สรุปเนื้อหา เลขยกกำลัง

เลขยกกำลังคืออะไร ? สมบัติของเลขยกกำลัง มีอะไรบ้าง ? เราจะหาผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังได้อย่างไร ? น้อง ๆ คนไหนที่กำลังเรียนเรื่องนี้อยู่ หรือเรียนผ่านมาแล้วแต่ยังมีจุดที่ไม่เข้าใจ หายห่วงได้เลยย

เพราะวันนี้พี่เอาสรุปเรื่องเลขยกกำลังมาฝากเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ใครที่ยังไม่เข้าใจหรือมีพื้นฐานเรื่อง
เลขยกกำลังไม่แข็งแรง ก็มาทบทวนไปด้วยกันเลยน้าาา

น้อง ๆ อาจจะเคยใช้ความรู้ในการคำนวณหาค่าของเลขยกกำลัง จากการเรียนเรื่องเลขยกกำลังในระดับชั้น ม.1 หรือเคยเขียนสัญกรณ์วิทยาศาสตร์มาแล้วใช่ไหม ในหัวข้อนี้เราจะมาทบทวนความหมายของเลขยกกำลังกัน โดยในระดับม.ต้น เราจะเริ่มต้นด้วยการเรียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวกหรือ 0 โดยมีบทนิยาม เป็นดังนี้

 บทนิยาม
 เมื่อ a เป็นจำนวนใด ๆ และ n เป็นจำนวนเต็มบวก เลขยกกำลังที่มี a เป็นฐาน และ n เป็นเลขชี้กำลัง
 เมื่อเขียนด้วย a^{n} มีความหมายดังนี้
                                                                               a^{n}=a \times a\times a\times \cdots \times a
                                                                                         (มี a คูณกันอยู่ n ตัว)

 a^{n} อ่านว่า “a ยกกำลัง n” หรือ “a กำลัง  n ” หรือ “กำลัง n ของ a

เช่น

  • 3^{4}=3 \times 3\times 3\times 3=81
    มีฐานคือ 3 และเลขชี้กำลังคือ 4
  • \left(- \frac{1}{2} \right)^{3}=\left(- \frac{1}{2} \right) \times\left(- \frac{1}{2} \right)\times \left(- \frac{1}{2} \right)=-\frac{1}{8}
    มีฐานคือ – \frac{1}{2} และเลขชี้กำลังคือ 3

 บทนิยาม

 เมื่อ a เป็นจำนวนใด ๆ ที่ไม่เท่ากับ 0
                                                                                                  a^{0}=1

เช่น 7^{0}=1 และ \left( -0.4 \right)^{0}=1

หมายเหตุ : เราจะไม่นิยาม 0^0 น้าา

สมบัติเลขยกกำลัง

หลังจากทบทวนความหมายของเลขยกกำลังไปแล้ว เดี๋ยวเราจะมาดูเกี่ยวกับสมบัติของเลขยกกำลังในหัวข้อนี้กันต่อเลยย

 เมื่อ a เป็นจำนวนเต็มใด ๆ ที่ไม่เท่ากับ 0 และ n เป็นจำนวนเต็ม
                                                                                                  a^{-n}=\frac{1}{a^{n}}

ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลลัพธ์ 5^{-4}

วิธีทำ 5^{-4}

=\frac{1}{5^{4}}

=\frac{1}{625}

 เมื่อ a เป็นจำนวนเต็มใด ๆ ที่ไม่เท่ากับ 0
 m และ n เป็นจำนวนเต็ม
                                                                                                  a^{m}\cdot a^{n}=a^{m+n}

ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลคูณ 5^{-10}\times 125 ในรูปเลขยกกำลัง

วิธีทำ 5^{-10}\times 125

=5^{-10}\times 5^{3}

=5^{-10+3}

=5^{-7}

 เมื่อ a เป็นจำนวนเต็มใด ๆ ที่ไม่เท่ากับ 0
 m และ n เป็นจำนวนเต็ม

                                                                                                   \frac{a^{m}}{a^{n}}=a^{m-n}

ตัวอย่างที่ 3 จงหาผลลัพธ์ \frac{625}{25}

วิธีทำ \frac{625}{25}

=\frac{5^{4}}{5^{2}}

=5^{4-2}

=5^{2}

=25

 เมื่อ a เป็นจำนวนเต็มใด ๆ ที่ไม่เท่ากับ 0
 m และ n เป็นจำนวนเต็ม

                                                                                                   \left (a^{m} \right)^{n}=a^{m\cdot n}

ตัวอย่างที่ 4 จงเขียน 125^{2} ในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเท่ากับ 5

