A-Level ภูมิศาสตร์ สรุปเนื้อหา

พี่ขอถามน้อง ๆ Dek68 ก่อนเลยว่าเตรียมตัวสอบ A-Level สังคมกันไปถึงไหนกันแล้วววว ถ้าใครยังไม่ได้เริ่มอ่าน หรือกำลังเตรียมตัวอยู่และอยากรู้ว่าข้อสอบ A-Level สังคม (ภูมิศาสตร์) ออกสอบอะไรบ้าง ? วันนี้พี่มีสรุปโครงสร้างข้อสอบ A-Level พาร์ตภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพาร์ตย่อยของ A-Level สังคม มาฝากด้วยย

โดยพี่จะพาทุกคนไปดูตั้งแต่ความหมายของภูมิศาสตร์, โครงสร้างข้อสอบ A-Level สังคม, ทิศทางข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์ 68, รวมถึงตัวอย่างข้อสอบและคลิปติวท้ายบทความ ใครอยากรู้แล้วก็รีบเล่ือนลงไปดูกันเล้ยยย

ภูมิศาสตร์ เป็นวิชาที่เชื่อมระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์ ซึ่งศึกษาและอธิบายเรื่องของพื้นผิวโลกที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์เรา ทั้งในด้านพื้นที่ และด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

A-Level สังคม (ภูมิศาสตร์) ออกสอบอะไรบ้าง ?

ข้อสอบ A-Level สังคม พาร์ตภูมิศาสตร์จะมีทั้งหมด 10 ข้อ ซึ่งพี่ขอสรุปโครงสร้างของข้อสอบออกเป็น 4 พาร์ตย่อยให้น้อง ๆ ได้เข้าใจกันมากขึ้น ดังนี้เลยย

1. ภูมิศาสตร์เทคนิค

เนื้อหาจะเน้นไปที่เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เช่น แผนที่ ภาพจากดาวเทียม เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึงเรื่องพิกัดทางภูมิศาสตร์ ซึ่งส่วนนี้ข้อสอบมักถามถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงให้คำนวณระยะทางในแผนที่ และคำนวณเวลา เรียกได้ว่านอกจากจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์แล้วยังต้องเป็นนักคณิตศาสตร์จิ๋วกันด้วยย

2. ภูมิศาสตร์กายภาพ

สำหรับพาร์ตนี้พี่ขอสรุปมาให้น้องเข้าใจกันง่าย ๆ โดยแบ่งเรื่องที่ออกสอบเป็น 2 หัวข้อใหญ่ตามนี้เลย

  1. ลักษณะภูมิประเทศ เริ่มกันตั้งแต่เนื้อหาเรื่องลักษณะภูมิประเทศแบบต่าง ๆ การผันแปรของเปลือกโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวโลก ซึ่งส่วนนี้ข้อสอบมักยกชื่อสถานที่ขึ้นมา แล้วถามถึงลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่นั้น ๆ หรือถามถึงปัจจัยที่ทำให้พื้นที่นั้นมีลักษณะภูมิประเทศตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
  2. ลักษณะภูมิอากาศ เนื้อหาส่วนนี้จะเป็นเรื่องของปัจจัยที่ส่งผลต่อภูมิอากาศ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากบรรยากาศภาค เขตภูมิอากาศ ซึ่งข้อสอบส่วนนี้ถ้าเป็นแบบง่าย จะถามความรู้เกี่ยวกับลักษณะภูมิอากาศ แบบตรงไปตรงมา  แต่หากยากขึ้นจะเป็นการวิเคราะห์ โดยมักยกสถานการณ์ขึ้นมา แล้วให้น้อง ๆ เลือกตัดสินใจ ซึ่งบางครั้งน้อง ๆ ต้องเชื่อมโยงเรื่องความรู้ลักษณะภูมิประเทศเข้ามาประกอบด้วยย

3. ภูมิศาสตร์มนุษย์

เนื้อหาในพาร์ตนี้ พอได้ยินชื่อแล้วน้อง ๆ บางคนอาจไม่คุ้นเคยว่าคือเรื่องไหนกัน ทำไมฟังดูยากจัง แต่ไม่ต้องตกใจไปน้า เพราะเนื้อหาในพาร์ตนี้ไม่ซับซ้อนเลย

โดยภูมิศาสตร์มนุษย์เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งแบ่งเป็น 2 หัวข้อใหญ่ ได้แก่

