สรุปเนื้อหาเรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย ม.4 เรียนอะไรบ้าง

ดูจากชื่อเรื่องแล้ว มีใครคุ้น ๆ บ้างงง ว่าเราเคยเรียนเรื่องที่เกี่ยวกับเรขาคณิตมาแล้วตอน ม.ต้น และในม.ปลายนี้ น้อง ๆ จะกลับมาเรียนเรื่องเรขาคณิตอีกครั้ง แบบลึกขึ้นในชื่อบท “เรขาคณิตวิเคราะห์ และภาคตัดกรวย ม.4” แน่นอนว่าพอเป็นคณิตม.ปลาย เนื้อหาอาจจะยากขึ้นมาหน่อย แต่ไม่ต้องกลัวว เพราะพี่เตรียมสรุปเนื้อหามาให้แล้ว ใครอยากเข้าใจเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย ม.4 ให้มากขึ้น รีบเลื่อนลงไปดูข้างล่างนี้กันได้เลยน้าา

อย่างที่พี่ได้เล่าไปตอนต้นแล้วว่า น้อง ๆ เคยเรียนการสร้างส่วนของเส้นตรงกันมาแล้ว ซึ่งจะใช้ความรู้ทางเรขาคณิตเป็นส่วนใหญ่ แต่ในหัวข้อนี้น้อง ๆ จะได้นำความรู้เรื่องเรขาคณิตมาต่อยอด โดยจะเชื่อมโยงความรู้ระหว่างพีชคณิตและเรขาคณิตเข้าด้วยกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ

ระยะห่างระหว่างจุดสองจุด

ระยะห่างระหว่างจุดสองจุดของเรขาคณิตวิเคราะห์

เช่น จุด P(3,8) กับจุด Q(6,4) จะได้ว่า

d=\sqrt{(3-6)^{2}+(8-4)^{2}}=\sqrt{9+16}=\sqrt{25}=5

จุดกึ่งกลางของส่วนของเส้นตรง

จุดกึ่งกลางของส่วนของเส้นตรง​ของรูปเรขาคณิตวิเคราะห์

เช่น จุด P(-1,6) กับจุด Q(5,4) จะได้ว่าจุดกึ่งกลางระหว่าง (-1,6) และ (5,4) คือ \left ( \frac{-1+5}{2},\frac{6+4}{2} \right )=\left ( 2,5 \right )

ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด

ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุดของรูปเรขาคณิตวิเคราะห์

เช่น (4, 1) กับเส้นตรง 5x-12y+18=0 จะได้ว่า

d=\frac{\left |4\cdot 5+1(-12)+18 \right |}{\sqrt{5^{2}+(-12)^{2}}}=\frac{\left | 20-12+18 \right |}{\sqrt{169}}=\frac{26}{13}=2

ระยะห่างระหว่างเส้นตรง

ระยะห่างระหว่างเส้นตรงของรูปเรขาคณิตวิเคราะห์

เช่น เส้นตรง 6x-8y+4=0 กับ 6x-8y-16=0 จะได้ว่า
d=\frac{\left |4-(-16) \right |}{\sqrt{6^{2}+(-8)^{2}}}=\frac{\left | 4+16 \right |}{\sqrt{100}}=\frac{20}{10}=2

เส้นตรง

เส้นตรง เราสามารถเขียนให้อยู่ในรูปสมการเส้นตรง คือ y=mx+c หรือรูปทั่วไปของสมการเส้นตรง คือ Ax+By+C=0 เมื่อ A, B, C เป็นค่าคงตัว โดยที่ A และ B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน

ความชันของเส้นตรง (m)

เราสามารถรู้ความชันของเส้นตรง ได้จากสมการ y=mx+c หรือจากสูตรต่อไปนี้

ความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุด (x_{1},y_{1}) และ (x_{2},y_{2}) เมื่อ x_{1}\neq x_{2} คือ m=\frac{y_{2}-y_{1}}{x_{2}-x_{1}}=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}

