย แต่น้อง ๆ ไม่ต้องห่วงน้า เพราะบทนี้ก็ต่อยอดมาจากเรื่องพื้นที่ของรูปเรขาคณิต, พื้นที่ 2 มิติและทฤษฎีบทพีทาโกรัสที่เรียนกันไปก่อนหน้านี้นั่นเองง
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก
- พื้นที่ของรูปเรขาคณิตสองมิติ เช่น รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เพื่อใช้ในการคำนวณหาพื้นที่ของหน้าตัดต่าง ๆ ของรูปทรงที่กำหนดให้
- ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ใช้คำนวณหาความยาวของด้านที่ต้องการหาและใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา
- ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เป็นพื้นฐานการมองภาพสามมิติและต่อยอดการมองลักษณะของปริซึมและทรงกระบอก รวมไปถึงสูตรต่าง ๆ ในบทนี้
มีแก้วน้ำสองใบ แก้วใบที่หนึ่งวัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในได้ 6 เซนติเมตร วัดความสูงภายในแก้วได้ 16 เซนติเมตร ส่วนแก้วใบที่สองวัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในได้ 8 เซนติเมตร วัดความสูงภายในแก้วได้ 9 เซนติเมตร แก้วทั้งสองใบมีความหนา 2 มิลลิเมตรเท่ากัน และก้นแก้วทั้งสองหนา 1 เซนติเมตรเท่ากัน จากสถานการณ์ข้างต้น แก้วทั้งสองใบมีความจุต่างกันหรือไม่
ตอบ แก้วทั้งสองใบมีความจุเท่ากัน
การแปลงทางเรขาคณิต
การแปลงทางเรขาคณิต เป็นเรื่องที่น้อง ๆ จะได้เข้าใจความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตมากขึ้น เพราะเรื่องนี้เรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเรขาคณิตผ่านการเลื่อนขนาน การสะท้อนและ การหมุนของรูปรูปหนึ่ง ถ้าน้อง ๆ เข้าใจและความสามารถอธิบายการแปลงทางเรขาคณิตนี้ได้ ก็จะช่วยต่อยอดในการเรียนได้อีกหลายเรื่องเลย เช่น ความเท่ากันทุกประการ หรือ กราฟของฟังก์ชันต่าง ๆ
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต
- การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต การสร้างรูปร่างทางเรขาคณิตเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญสำหรับการสร้างรูปต้นแบบเพื่อใช้ในการแปลงทางเรขาคณิต
- สมบัติของเส้นขนาน นำความรู้เรื่องสมบัติของเส้นขนานมาช่วยเรื่องการแปลงทางเรขาคณิต
- ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ใช้คำนวณหาความยาวของด้านของรูปต้นแบบหรือรูปที่ถูกแปลงทางเรขาคณิตแล้วและใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาการแปลงทางเรขาคณิต
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต
ก. ภาพที่ได้จากการสะท้อนจะเหมือนกับรูปต้นแบบและเท่ากันทุกประการเสมอ
ข. การสะท้อนรูปต้นแบบ 2 ครั้ง ผ่านเส้นตรงสองเส้นที่ตัดกัน ทำให้ภาพที่ได้มีลักษณะเหมือนกับการหมุน
ค. การสะท้อนรูปต้นแบบ 2 ครั้ง ผ่านเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกัน ทำให้ภาพที่ได้มีลักษณะเหมือนกับการเลื่อนขนาน
ง. ระยะห่างระหว่างจุดบนรูปต้นแบบกับสันสะท้อน จะมากกว่าระยะห่างระหว่างเส้นสะท้อนกับจุดที่ได้จากการสะท้อนจุดนั้น
ตอบ ง. ระยะห่างระหว่างจุดบนรูปต้นแบบกับสันสะท้อน จะมากกว่าระยะห่างระหว่างเส้นสะท้อนกับจุดที่ได้จากการสะท้อนจุดนั้น
สมบัติของเลขยกกำลัง
ตอนเรียนคณิต ม.1 น้อง ๆ ได้เรียนเรื่องเลขยกกำลังไปแล้ว ในคณิตศาสตร์ ม.2 นี้ ทุกคนจะได้รู้จักกับสมบัติของเลขยกกำลัง, การดำเนินการของเลขยกกำลัง, เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มลบและเป็นเศษส่วน พี่ขอบอกว่าน้อง ๆ จะต้องเจอเลขยกกำลังอีกหลายบท ดังนั้นบทนี้จึงเป็นพื้นฐานสำคัญมาก ๆ สำหรับการเรียนคณิตศาสตร์เลยยย
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง
- จำนวนเต็ม เศษส่วน ทศนิยม เป็นพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการต่าง ๆ ทางจำนวนภายในบทนี้
- เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับต่อยอดจากเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวกเป็นจำนวนเต็ม
- สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ เป็นการประยุกต์ใช้สมบัติของเลขยกกำลังเบื้องต้นที่ควรรู้
จงหาผลลัพธ์ของ katex is not defined
ตอบ 82
พหุนาม
เรื่องสุดท้ายของคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 (เล่ม 1) เป็นเรื่องพหุนามที่หลายคนอาจจะรู้จักหรือเคยได้ยินกันมาบ้าง ในบทนี้น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับการบวกและลบเอกนาม, การบวกและการลบพหุนาม, การคูณและการหารพหุนามด้วยเอกนาม เรื่องนี้จะช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจเกี่ยวกับพหุนามมากขึ้น พร้อมต่อยอดในบทต่อ ๆ ไป !!