  1. ภูมิศาสตร์ประชากร เป็นเรื่องการกระจายตัวของประชากรในแต่ละภูมิภาคของโลก โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของประชากร  โดยส่วนมากโจทย์มักจะถามถึงเรื่องลักษณะการกระจายตัวของประชากรในแต่ละภูมิภาคของโลก, พีระมิดประชากร, สาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของประชากร รวมทั้งสถานการณ์ของประชากรโลกในปัจจุบันด้วยย
  2. ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ เนื้อหาในส่วนนี้เป็นการวิเคราะห์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีผลต่อลักษณะของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของในแต่ละภูมิภาคของโลก  โดยส่วนมากโจทย์จะถามถึงวิถีชีวิต การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชากรที่สัมพันธ์กับที่ตั้ง

4. ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม

เนื้อหาพาร์ตนี้จะเป็นเรื่องใกล้ตัวน้อง ๆ เพราะเป็นเรื่องของสถานการณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก กฎหมายสิ่งแวดล้อม อนุสัญญา รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ซึ่งส่วนนี้ข้อสอบมักถามถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบ และแนวทางการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีความยั่งยืนในเชิงภูมิศาสตร์ รวมถึงการเตรียมรับมือเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ทิศทางแนวข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์ 68

ถ้าเปรียบเทียบจากข้อสอบในช่วง 2-3 ปีก่อน และจากคำบอกเล่าของรุ่นพี่ Dek67 ที่เพิ่งสอบผ่านมาล่าสุด เนื้อหาและแนวโจทย์ถือว่าเป็นไปในทางเดียวกันเลย คือ แนวโจทย์ยังเน้นไปที่การให้น้อง ๆ มีความรู้ทางภูมิศาสตร์อย่างรอบด้าน ประกอบกับการนำหลักการมาประยุกต์ใช้วิเคราะห์สถานการณ์ที่กำหนดให้ แต่จะมีความยากและความลึกเพิ่มขึ้น
เพราะงั้นน้อง ๆ ต้องอย่าลืมเตรียมตัวพาร์ตนี้ดี ๆ และต้องติดตามข่าวสารและสถานการณ์ปัจจุบันด้านภูมิศาสตร์ไว้ด้วย

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์

หลังจากที่ได้เห็นความหมายและโครงสร้างข้อสอบ รวมไปถึงทิศทางแนวข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์ 68 กันไปแล้ว วันนี้พี่ก็เอาตัวอย่างข้อสอบ A-Level สังคม ภูมิศาสตร์ มาให้ด้วย (แอบกระซิบว่าแนวข้อสอบที่พี่เอามานี้ เป็นของ A-Level ปีล่าสุดเลยย)

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์เทคนิค

แนวข้อสอบ A-Level สังคม ภูมิศาสตร์เทคนิค
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์เทคนิค

ตอบ ตัวเลือกที่ 5

เนื่องจากการคำนวณหาระยะทางบนแผนที่จากมาตราส่วนทำได้ดังนี้

 ภูมิศาสตร์ การคำนวณหาระยะทางบนแผนที่จากมาตราส่วน

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์กายภาพ

แนวข้อสอบ A-Level สังคม ภูมิศาสตร์กายภาพ
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์กายภาพ

ตอบ ตัวเลือกที่ 5

เนื่องจาก ที่ราบดินลมหอบเกิดจากกระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน “แบบพัดพา” ส่วนข้ออื่นเกิดจากเกิดจากกระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน “แบบกัดเซาะ” โดยที่ราบดินลมหอบเกิดจากลมพัดพาเอาตะกอนละเอียด เช่น ทราย ดินปนทราย มาทับถมกันจนเป็นที่ราบกว้างใหญ่

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์มนุษย์

แนวข้อสอบ A-Level สังคม ภูมิศาสตร์มนุษย์
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์มนุษย์

ตอบ ตัวเลือกที่ 4

เนื่องจาก ปัจจัยผลัก คือ สิ่งที่ผลักดันให้บุคคลตัดสินใจย้ายออกจากถิ่นฐานเดิมไปยังที่ใหม่ มักเป็นปัจจัยที่สร้างความไม่พึงพอใจหรือความลำบากในการดำรงชีวิตในพื้นที่เดิม ทำให้ผู้คนมองหาโอกาสที่ดีกว่าในที่อื่น ซึ่งความมั่นคงทางการเมืองและการปกครองถือเป็นปัจจัยดึง เพราะการเมืองที่มั่นคงถือเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ สามารถดึงดูดให้คนไปอาศัยในถิ่นใหม่ได้ และสามารถตอบสนองเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนได้มากกว่า