เส้นตรงขนานและตั้งฉาก

ให้ m_{1} และ m_{2} เป็นความชันของเส้นตรง l_{1} และ l_{2} ตามลำดับ จะได้ว่า
เส้นตรง l_{1} และ l_{2} ขนานกัน เมื่อ m_{1}=m_{2}
เส้นตรง l_{1} และ l_{2} ตั้งฉากกัน เมื่อ m_{1}m_{2}=-1

เช่น สมมติเส้นตรง 2 เส้นที่ต่างกัน เส้นตรงที่มีความชันเป็น 2 จะขนานกับเส้นตรงที่มีความชันเป็น 2 เนื่องจากค่าของความชันเท่ากัน จะได้ว่าเส้นตรงขนานกัน และเส้นตรงที่มีความชันเป็น 2 จะตั้งฉากกับเส้นตรงที่มีความชันเป็น -\frac{1}{2} เพราะ 2\times \left ( -\frac{1}{2} \right ) =-1

ภาคตัดกรวย ม.4

ในหัวข้อนี้ เราจะศึกษาภาคตัดกรวยโดยใช้วิธีทางเรขาคณิตวิเคราะห์มาช่วย โดยนำระนาบมาตัดกรวยกลมตรงในลักษณะที่ต่างกัน ซึ่งจะตัดโดยอิงจากแกนที่อยู่ในแนวตั้งตามรูปด้านล่างและสมการเส้นตรงหรือตัวก่อกำเนิด ดังนั้น ภาคตัดกรวยที่น้อง ๆ กำลังจะเรียนนั่นก็คือรูปในระนาบที่เกิดจากการตัดกันของระนาบกับกรวยนั่นเอง

ภาคตัดกรวย ระนาบที่เกิดจากการตัดกันของระนาบกับกรวย

ถ้าเราตัดโดยใช้ระนาบ (แผ่นสีเหลือง) ตามรูป จะได้ว่า

  • ระนาบตั้งฉากกับแกนของกรวยข้างเดียว จะได้ภาคตัดกรวยที่เรียกว่า วงกลม
  • ระนาบไม่ตั้งฉากกับแกนของกรวย แต่ทำมุมกับแกนของกรวยขนาดใหญ่ค่าหนึ่ง ระนาบจะตัดกรวยข้างเดียว ได้ภาคตัดกรวยที่เรียกว่า วงรี
  • ระนาบขนานตัวก่อกำเนิดของกรวย ระนาบจะตัดกรวยข้างเดียว ได้ภาคตัดกรวยที่เรียกว่า พาราโบลา
  • ระนาบขนานกับแกนของกรวย ระนาบจะตัดกรวยสองข้าง จะได้ภาคตัดกรวยที่เรียกว่า ไฮเพอร์โบลา

วงกลม

วงกลม คือ เซตของจุดทั้งหมดในระนาบที่ห่างจากจุด ๆ หนึ่งที่ตรึงอยู่กับที่เป็นระยะทางคงตัว จุดที่ตรึงอยู่กับที่นี้เรียกว่า จุดศูนย์กลาง (center) ของวงกลม และส่วนของเส้นตรงที่มีจุดศูนย์กลางและจุดบนวงกลมเป็นจุดปลายเรียกว่า รัศมี (radius) ของวงกลม

ระนาบตั้งฉากกับแกนของกรวยข้างเดียว คือภาคตัดกรวยที่เรียกว่า วงกลม

ตัวอย่างที่ 1 จงจัดรูปสมการ x^2+y^2+x+2y+1=0 ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน

วิธีทำ
x^2+y^2+x+2y+1=0
(x^2+x)+(y^2+2y)+1=0
\left (x^2+x+\left (\frac{1}{2} \right )^2 \right )+(y^2+2y+1^2)+1-\left (\frac{1}{2} \right )^2-1^2=0
\left ( x+\frac{1}{2} \right )^2+(y+1)^2=\frac{1}{4}