วิธีทำ 125^{2}

=\left ( 5^{3} \right )^{2}

=5^{3\cdot (2)}

=5^{6}

 เมื่อ a เป็นจำนวนเต็มใด ๆ ที่ไม่เท่ากับ 0 และ n เป็นจำนวนเต็ม
                                                                                                  \left (ab\right)^{n}=a^{n}\cdot b^{n}

ตัวอย่างที่ 5 จงเขียน 6^{4} ในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเท่ากับ 2 และ 3

วิธีทำ 6^{4}

=\left (2\cdot 3\right)^{4}

=2^{4}\cdot 3^{4}

 เมื่อ a เป็นจำนวนเต็มใด ๆ ที่ไม่เท่ากับ 0 และ n เป็นจำนวนเต็ม
                                                                                                  \left ( \frac{a}{b} \right )^{n}=\frac{a^{n}}{b^{n}}

ตัวอย่างที่ 6 จงเขียนผลลัพธ์ของการกระจายเลขชี้กำลัง \left ( \frac{2}{5} \right )^{3}

วิธีทำ \left ( \frac{2}{5} \right )^{3}

=\frac{2^{3}}{5^{3}}

สรุปสมบัติของเลขยยกกำลังที่ควรรู้

สมบัติของเลขยกกำลัง

การหาผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปเลขยกกำลัง

หัวข้อนี้เราจะใช้สมบัติของเลขยกกำลังในการจัดรูปเลขยกกำลังที่โจทย์กำหนดให้อยู่ในรูปอย่างง่าย

ตัวอย่างที่ 7 จงหาผลลัพธ์ของ \frac{\left( a^{-2}b^{-4}\times a^5b^2 \right)^2}{a^3b^{-1}} เมื่อ a\neq0 และ b\neq0

วิธีทำ \frac{\left( a^{-2}b^{-4}\times a^5b^2 \right)^2}{a^3b^{-1}}

=\frac{\left( a^{-2}b^{-4} \right)^2 \times \left( a^5b^2 \right)^2}{a^3b^{-1}}

=\frac{a^{\left( -2\times2 \right)}b^{\left( -4\times2 \right)}\times a^{\left( 5\times2 \right)}b^{\left( 2\times2 \right)}}{a^3b^{-1}}

=\frac{a^{-4}b^{-8}\times a^{10}b^4}{a^3b^{-1}}

=\frac{a^{\left( -4+10 \right)}b^{\left( -8+4 \right)}}{a^3b^{-1}}

=\frac{a^6b^{-4}}{a^3b^{-1}}

=a^{\left( 6-3 \right)}b^{\left( \left( -4 \right)-\left( -1 \right) \right)}

=a^3b^{-3}

=\frac{a^3}{b^3}

ตัวอย่างที่ 8 ระยะทาง 1 หน่วยดาราศาสตร์ (astronomical unit) มีค่าเท่ากับระยะทางเฉล่ียจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ซึ่งมีค่าประมาณ 150 \times 10^6 กิโลเมตร ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ ซึ่งมีระยะทางเฉล่ียจากดาวยูเรนัสถึงดวงอาทิตย์ประมาณ 2.9 \times10^9 กิโลเมตร จงหาระยะทางเฉล่ียที่ดาวยูเรนัสอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ในหน่วยดาราศาสตร์

วิธีทำ 1 หน่วยดาราศาสตร์ มีค่าประมาณ 150 \times10^6 กิโลเมตร ระยะทางเฉลี่ยจากดาวยูเรนัสถึงดวงอาทิตย์ประมาณ 2.9 \times10^9 กิโลเมตร ดังนั้น ดาวยูเรนัสอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ เท่ากับ \frac{2.9 \times10^9 }{150 \times10^6}=0.0193 \times10^3=19.3 หน่วยดาราศาสตร์โดยประมาณ

การนำเลขยกกำลังไปใช้

สัญกรณ์วิทยาศาสตร์

สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ เป็นการเขียนจำนวนในรูป A \times 10^n เมื่อ 1\le A<10 และ n เป็นจำนวนเต็ม