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม

แนวข้อสอบ A-Level สังคม ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบ A-Level ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ตอบ ตัวเลือกที่ 2

เนื่องจาก ดอกบัวตองจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นประเภทรุกราน ซึ่งมีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการแย่งอาหารสูง จนส่งผลให้พืชถิ่นเดิมมีการกระจายพันธุ์ได้น้อยลง อีกทั้งรากของบัวตองยังสามารถปล่อยสารพิษยับยั้งพืชอื่นจึงทำให้พืชอื่นไม่สามารถเติบโตขึ้นได้และมีผลทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล

ดูคลิปติว A-Level ภูมิศาสตร์

ติดตามคลิปติว A Level อื่น ๆ ได้ทาง YouTube Channel : SmartMathPro

สิ่งที่ข้อสอบ A-Level สังคม พาร์ตภูมิศาสตร์ต้องการวัด คือ เมื่อน้อง ๆ ได้เรียนรู้และเข้าใจลักษณะทางกายภาพของโลก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษยกับสิ่งแวดล้อมแล้ว น้อง ๆ จะสามารถนำความรู้และกระบวนการทางภูมิศาสตร์มาจัดการสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้มั้ย

ดังนั้นพี่แนะนำให้ลองทำความเข้าใจกับเนื้อหาแล้วทบทวนกันบ่อย ๆ และอย่าลืมอัปเดตเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ อยู่เสมอ เผื่อข้อสอบหยิบมาถามน้า

แต่ถ้าใครทบทวนบทเรียนแล้วกลัวว่าอาจจะเตรียมตัวไม่ทัน เพราะ A-Level สังคม หรือ A-Level วิชาอื่น ๆ ก็มีเนื้อหาหลายที่ค่อนข้างเยอะ อยากจะประหยัดเวลาในการเตรียมสอบ
พี่ขอแนะนำคอร์สเรียนพิเศษสนาม A-Level ของ SmartMathPro ที่มีทั้ง A-Level คณิต 1,2 / A-Level ภาษาไทย และ A-Level สังคม เลยน้าา

โดยสำหรับใครที่ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนได้ เพราะพี่สอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน ไปจนถึงพาทำโจทย์ตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงความยากใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย แถมเทคนิคอีกเพียบที่จะช่วยให้น้องทำข้อสอบได้เร็วขึ้น > <

แนะนำว่ายิ่งเริ่มเตรียมตัวสอบเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งพร้อมมากกว่าใครน้า เพราะปีนี้สนามสอบ A-Level เลื่อนมาสอบไวขึ้น น้อง ๆ จะได้มีเวลาทบทวนเนื้อหาและฝึกทำโจทย์เสริมแกร่งได้นั่นเอง ที่สำคัญ ถ้าสมัครคอร์สตั้งแต่ตอนนี้พี่มี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ 1 ชุด แถมฟรีไปให้ลองทำพร้อมสิทธิพิเศษประจำเดือนอีกมากมายด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจคอร์สเตรียมสอบ A-Level สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาสังคม เศรษฐศาสตร์จุลภาค
เศรษฐศาสตร์จุลภาคคืออะไร? สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์พร้อมข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหาสังคม เรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาค
เศรษฐศาสตร์มหภาค สรุปเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์พร้อมข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหาสังคม เรื่องประวัติศาสตร์สากล
ประวัติศาสตร์สากล สรุปเนื้อหาประวัติศาสตร์ พร้อมข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหาสังคม ม.ปลาย ประวัติศาสตร์ไทย
ประวัติศาสตร์ไทย มีอะไรบ้าง? สรุปเนื้อหาพร้อมข้อสอบจริงให้ฝึกทำ
ก่อนสอบ A-Level สังคมต้องรู้อะไรบ้าง
ก่อนสอบ A-Level สังคม ต้องรู้อะไรบ้าง ? สรุปให้ครบในบทความนี้
ข้อสอบ a level สังคม ออกอะไรบ้าง
A-Level สังคม ออกสอบอะไรบ้าง ? พร้อมตัวอย่างแนวข้อสอบและคลิปติว

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share