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง พหุนาม
- สมบัติของเลขยกกำลัง พหุนามจะต้องใช้พื้นฐานด้านการคำนวณเกี่ยวกับสมบัติของเลขยกกำลังในการคูณเอกนามด้วยเอกนาม
- สมบัติของการบวกและการคูณจำนวนจริง เป็นพื้นฐานการคำนวณที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อต่อยอดการคำนวณที่สูงขึ้น ที่มีการใช้ตัวแปรในการดำเนินการต่าง ๆ รวมด้วย
จงเขียนพหุนาม katex is not defined ให้อยู่ในรูปผลสำเร็จ
ตอบ katex is not defined
คณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 2 (เล่ม 2)
หลังจากเห็นบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 กันไปแล้วเป็นยังไงบ้างง ? สำหรับเทอม 2 นี้จะมีจำนวนบทที่น้อยกว่าเทอม 1 น้า โดยน้อง ๆ จะได้เรียนทั้งหมด 5 บทด้วยกัน ใครอยากรู้แล้วว่าแต่ละบทเรียนอะไร พี่ก็สรุปมาให้ครบ !!
สถิติ (2)
ในคณิตศาสตร์ ม.1 น้อง ๆ ได้รู้จักกับแผนภูมิภาพ, แผนภูมิแท่ง, กราฟเส้น, แผนภูมิวงกลม แต่สำหรับเรื่องสถิติในคณิตศาสตร์ ม.2 นี้ ทุกคนจะได้เรียนเกี่ยวกับแผนภูมิอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ แผนภาพจุด, แผนภาพต้น-ใบ, ฮิสโทแกรม นอกจากนี้เรายังจะได้หาและเปรียบเทียบค่ากลางของข้อมูลกันอีกด้วยย
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง สถิติ (2)
- ความหมายของสถิติและกระบวนการทางสถิติ เพื่อทำให้รู้ขั้นตอนเบื้องต้นของการจัดการข้อมูลทางสถิติ
- ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ สามารถแบ่งแยกข้อมูลที่จะนำมาใช้ในบทนี้ได้ว่าเป็นข้อมูลลักษณะใด และสามารถต่อยอดได้ว่าค่ากลางตัวใดเหมาะสมกับข้อมูลแบบใด
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง ใช้เป็นการคำนวณพื้นฐานเบื้องต้น
โรงเรียนแห่งหนึ่งจำแนกคนงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนสวนและกลุ่มแม่บ้าน โดยที่กลุ่มคนสวนและกลุ่มแม่บ้านจะได้รับค่าจ้างรายวันวันละ 380 และ 350 บาท ตามลำดับ ถ้าโรงเรียนจ้างคนสวน 5 คน และแม่บ้าน 10 คน อยากทราบว่าคนงานของโรงเรียนแห่งนี้มีรายได้เฉลี่ยวันละกี่บาท
ตอบ 360 บาท
ความเท่ากันทุกประการ
สำหรับเนื้อหาความเท่ากันทุกประการ น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต, รูปสามเหลี่ยม และรูปสามเหลี่ยม 2 รูปที่มีความสัมพันธ์กันแบบ ด้าน-มุม-ด้าน / มุม-ด้าน-มุม / ด้าน-ด้าน-ด้าน / มุม-มุม-ด้าน / ฉาก-ด้าน-ด้าน แถมยังมีการเขียนพิสูจน์ข้อความด้วย เรียกได้ว่าเป็นบทแรกของวิชาคณิตศาสตร์ ม.ต้น เลยที่มีการพิสูจน์ แตกต่างกับบทที่ผ่าน ๆ มาที่เน้นการทำความเข้าใจและการคำนวณเป็นหลัก
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ
- การสร้างทางเรขาคณิตการสร้างรูปร่างทางเรขาคณิตเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการสร้างรูปต่าง ๆ
- รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติเป็นความรู้เบื้องต้นสำหรับการมองภาพรูปร่างและรูปทรงต่าง ๆ
- ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ใช้คำนวณหาความยาวของด้านและใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา
- มุมที่เกิดจากเส้นตัดตัดเส้นขนาน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และช่วยในการหาขนาดของมุมต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับเส้นขนานและเส้นตัดที่ตัดกับเส้นขนาน
- การแปลงทางเรขาคณิต เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และช่วยในการแก้โจทย์ปัญหา
รูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้ต่อไปนี้ เท่ากันทุกประการหรือไม่ ถ้าเท่ากันทุกประการให้บอกว่าเท่ากันทุกประการด้วยความสัมพันธ์แบบใด
ตอบ เท่ากันทุกประการ เพราะมีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม หรือ มุม-มุม-ด้าน
เส้นขนาน
สำหรับบทเรียนเรื่องเส้นขนาน น้อง ๆ จะได้เรียนเรื่อง เส้นขนานและมุมภายใน, เส้นขนานและมุมแย้ง, เส้นขนานมุมภายนอกกับมุมภายใน, เส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม และเขียนพิสูจน์ทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมโดยจะใช้สมบัติของเส้นขนานมาอธิบายด้วย
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง เส้นขนาน
- มุมตรงข้าม มุมตรง มุมภายใน มุมภายนอก มุมแย้งเป็นความรู้ที่จำเป็นอย่างมากสำหรับบทนี้เพื่อใช้ในการหาขนาดของมุมจากสมบัติต่าง ๆ
- ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม เพื่อนำไปช่วยในการแก้โจทย์ปัญหาที่มีรูปสามเหลี่ยมปรากฎ
- ผลบวกของขนาดของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยม เพื่อนำไปช่วยหาขนาดของมุมจากโจทย์ปัญหาที่กำหนดให้
กำหนดให้ katex is not defined และ katex is not defined โดยมีระยะห่างระหว่าง katex is not defined และ katex is not defined เท่ากับ 20 เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่าง katex is not defined และ katex is not defined เท่ากับ 15 เซนติเมตร จงหาระยะห่างระหว่าง katex is not defined และ katex is not defined
ตอบ 5 เซนติเมตร, 35 เชนติเมตร ตามลำดับ
การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
มีใครลืมเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.1 ไปแล้วบ้างงง รีบหยิบหนังสือมาทบทวนเลยกันดีกว่าน้าา > < เพราะบทการให้เหตุผลทางเรขาคณิตนี้จะเป็นการนำความรู้เรื่องการสร้างทางเรขาคณิตในเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.1 กับการพิสูจน์มาใช้ร่วมกัน
โดยน้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานการให้เหตุผลทางเรขาคณิต, การสร้างและให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง, การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม บทนี้พี่บอกเลยว่าถ้าพื้นฐานแน่น ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกลัว !!