ตัวอย่างที่ 9 จงหาผลลัพธ์ของ \frac{(0.008)^2\times \left(- \frac{1}{2} \right)^2}{\frac{1}{100}} ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

วิธีทำ \frac{(0.008)^2\times \left(- \frac{1}{2} \right)^2}{\frac{1}{100}}

=\left( 8\times10^{-3} \right)^2\times \frac{1}{4}\times 100

=16\times 10^{-6}\times 0.25\times 100

=16\times 10^{-6}\times25

=400\times 10^{-6}

=4\times10^{-4}

ตัวอย่างเนื้อหา ม.ปลาย ที่นำเลขยกกำลังไปใช้

เนื้อหาเลขยกกำลังในคณิตศาสตร์ ม.ปลาย มีส่วนที่เพิ่มเติมจาก ม.ต้น ตรงที่เราจะศึกษาเกี่ยวกับเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะหรือจำนวนอตรรกยะ โดยสมบัติของเลขยกกำลังก็จะคล้ายกับที่เรียนในระดับชั้น ม.ต้น เลย แต่จะมีบทนิยามที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เพิ่มเติม เช่น

 ให้ a เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 1 ถ้า a มีรากที่ n แล้ว
                                                                                                a^\frac{1}{n}=\sqrt[n]{a}

ตัวอย่างที่ 10 จงเขียนจำนวน \sqrt[3]{25^2} \times\sqrt[6]{25^{11}} ให้อยู่ในรูปอย่างง่าย และเลขยกกำลังทุกจำนวนมีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนจริงบวก

วิธีทำ \sqrt[3]{25^2}\times\sqrt[6]{25^{11}}=25^\frac{2}{3}\times25^\frac{11}{6}=25^{(\frac{2}{3}+\frac{11}{6})}=\left(5^2\right)^\frac{15}{6}=5^5=3,125

ตารางเลขยกกำลังที่ควรรู้

ตารางเลขยกกำลังที่ควรรู้

ดูคลิปติวเลขยกกำลัง

ติดตามคลิปติวฟรีอื่น ๆ จากพี่ปั้น ได้ทาง YouTube Channel : SmartMathPro

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับสรุปเรื่องเลขยกกำลังที่พี่เอามาฝากวันนี้ หวังว่าจะทำให้น้อง ๆ เข้าใจเรื่องเลขยกกำลังมากขึ้นน้า และพี่แนะนำว่าหลังจากทบทวนจบแล้วก็อย่าลืมฝึกทำโจทย์ / แบบฝึกหัดที่มีการใช้เลขยยกกำลังเยอะ ๆ ด้วย จะช่วยให้เห็นภาพรวมเรื่องนี้มากขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้เนื้อหาคณิต ม.ปลาย ได้อีกเยอะเลย

แต่สำหรับใครที่เรียนเนื้อหา ทบทวน และฝึกทำโจทย์ด้วยตัวเองแล้ว แต่ยังมีเนื้อหาบางจุดที่ไม่เข้าใจ อยากได้คนช่วยไกด์พี่ขอแนะนำคอร์สติวคณิตศาสตร์ ม.4 – 6 แบบบุฟเฟต์สำหรับเสริมเกรด จาก SmartMathPro เลยย สมัครครั้งเดียวคุ้ม
มาก เรียนได้จนจบม.6 พร้อมส่วนลดสูงสุด 35%

โดยในคอร์ส พี่ปูพื้นฐานละเอียด เจาะลึกเฉพาะบท อิงตามหลักสูตร สสวท. ใครพื้นฐานไม่ดีก็เรียนได้สบายมากใครสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมก็ คลิก ได้เลยยยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 สรุปเนื้อหาและตัวอย่างโจทย์
ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 สรุปเนื้อหาพร้อมตัวอย่างโจทย์
สรุป ลำดับและอนุกรม ม.6 พร้อมโจทย์และเฉลย
ลำดับและอนุกรม ม.6 คืออะไร สรุปเนื้อหาพร้อมตัวอย่างโจทย์และวิธีทำ
สรุปเนื้อหาคณิต แคลคูลัส ม.6
แคลคูลัส ม.6 สรุปเนื้อหา โจทย์แคลคูลัสพร้อมวิธีทำ และคลิปติวฟรี

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share