วงรี

วงรี คือ เซตของจุดทั้งหมดในระนาบซึ่งผลบวกของระยะทางจากจุดใด ๆ ในเซตนั้นไปยังจุดที่ตรึงอยู่กับที่สองจุดมีค่าคงตัว โดยค่าคงตัวนี้ต้องมากกว่าระยะห่างระหว่างจุดที่ตรึงอยู่กับที่ทั้งสองจุด เรียกจุดที่ตรึงอยู่กับที่ทั้งสองจุดนี้ว่า โฟกัส (focus) ของวงรี

ระนาบไม่ตั้งฉากกับแกนของกรวย ระนาบตัดกรวยข้างเดียว ได้ภาคตัดกรวยที่เรียกว่า วงรี

โดยวงรีที่เราจะศึกษาจะมีสองรูปน้า นั่นก็คือวงรีที่มีแกนเอกอยู่ในแนวนอน (วงรีแนวนอน) และวงรีที่มีแกนเอกในแนวตั้ง (วงรีแนวตั้ง) ซึ่งรูปแบบมาตรฐานของสมการของวงรีก็จะมี 2 แบบเช่นกัน

สมการของภาคตัดกรวย วงรี

ตัวอย่างที่ 2 จงจัดรูปสมการ x^2+4y^2-6x+16y+21=0 ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน

วิธีทำ
x^2+4y^2-6x+16y+21=0

(x^2-6x)+4(y^2+4y)=-21

(x^2-6x+9)+4(y^2+4y+4)=-21+9+16

(x-3)^2+4(y+2)^2=4

\frac{(x-3)^2}{4}+\frac{(y+2)^2}{1}=1

\frac{(x-3)^2}{4}+(y+2)^2=1

พาราโบลา

น้อง ๆ อาจเคยรู้จักพาราโบลามาแล้วบ้างจากการเรียนเรื่องกราฟของฟังก์ชันกำลังสองหรือพาราโบลา ในระดับชั้น ม.3 ส่วนบทภาคตัดกรวยนี้ พี่จะพาน้องมารู้จักพาราโบลาเพิ่มเติม จะเป็นยังไงไปอ่านต่อกันเลย

พาราโบลา คือ เซตของจุดทั้งหมดในระนาบซึ่งห่างจากจุดที่ตรึงอยู่กับที่จุดหนึ่งและเส้นตรงที่ตรึงอยู่กับที่เส้นหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน จุดที่ตรึงอยู่กับที่นี้ เรียกว่า โฟกัสของพาราโบลา และเส้นที่ตรึงอยู่กับที่นี้เรียกว่า เส้นบังคับ หรือ ไดเรกตริกซ์ ของพาราโบลา

ระนาบขนานตัวก่อกำเนิดของกรวย ตัดกรวยข้างเดียว คือภาคตัดกรวย พาราโบลา

พาราโบลาสามารถวาดได้ 4 แบบตามรูปแบบมาตรฐานของสมการพาราโบลา ซึ่งก็คือ

  • พาราโบลาหงายขึ้น
    จะมีสมการรูปแบบมาตรฐานคือ (x-h)^{2}=4c(y-k)
  • พาราโบลาคว่ำลง
    จะมีสมการรูปแบบมาตรฐานคือ (x-h)^{2}=-4c(y-k)
  • พาราโบลาเปิดขวา
    จะมีสมการรูปแบบมาตรฐานคือ (y-k)^{2}=4c(x-h)
  • พาราโบลาเปิดซ้าย
    จะมีสมการรูปแบบมาตรฐานคือ (y-k)^{2}=-4c(x-h)
สมการของภาคตัดกรวย พาราโบลา

ตัวอย่างที่ 3 จงจัดรูปสมการพาราโบลา y^{2}-6y+8x+17=0 ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน

