น้อง ๆ เคยสังเกตกันไหมว่าภาษาที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีระดับที่แตกต่างกันอยู่ เช่น เวลาที่เราคุยกับเพื่อน เราก็จะใช้ภาษารูปแบบหนึ่งในการพูดคุย ซึ่งจะแตกต่างจากรูปแบบที่เราใช้คุยกับคุณพ่อ คุณแม่ คุณครู หรือผู้ใหญ่คนอื่น ๆ โดย
ความแตกต่างนี้มีชื่อเรียกว่า “ระดับภาษา” นั่นเอง
ระดับภาษาเป็นเนื้อหาที่สำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องที่เราใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน และยังเป็นเนื้อหาที่น้อง ๆ จะได้เจอทั้งในข้อสอบที่โรงเรียนและข้อสอบสำหรับเข้ามหาลัยฯ อย่าง A-Level ภาษาไทยด้วย ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนใช้ระดับภาษาได้
ถูกต้อง พี่จะพาไปเจาะลึกเนื้อหาของระดับภาษาตั้งแต่ความหมาย ความสำคัญ ระดับภาษาทุกระดับ รวมถึงมีข้อสอบจริงพร้อมเทคนิคการทำข้อสอบมาฝากด้วย ถ้าพร้อมแล้ว ไปลุยกันเลยยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleระดับภาษาคืออะไร ? สำคัญยังไง ?
ถ้าให้พี่อธิบายถึงความหมายของระดับภาษา จริง ๆ มันก็คือ การลดหลั่นและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้สื่อสารโดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาลเทศะ ซึ่งบางภาษาอาจไม่ได้มีระดับภาษา แต่สำหรับภาษาไทยของเรามีหลายระดับเลย
โดยระดับภาษาถือเป็นเรื่องพื้นฐานของการสื่อสารในชีวิตประจำวันเลยก็ว่าได้ เพราะในการสื่อสารเราต้องนึกถึง ฐานะของคนที่พูดด้วย และ โอกาสที่ต้องการสื่อสาร เช่น ต้องดูว่าเรากำลังจะพูดกับใคร กำลังพูดในเวลาไหน เมื่อรู้ทั้งสองอย่างนี้แล้ว เราจะสามารถเลือกใช้คำหรือระดับภาษาได้ถูกต้อง
เช่น หากไปถามการบ้านกับคุณครู น้อง ๆ ก็ต้องใช้ภาษาระดับหนึ่ง แต่หากแค่คุยเล่นกับเพื่อน น้อง ๆ ก็จะใช้ภาษา
อีกระดับที่ต่างจากการพูดคุยกับคุณครู
ทั้งนี้ถ้าน้อง ๆ ใช้ระดับภาษาผิด ก็อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง และ อาจทำให้การสื่อสาร
ไม่เป็นผล เช่น หากเราไปขอให้คุณลุงข้างบ้านมาช่วยซ่อมท่อน้ำที่ตันในบ้านของเรา แต่เราดันใช้ภาษาระดับเดียวกันกับตอนคุยกับเพื่อนในการขอความช่วยเหลือ คุณลุงก็อาจจะมองว่าเราไม่มีกาลเทศะและไม่มาช่วยเราก็ได้นั่นเองงง
ระดับภาษามีกี่ระดับ ?