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
- ความรู้พื้นฐานและสมบัติของรูปเรขาคณิตสองมิติ
- การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
- การแปลงทางเรขาคณิต
- ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
- เส้นขนาน
เนื่องจากบทนี้เป็นทักษะทางคณิตด้านการให้เหตุผลทางเรขาคณิต ทำให้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับเรขาคณิตทั้งหมดจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะความรู้ต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะถูกนำมาเป็นเหตุผลประกอบการพิสูจน์ข้อความคาดการณ์หรือสมบัติต่าง ๆ ด้วย
จงพิจารณาว่ารูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้ต่อไปนี้เป็นรูปสามเหลี่ยมชนิดใด (รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก หรือ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า) เพราะเหตุใด (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
แนวคิดในการให้เหตุผล
katex is not defined เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เพราะ มีด้านยาวเท่ากันสองด้าน
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
น้อง ๆ หลายคนอาจเคยคิดว่าการแยกตัวประกอบมีแค่ในจำนวนนับ พอเห็นชื่อบทนี้ก็เลยทำให้งงไปตาม ๆ กัน ที่จริงแล้วพหุนามก็สามารถแยกตัวประกอบได้เหมือนกันน้า ในบทนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การแยกตัวประกอบพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง, การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว, การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ และการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างกำลังสอง ซึ่งบทนี้ถือว่าเป็นอีกบทที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นเลยน้า เพราะจะถูกเอาไปต่อยอดกับเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ปลายนั่นเองง
เนื้อหาที่ควรรู้ก่อนเรียน คณิต ม.2 เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
- ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ เป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อให้เห็นภาพการแยกตัวประกอบที่เป็นจำนวนแล้วต่อยอดมาเป็นตัวแปร
- การบวก การลบ การคูณพหุนาม และการหารพหุนามด้วยเอกนาม เป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นอย่างมากเนื่องจากบทนี้จะเกี่ยวกับการจัดการเอกนามและพหุนามเป็นหลัก
พหุนาม katex is not defined เท่ากับพหุนามในข้อใด
ก. katex is not defined
ข. katex is not defined
ค. katex is not defined
ง. katex is not defined
ตอบ ข. katex is not defined
หลังจากได้เห็นเนื้อหาที่จะได้เรียนในคณิตศาสตร์ ม.2 ทั้งเทอม 1 และเทอม 2 ไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะเห็นว่ามีหลายเรื่องที่ต่อยอดมาจากคณิตศาสตร์ ม.1 และยังต่อยอดไปใช้เรียนคณิตศาสตร์ม.3 ได้อีกด้วย ถ้าใครอยากกลับไปทบทวนเนื้อหาตอนม.1 หรืออยากดูเนื้อหาของคณิตม.3 เพื่อเตรียมไว้ล่วงหน้า ก็สามารถคลิกไปดูบทความเนื้อคณิต ม.ต้นได้น้า ว่าแต่ละชั้นเรียนอะไรบ้าง พี่สรุปมาให้แล้วว >> คณิตศาสตร์ ม.ต้น (ม.1 ม.2 ม.3) เรียนอะไรบ้าง ? อัปเดตล่าสุดจาก สสวท.
ใครที่รู้สึกว่าเนื้อหาคณิตศาสตร์มันยากขึ้นเรื่อย ๆ พี่จะบอกว่าไม่แปลกใจเลยน้าที่เราจะรู้สึกแบบนั้น ซึ่งความยากของบทเรียนจะเพิ่มขึ้นตามระดับชั้นอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่วิชาคณิตศาสตร์ แต่การเรียนคณิตจะไม่ใช่ว่ามาถึงก็เรียนบทยาก ๆ เลย ยังไงก็ตามน้อง ๆ จะได้เริ่มเรียนจากพื้นฐานก่อนแล้วไต่ระดับขึ้นไปบทที่ยากขึ้น
ดังนั้นถ้าใครเรียนแล้วไม่เข้าใจ ปัญหาส่วนหนึ่งอาจมาจากพื้นฐานไม่แน่นพอก็ได้ พี่แนะนำให้น้อง ๆ ดูเนื้อหาที่ต้องรู้ก่อนเรียนแล้วกลับไปทบทวนบทเรียนที่ผ่านมา หรือฝึกทำโจทย์เพิ่มก็อาจจะช่วยให้เข้าใจมากขึ้นน้า
สำหรับน้อง ๆ ม.2 ที่ต้องการเก็บเกรดวิชาคณิตศาสตร์ให้ปัง ๆ แต่เคยลองทบทวนเนื้อหาด้วยตัวเองแล้ว ยังเจอจุดที่ไม่เข้าใจและอยากให้มีคนช่วยไกด์
พี่ขอแนะนำตัวช่วยอย่าง คอร์สคณิต ม.2 สอนโดยพี่ปั้น SmartMathPro ให้เลยย โดยแพ็กนี้จะสอนเนื้อหาทุกบททั้งเทอม 1 และเทอม 2 สอนสนุก เข้าใจง่าย (ใครพื้นฐานไม่ดีก็เรียนได้สบายมากก > <) พร้อมพาตะลุยโจทย์และมีแบบฝึกหัดให้แบบจัดเต็ม ไต่ระดับตั้งแต่แนวซ้อมมือ ข้อสอบในโรงเรียน แนวข้อสอบเข้า ม.4 และข้อสอบแข่งขัน ถ้าใครสนใจดู
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก เลย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
X : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro
Lemon8 : @pan_smartmathpro