วิธีทำ
จัดสมการพาราโบลาที่กำหนดให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานดังนี้
y^{2}-6y+9+8x+8=0
y^{2}-6y+9=-8x-8
(y-3)^{2}=-8(x+1)
(y-3)^{2}=-4(2)(x+1)
จากสมการรูปแบบมาตรฐาน เราจะได้ว่า k=3,h = -1,c = 2
พาราโบลานี้เป็นพาราโบลาเปิดซ้ายมีจุดยอดอยู่ที่ (-1,3) , โฟกัสอยู่ที่ (-3,3) และเส้นไดเรกตริกซ์คือ x = 1 นั่นเอง

ไฮเพอร์โบลา

บทนิยามไฮเพอร์โบลาจะคล้ายกับบทนิยามของวงรี ต่างกันแค่วงรีใช้ผลบวกของระยะทางจากโฟกัสทั้งสองแต่ว่าไฮเพอร์โบลาจะใช้ผลต่างนั่นเอง

ไฮเพอร์โบลา คือ เซตของจุดทั้งหมดในระนาบซึ่งผลต่างของระยะทางจากจุดใด ๆ ไปยังจุดที่ตรึงอยู่กับที่ทั้งสองจุดมีค่าคงตัว (2a) โดยค่าคงตัวนี้ต้องน้อยกว่าระยะห่างระหว่างจุดคงที่ที่ตรึงอยู่กับที่ทั้งสองจุด เรียกจุดที่ตรึงอยู่กับที่ทั้งสองจุดนี้ว่า โฟกัสของไฮเพอร์โบลา

ระนาบขนานกับแกนของกรวย ระนาบตัดกรวยสองข้าง คือ ภาคตัดกรวย ไฮเพอร์โบลา

ไฮเพอร์โบลาสามารถวาดได้ 2 แบบตามรูปแบบมาตรฐานของสมการพาราโบลา ซึ่งก็คือ

  • ไฮเพอร์โบลาแกนตามขวางอยู่ในแนวนอน
    จะมีสมการรูปแบบมาตรฐานคือ \frac{(x-h)^{2}}{a^{2}}-\frac{(y-k)^{2}}{b^{2}}=1
  • ไฮเพอร์โบลาแกนตามขวางอยู่ในแนวตั้ง
    จะมีสมการรูปแบบมาตรฐานคือ \frac{(y-k)^{2}}{a^{2}}-\frac{(x-h)^{2}}{b^{2}}=1
สมการภาคตัดกรวย ไฮเพอร์โบลา

ตัวอย่างที่ 4 จงจัดรูปสมการไฮเพอร์โบลา 16x^{2}-9y^{2}+160x+72y+112=0  ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน

วิธีทำ
จัดสมการพาราโบลาที่กำหนดให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานดังนี้
16x^{2}+160x-9y^{2}+72y+112=0

16(x^{2}+10x)-9(y^{2}-8y)+112=0

16(x^{2}+10x)+16(25)-16(25)-9(y^{2}-8y)-9(16)+9(16)+112=0

16(x^{2}+10x+25)-16(25)-9(y^{2}-8y+16)+9(16)+112=0

16(x+5)^{2}-9(y-4)^{2}-400+144+112=0

16(x+5)^{2}-9(y-4)^{2}=144

\frac{16(x+5)^{2}}{144}-\frac{9(y-4)^{2}}{144}=1

\frac{(x+5)^{2}}{9}-\frac{(y-4)^{2}}{16}=1

\frac{(x+5)^{2}}{3^{2}}-\frac{(y-4)^{2}}{4^{2}}=1

จากสมการรูปแบบมาตรฐาน เราจะได้ว่า h=-5,k=4,a=3,b=4,c=5
ไฮเพอร์โบลานี้เป็นไฮเพอร์โบลาแกนตามขวางอยู่ในแนวนอนที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ (-5,4) , จุดยอดอยู่ที่ (-8, 4) และ (-2,4) ส่วนโฟกัสอยู่ที่ (-10,4) และ (0,4)