ในหลักสูตรวิชาภาษาไทยที่น้อง ๆ ต้องเรียน จะแบ่งระดับภาษาออกเป็น 5 ระดับตามนี้เลย
1. ภาษาระดับพิธีการ
2. ภาษาระดับทางการ
3. ภาษาระดับกึ่งทางการ
4. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
5. ภาษาระดับกันเอง
โดยระดับภาษาทั้ง 5 ระดับนี้เป็นเนื้อหาที่น้อง ๆ ม.ปลายทุกคนจะได้เรียนตามหลักสูตรของโรงเรียน แต่พี่ขอกระซิบว่าในการสอบ A-Level ภาษาไทย น้อง ๆ จะได้เจอระดับภาษาแค่ 2 ระดับเท่านั้น ซึ่งพี่จะสรุปเนื้อหาระดับภาษาที่ออกสอบ
A-Level ภาษาไทย และออกสอบเนื้อหาม.ปลาย ในหัวข้อถัด ๆ ไปน้า
เนื้อหาระดับภาษาที่ออก A-Level ภาษาไทย
อย่างที่พี่บอกไปว่า เนื้อหาระดับภาษาที่ออกสอบใน A-Level ภาษาไทยจะมีแค่ 2 ระดับเท่านั้น คือ
1. ภาษาระดับทางการ คือ ภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบแผน ชัดเจน และกระชับ มักใช้กับงานเขียนวิชาการต่าง ๆ หรือจดหมายราชการ เป็นต้น
2. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ คือ ภาษาที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบแผนชัดเจน มักใช้คำทั่วไป มีคำฟุ่มเฟือย มักใช้เป็นภาษาพูด และพบในการพาดหัวข่าว หรือจดหมายส่วนตัว
เพื่อให้น้อง ๆ เปรียบเทียบระดับภาษาสองระดับนี้ง่ายขึ้น พี่ก็มีสรุปแบบเป็นตารางมาให้ด้วยยย ลองดูจากภาพ
ด้านล่างนี้ได้เลยน้าา
นอกจากตารางสรุปที่พี่เตรียมมาให้ทุกคนแล้ว พี่ก็มีเทคนิคการทำข้อสอบระดับภาษามาฝากเพิ่มเติมอีกด้วย โดยใน ข้อสอบ A-Level ภาษาไทย มักจะให้แยกว่าข้อไหนเป็นภาษาระดับทางการ ข้อไหนเป็นภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ซึ่งเทคนิคในการแยกแบบง่ายที่สุดเลย คือ การจำแค่ลักษณะของระดับภาษาไปแค่ระดับเดียว ถ้าข้อสอบออกไม่ตรงกับที่เราจำมา ก็ให้ปัดเป็นอีกระดับทั้งหมดเลย
สำหรับระดับภาษาที่พี่แนะนำให้จำไป คือ ลักษณะของระดับภาษาไม่เป็นทางการ เพราะระดับภาษานี้จะจำง่ายกว่า
ภาษาระดับทางการ แถมมีหลักการให้จำชัดเจน ซึ่งพี่ได้รวบรวมลักษณะของภาษาระดับไม่เป็นทางการที่เคยออกข้อสอบในปีก่อน ๆ มาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันน
1. หางเสียง เช่น จ้ะ ครับ ค่ะ เสีย นะ ฮะ
2. คำเวอร์ (พรรณนา) เช่น ต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้านใบสีเขียวขจีทำให้มนุษย์ร่มเย็นเป็นสุข
3. สำนวน เช่น บริษัททุ่มเงินลงทุนมหาศาลให้กับโครงการนี้ แต่ก็คว้าน้ำเหลว ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดการณ์
4.คำทับศัพท์ หรือคำที่เขียนด้วยการถ่ายถอดเสียงจากคำภาษาต่างประเทศโดยสามารถใช้คำไทยแทนได้ เช่น แบงก์
ควรใช้ ธนาคาร ตรวจเช็ก ควรใช้ ตรวจสอบ
5. ภาษาพูดอื่น ๆ เช่น ยังงี้ แบบนี้ เลย เรา ใคร ๆ