ดูคลิปติวฟรี เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย ม.4

ดูคลิปติวฟรีอื่น ๆ ได้ที่ YouTube : SmartMathPro

เป็นยังไงบ้างง สำหรับสรุปเนื้อเรื่อง “เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย” ที่พี่เอามาฝากน้อง ๆ ทุกคนนนน หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ ม.4 หรือคนที่กำลังเตรียมขึ้น ม.4 ได้เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นน้า ส่วนใครที่กังวลว่าตัวเองอาจจะไม่เข้าใจเนื้อหาในบางบทก็อย่าเพิ่งถอดใจน้าา น้อง ๆ ยังสามารถทบทวนในจุดที่ตัวเองไม่เข้าใจได้ อย่ากดดันตัวเองงง

และถ้าใครรู้สึกว่าอยากได้ตัวช่วย เพราะกลัวว่าอ่านเองแล้วอาจจะไม่เข้าใจมากพอ พี่มีคอร์สคณิต ม.ปลายมาแนะนำด้วย เป็นคอร์สที่พี่สอนเอง โดยพี่จะสอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน โดยเนื้อหาอิงตามหลักสูตร สสวท. แถมพี่ยังพาตะลุยโจทย์ตั้งแต่โจทย์ซ้อมมือไปจนถึงข้อสอบแข่งขันเลย นอกจากนี้น้อง ๆ สามารถเลือกแพ็กเองได้ด้วยย  (กระซิบว่ามีโปรโมชันลดสูงสุดถึง 35% เลยน้าา) ใครสนใจ คลิก ไปดูรายละเอียดกันเลยย

นอกจากจะทบทวนบทเรียนแล้ว พี่อยากแนะนำให้ทุกคนลองดาวน์โหลดแบบฝึกหัดจากคลังข้อสอบไปฝึกทำด้วยยยเพราะนอกจากจะช่วยทวนเนื้อหา วัดความเข้าใจของตัวเองแล้ว ยังช่วยให้น้อง ๆ ได้ฝึกคิด ฝึกแก้โจทย์หลากหลายแนว ซึ่งจะมีประโยชน์มาก ๆ เลยตอนที่เราไปสอบ ทั้งที่โรงเรียนและสนามสอบอื่นด้วยยย และสุดท้ายนี้พี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนเลยน้า  ใครไม่เข้าใจตรงไหนก็กลับมาอ่านบทความนี้ได้เลยย > <

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาคณิต เซต ม.4 พร้อมแจกฟรีเช็กลิสต์
เซต (Set) คืออะไร สรุปเนื้อหาเซต ม.4 พร้อมโจทย์และเฉลย
สรุปเนื้อหาจำนวนจริง ม.4 เรียนเรื่องอะไรบ้าง
จำนวนจริง ม.4 สรุปครบม้วนเดียวจบ พร้อมแจกโจทย์จำนวนจริงและวิธีทำ
สรุปเนื้อหาคณิต "ตรรกศาสตร์" ม.4
ตรรกศาสตร์ ม.4 สรุปเนื้อหาครบ พร้อมโจทย์ตรรกศาสตร์และวิธีทำ
สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5
คณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 เทอม 2 เรียนอะไร? สรุปครบทั้งพื้นฐานและเพิ่มเติม
สรุปเนื้อหาคณิต ม.6 เรียนอะไรบ้าง
คณิตศาสตร์ ม.6 เทอม 1 เทอม 2 คณิตพื้นฐานและเพิ่มเติม เรียนอะไรบ้าง?
สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย ม.4 ม.5 ม.6 ต้องเรียนอะไรบ้าง
คณิตศาสตร์ ม.ปลาย (ม.4 ม.5 ม.6) หลักสูตรใหม่ เรียนเรื่องอะไรบ้าง ?

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share