และนี่ก็คือ 5 เทคนิคการจำระดับภาษาไม่เป็นทางการ ที่ถ้าน้อง ๆ เจอคำเหล่านี้เมื่อไร นั่นคือ ภาษาไม่เป็นทางการ แน่นอน แต่หากไม่เจอ ข้อความนั้นอาจเป็นภาษาทางการนั่นเอง
ตัวอย่างข้อสอบระดับภาษาใน A-Level ภาษาไทย
ได้รับความรู้กันไปแล้ว มาลองฝึกมือผ่านข้อสอบจริงอย่าง A-Level ปี 66 กัน ข้อนี้พี่บอกเลยว่าง่ายมากกก ให้น้อง ๆ ลองฝึกทำกันก่อนแล้วค่อยเลื่อนไปดูเฉลยข้างล่างน้า
ข้อใดมีระดับภาษาต่างกับข้ออื่น (A-Level’ 66)
1. สธ.ประกาศยกเลิกการใส่แมสก์ในที่สาธารณะ
2. เขาจำเป็นต้องหยุดความสัมพันธ์กับคู่จิ้นไปสักระยะ
3. ละครเรื่องนี้มีพล็อตที่จำเจไม่ค่อยสร้างสรรค์
4. แหล่งข่าวจากคนวงในบอกต่อ ๆ กันมาว่าเซเลบคนนี้กำลังตกอับ
5. รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย
ข้อนี้เฉลยตอบข้อ 5. นั่นเองงง เพราะข้อ 1 – 4 ใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ โดยสังเกตจากการใช้ คำทับศัพท์ ที่ใช้คำไทยแทนได้ดังนี้
ข้อ 1. คำว่า “แมสก์”
ข้อ 2. คำว่า “คู่จิ้น”
ข้อ 3. คำว่า “พล็อต”
ข้อ 4. คำว่า “เซเลบ”
ส่วนข้อ 5. นั้นใช้ภาษาระดับทางการซึ่งจะเห็นว่าข้อนี้ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้องตามแบบแผน ชัดเจน กระชับ ไม่ยืดยาว
เนื้อหาระดับภาษาที่ออกสอบม.ปลาย
อย่างที่พี่บอกไปในตอนแรก เรื่องระดับภาษามีด้วยกันทั้งหมด 5 ระดับ แต่มีแค่ 2 ระดับเท่านั้นที่ออกข้อสอบ A-Level ภาษาไทย แล้วอีก 3 ระดับที่เหลือจะมีลักษณะเป็นยังไง งั้นพี่จะขออธิบายถึง 3 ระดับภาษาที่เหลือเผื่อให้น้อง ๆ นำไปใช้ในห้องเรียนหรือในชีวิตประจำวันกันน้า
1. ภาษาระดับพิธีการ คือ ภาษาที่ใช้ประโยคถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เหมือนกับภาษาทางการเลย แต่จะ
เพิ่มความประณีตงดงาม ประโยคที่ซับซ้อน รวมถึงคำระดับสูงไว้ด้วย มักใช้ภาษาระดับนี้ในงานพิธีการหรือโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น งานราชพิธี การประชุมสภา การกล่าวสดุดี การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร
2. ภาษาระดับกึ่งทางการ คือ ภาษาที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาระดับทางการเช่นกัน แต่จะลดความเป็นทางการลง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีการโต้แย้ง แสดงความคิดเห็นกันได้ มักใช้ภาษาระดับนี้ในการประชุมกลุ่มย่อย การอภิปรายกลุ่ม การรายงานในชั้นเรียน
3. ภาษาระดับกันเอง (ภาษาปาก) คือ ภาษาพูดที่ใช้กับบุคคลที่สนิทคุ้นเคย คนในครอบครัว ใช้ในสถานที่ส่วนตัวหรือในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนาน อาจมีคำสแลง คำด่า คำหยาบคายได้ ภาษาระดับนี้จะนิยมใช้ในการพูดคุยตามชีวิตประจำวัน ที่สำคัญคือ เราจะไม่เจอภาษาระดับนี้ในงานเขียนไหนเลย ยกเว้นงานเขียนนิยายที่มีบทพูด หรือต้องการ
ความสมจริงนั่นเองงง
น้อง ๆ อาจจะเริ่มสังเกตกันแล้วว่า ระดับภาษาทั้ง 3 ระดับนี้มีพื้นฐานมาจากภาษาระดับทางการและภาษาระดับไม่เป็นทางการทั้งนั้นเลยย แต่เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและจำลักษณะของระดับภาษาทั้ง 3 ระดับพี่ก็มีสรุปแบบตาราง
มาให้เหมือนกัน ลองดูภาพด้านล่างนี้ได้เลยยย
ตัวอย่างข้อสอบระดับภาษาในเนื้อหาม.ปลาย
อย่างที่พี่บอกไปว่าเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่เราต้องเจอในเนื้อหาม.ปลาย ดังนั้นพี่เลยลองออกข้อสอบจำลองที่ครอบคลุมระดับภาษาทั้ง 5 ระดับเพื่อให้น้อง ๆ ลองฝึกมือก่อนเจอข้อสอบจริงในห้องเรียน ไปลงมือทำกันดีกว่าา
“เฮ้อ! นอยอะ ทำไมพี่เขาต้องมีแฟนแล้วด้วยวะ”
จากข้อความเป็นภาษาในระดับใด
1. ภาษาระดับพิธีการ
2. ภาษาระดับทางการ
3. ภาษาระดับกึ่งทางการ
4. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
เฉลยข้อนี้ตอบ 5. ภาษาระดับกันเอง เพราะจากข้อความที่กำหนดจะเห็นว่ามีการใช้คำแสลง คำหยาบคายอยู่
ซึ่งจะตรงกับลักษณะของภาษาระดับกันเองที่พี่อธิบายไปก่อนหน้านี้นั่นเอง
ระดับภาษา เป็นเนื้อหาวิชาภาษาไทยที่ไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียนหรือข้อสอบเข้ามหาลัยฯ เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องที่อยู่รอบตัวของทุกคน แถมเรายังใช้ระดับภาษากันในชีวิตประจำวันแบบที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่รู้สึกตัวเลย
และเมื่ออ่านบทความนี้จบ พี่อยากให้น้อง ๆ ลองนำความรู้ที่พี่นำมาฝากไปปรับใช้กับการสื่อสารในชีวิตประจำวันของเรา รวมถึงนำเทคนิคการทำข้อสอบที่พี่สรุปให้ไปลองทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดกันดูน้า พี่เชื่อว่าเราจะใช้ระดับภาษาได้ถูกต้องมากขึ้นแน่นอน (กระซิบว่าพี่มีแจกแบบฝึกหัดและข้อสอบเก่าวิชาภาษาไทยมาแจกด้วยน้าา ลองดูในคลังข้อสอบได้เลย)
สำหรับ Dek68 ที่อยากเตรียมสอบเรื่องระดับภาษา รวมถึงเนื้อหาทุกหัวข้อของ A-Level ภาษาไทยและวิชาอื่น ๆ ไม่ว่า
จะเป็น TGAT / TPAT, TPAT1, A-Level คณิต, A-Level สังคม ตอนนี้พี่ก็มีคอร์สเตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ มาให้น้อง ๆ เลือกอย่างหลากหลายเลยน้าา โดยแต่ละวิชาก็จะสอนเนื้อหาแบบจัดเต็ม เจาะลึก ตั้งแต่ปูพื้นฐานพร้อมพาตะลุยโจทย์แบบไต่ระดับให้ทุกคนได้ค่อย ๆ เก่งขึ้น ดังนั้นใครที่ยังพื้นฐานไม่แน่นก็หายห่วงได้เลย สามารถเรียนตามทันได้สบายมาก
แถมยังมีอัปเดตข้อสอบให้ฟรีจนถึงปีล่าสุดอีกด้วย ใครที่อยากเตรียมตัวให้พร้อมก่อนใคร บอกเลยว่าคุ้มมากก ถ้าสนใจ สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยน้าา
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro