มนุษยศาสตร์เรียนอะไร เรียนแต่ภาษาหรือเปล่า ? น้อง ๆ คนไหนที่กำลังมีคำถามนี้อยู่ หรือคนที่สนใจคณะมนุษยศาสตร์แต่ยังไม่รู้ว่าคณะนี้เรียนอะไรบ้าง อยากได้ข้อมูลแบบลงลึก บอกเลยว่าทุกคนมาถูกที่แล้ว !!
เพราะวันนี้พี่จะพาทุกคนไปรู้จักกับ “คณะมนุษยศาสตร์” หนึ่งในคณะยอดฮิตของเด็กสายศิลป์ รวมถึงเด็กวิทย์หัวใจศิลป์หลาย ๆ คน เริ่มตั้งแต่เจาะลึกความหมายของมนุษยศาสตร์, ความแตกต่างระหว่างมนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์เปิดรอบไหนและใช้คะแนนอะไรบ้าง ใครอยากรู้จักคณะมนุษยศาสตร์มากกว่านี้
ก็อย่ารอช้า ไปดูกันเลยดีกว่าา
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleคณะมนุษยศาสตร์ คืออะไร ?
ถ้าพูดถึงคำว่า มนุษยศาสตร์ หลายคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่าสายนี้เรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่ เพราะความหมายของศาสตร์นี้ก็ค่อนข้างกว้างและเป็นนามธรรมประมาณหนึ่งเลยย โดยจะแตกต่างกับสายอื่น ๆ เช่น แพทยศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ ที่พอพูดชื่อเราก็จะร้องอ๋อทันทีว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร
ซึ่งถ้าให้พี่สรุปความหมายของมนุษยศาสตร์แบบสั้น ๆ ก็คือ “การเรียนเพื่อเข้าใจความเป็นมนุษย์” ไม่ว่าจะเป็น
การทำความเข้าใจความคิด การกระทำ สังคม และผลงานต่าง ๆ เป็นต้น
ดังนั้นคณะมนุษยศาสตร์จะเรียนเนื้อหาที่กว้างมากก ไม่ว่าจะเป็น ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้คณะมนุษยศาสตร์ในประเทศไทยจึงมีการแบ่งสาขาที่ค่อนข้างหลากหลาย รวมถึงยังมีคณะที่มีเนื้อหาการเรียน
คล้าย ๆ กันแต่เรียกชื่อแตกต่างด้วยย ซึ่งพี่จะพาไปไขข้อสงสัยในหัวข้อถัดไปน้าา
คณะมนุษยศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร ?
สำหรับคณะมนุษยศาสตร์จะเรียนทั้งหมด 4 ปีด้วยกัน โดยเนื้อหาที่น้อง ๆ จะได้เรียนก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาขาที่เราเลือกด้วยย ซึ่งวันนี้พี่จะมาอธิบายให้ทุกคนฟังคร่าว ๆ ว่าตลอด 4 ปีของการเป็นนิสิต / นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ เราจะได้เรียนอะไรกันบ้าง ตามนี้เลยย
คณะมนุษยศาสตร์ ปี 1 : สำหรับปีแรกของการเป็นเฟรชชี่ น้อง ๆ จะได้เรียนพื้นฐานของวิชาเฉพาะในสาขาที่เราได้เลือกเรียนไป เช่น ภาษาอังกฤษพื้นฐาน, จิตวิทยาพื้นฐาน, การเขียนพื้นฐาน นอกจากนี้ก็ยังจะได้เรียนวิชาที่อยู่นอกคณะมนุษยศาสตร์ รวมถึงวิชาพื้นฐานของมหาลัยฯ ด้วยย
คณะมนุษยศาสตร์ ปี 2 : พอขึ้นชั้นปีที่ 2 น้อง ๆ ก็จะเจอวิชาที่อยู่นอกคณะน้อยลง และได้เรียนวิชาที่มีความลึกและเฉพาะทางเกี่ยวกับสาขาที่เราเรียนมากขึ้น โดยจะเริ่มจากวิชาที่เป็นพื้นฐานเพื่อปูความรู้ของเราก่อนน้าา เช่น ถ้าน้อง ๆ เรียนสาขาปรัชญา ก็จะได้เรียนวิชาการอ่านและเขียนงานทางปรัชญา หรือถ้าเลือกเรียนสาขาด้านภาษาต่าง ๆ ก็อาจจะ
ได้เรียนวรรณคดีเบื้องต้น หรือหลักการแปล
นอกจากนี้ในบางมหาลัยฯ เรายังสามารถเลือกวิชาโท หรือก็คือ วิชาที่เราจะเรียนควบคู่กับสาขาที่เราเลือกในตอนแรก (วิชาเอก) ได้ในชั้นปีที่ 2 นี้ เช่น น้อง ๆ เลือกเรียนคณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ พอขึ้นชั้นปีที่ 2 เลือกวิชาโทเป็นสาขาประวัติศาสตร์ ได้นั่นเองง
(ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่แต่ละคณะกำหนดด้วย เพราะคณะมนุษยศาสตร์บางสาขา / มหาลัยฯ ก็กำหนดให้น้อง ๆ เรียนแค่วิชาเอกแค่อย่างเดียวเท่านั้น บางสาขาก็ไม่ได้เปิดเป็นวิชาโท รวมถึงการเลือกวิชาโทอาจจะทำได้ในชั้นปีอื่น ๆ แทนน้าา)
คณะมนุษยศาสตร์ ปี 3 : ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 กันแล้วว สำหรับในปีนี้เนื้อหาของคณะมนุษยศาสตร์ก็จะมีความเข้มข้นและ
น่าสนใจมากขึ้นไปอีก เพราะจะเป็นวิชาเฉพาะที่เกี่ยวกับสาขาที่น้อง ๆ เลือกโดยตรง ซึ่งจะต่อยอดความรู้มาจากเนื้อหาพื้นฐานของตอนปี 1-2 นั่นเองง
คณะมนุษยศาสตร์ ปี 4 : ปีสุดท้ายของการเรียนคณะมนุษยศาสตร์ น้อง ๆ ก็จะได้เรียนวิชาของสาขาตัวเองเพิ่มเติมมาจากปี 3 นอกจากนี้ในบางมหาลัยฯ ก็จะได้เลือกทำวิจัยหรือไปฝึกงานด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่โลกการทำงาน
(แต่พี่แนะนำให้เช็กกับหลักสูตรของมหาลัยฯ ที่สนใจกันอีกทีน้าา เพราะบางมหาลัยฯ ก็ให้เริ่มทำวิจัยและฝึกงาน
ตั้งแต่ปี 3 เลยย)
อยากเรียนคณะมนุษยศาสตร์ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง ?
รอบ 1 Portfolio
สำหรับในรอบที่ 1 Portfolio จะเป็นรอบของการยื่นแฟ้มสะสมผลงานไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมหรือเกียรติบัตรในช่วงตลอด
3 ปีของชั้นม.ปลาย เรียกว่าใครสายทำกิจกรรมหรือมีความสามารถพิเศษก็สามารถยื่นรอบนี้ได้
ซึ่งมีหลายโครงการเลยที่คณะมนุษยศาสตร์เปิดรับสมัคร เช่น โครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ, โครงการ
คัดเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนเป็นเลิศ, โครงการสู่ความเป็นเลิศด้านศิลปการละคร เป็นต้น
โดยเกณฑ์การคัดเลือกก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละมหาลัยฯ กำหนดน้าา เช่น บางที่มีการกำหนดเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ บางโครงการก็กำหนดให้น้อง ๆ ต้องยื่น Portfolio หรือบางที่ก็มีการกำหนดผลสอบวัดระดับภาษาต่าง ๆ เอาไว้
เช่น ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น
ดังนั้นถ้าใครเล็งที่จะสมัครรอบนี้พี่ก็แนะนำว่าให้เตรียมเก็บผลงานเอาไว้ตั้งแต่ตอนนี้เลย ส่วนมหาลัยฯ ไหนที่ต้องใช้เกรดหรือคะแนนสอบวัดระดับภาษา ถ้าเกณฑ์ของปีนี้ยังไม่ประกาศออกมา พี่ก็แนะนำให้อ้างอิงเกณฑ์ของปีที่แล้วไปก่อนน้า
จะได้ตั้งเป้าหมายคะแนนกันถูก และวางแผนอ่านหนังสือได้ตรงจุดมากขึ้น
รอบ 2 Quota
สำหรับรอบ 2 Quota จะเป็นรอบที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่มีเงื่อนไขพิเศษตรงกับที่มหาลัยฯ กำหนด เช่น เป็นคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมหาลัยฯ กำหนด หรือเรียนในโรงเรียนเครือข่ายของมหาลัยฯ โดยตรง เป็นต้น
โดยโครงการที่เปิดรับในรอบนี้ก็จะเริ่มกำหนดเกณฑ์การใช้คะแนนสอบกลางอย่าง TGAT, TPAT, A-Level มากขึ้น
รวมถึงบางมหาลัยฯ ก็กำหนดให้ใช้ผลสอบวัดระดับภาษา และวิชาเฉพาะของมหาลัยฯ นั้น ๆ ด้วย เช่น NETSAT เป็นต้น
ตัวอย่างโครงการในรอบนี้ เช่น โควตาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, โควตาความร่วมมือในการสร้างเครือข่าย
การศึกษา (MOU) เป็นต้นน้าา
รอบ 3 Admission
ในรอบ 3 Admission นี้ก็จะใช้คะแนนส่วนกลางเป็นเกณฑ์ในการยื่นสำหรับทุกคณะ รวมถึงคณะมนุษยศาสตร์ด้วยย ซึ่งเกณฑ์ สัดส่วนคะแนน และวิชาที่ต้องใช้ก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาขาและมหาลัยฯ กำหนด
ซึ่งก็จะมีทั้ง GPAX, TGAT, TPAT, A-Level (วิชาที่ใช้หลัก ๆ คือ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคม ภาษาต่างประเทศ) ทั้งนี้ในบางสาขาก็มีให้ยื่น A-Level คณิต, A-Level วิทย์ประยุกต์ เหมือนกันน้าา ดังนั้นพี่แนะนำให้เช็กดูกับทางเว็บ MyTCAS ให้ดีเลยย (หรือจะลองดูคณะ / มหาลัยฯ ที่พี่ยกมาเป็นตัวอย่างในภาพข้างล่างนี้ก็ได้น้าา)
หมายเหตุ : อัปเดตเกณฑ์คะแนนล่าสุด 5 พ.ย. 67
คณะมนุษยศาสตร์ถือเป็นคณะที่ใช้คะแนนค่อนข้างหลากหลายในการยื่น ทำให้น้อง ๆ Dek68 บางคนอาจกังวลว่าจะแบ่งเวลาอ่านหนังสือไม่ถูก หรือไม่รู้ว่าควรเริ่มเตรียมตัวจากตรงไหนถึงจะถูกจุดที่สุด วันนี้พี่มีตัวช่วยดี ๆ มาแนะนำให้ทุกคนด้วยกับ คอร์สแนะนำเตรียมสอบเข้าคณะกลุ่มมนุษยศาสตร์ จาก SmartMathPro นั่นเองงงง
ซึ่งคอร์สนี้จะมีทั้งวิชา TGAT, A-Level ซึ่งสามารถใช้ยื่นเข้าคณะกลุ่มมนุษยศาสตร์ได้หลายมหาลัยฯ มาก โดยจะสอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน พาตะลุยโจทย์หลายระดับ พร้อมเฉลยละเอียด และแจกเทคนิคการทำข้อสอบแบบจัดเต็มให้ในทุกวิชา เพื่อช่วยให้น้อง ๆ เตรียมสอบได้ถูกจุดมากขึ้น แนะนำให้เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ เพราะน้อง ๆ จะได้มีเวลาทบทวนเนื้อหาและฝึกทำโจทย์มากขึ้น คลิก สมัครเลยตอนนี้ พร้อมรับสิทธิพิเศษดี ๆ อีกเพียบบบ
รอบ 4 Direct Admission
รอบ 4 Direct Admission รอบสุดท้ายของการยื่นคะแนนในระบบ TCAS ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์ที่เปิดรับสมัครในรอบนี้มีไม่มากน้า T_T และทางมหาลัยฯ ก็จะเปิดรับสมัครและคัดเลือกด้วยตัวเองกันด้วย ดังนั้นถ้าน้อง ๆ รู้สึกสนใจ อยากเข้า
คณะมนุษยศาสตร์ของมหาลัยฯ ไหน ก็อย่าลืมติดตามประกาศของมหาลัยฯ นั้น ๆ กันด้วยน้าา
คณะมนุษยศาสตร์ มีมหาลัยฯ ไหนเปิดบ้าง ?
สำหรับมหาลัยฯ ในประเทศไทยที่เปิดสอนคณะมนุษยศาสตร์มีอยู่เยอะมากกก แถมยังมีบางคณะที่ชื่อต่างกันแต่เรียนคล้ายกันอยู่ด้วย ซึ่งพี่ก็ได้รวบรวมมาให้แล้วตามลิสต์ข้างล่างนี้ จะมีที่ไหนบ้าง เราไปเช็กกันเลยดีกว่าาา
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
Q&A รวมคำถามคณะมนุษยศาสตร์ที่ควรรู้
คณะมนุษยศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ ต่างกันยังไง ?
คำถามยอดฮิตที่พี่เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนเคยสงสัยมาก่อน นั่นคือ สรุปแล้ว คณะมนุษยศาสตร์,
คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ แตกต่างกันยังไง ? พี่ขออธิบายแบบสั้น ๆ ตามนี้น้าา
คณะมนุษยศาสตร์ : เน้นการเรียนเพื่อเข้าใจมนุษย์แบบรอบด้าน ตั้งแต่ภาษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : จะคล้ายกับของคณะมนุษยศาสตร์ คือ นอกจากเรียนเนื้อหาเพื่อเข้าใจมนุษย์
แบบรอบด้านแล้ว ยังมีการเรียนวิชาด้านสังคมศาสตร์เพิ่มเข้าไปด้วย เช่น การพัฒนาชุมชน เป็นต้น
คณะอักษรศาสตร์ : เน้นเรียนภาษาตั้งแต่รากของภาษานั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วรรณคดี เพื่อทำความเข้าใจแนวคิดและแก่นของภาษานั้น ๆ
คณะศิลปศาสตร์ : เน้นการนำศาสตร์อื่น ๆ มาผสมกับการเรียนภาษา เช่น คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การบริการ ดนตรี ทำให้การเรียนศิลปศาสตร์มีความหลากหลายขึ้น
ทั้งนี้โดยสรุปก็คือทั้ง 4 คณะนี้จะเรียนเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยอาจมีการนำศาสตร์อื่นเข้ามาใช้ด้วยขึ้นอยู่กับแต่ละสาขาที่เราเลือกเรียนและหลักสูตรของ
มหาลัยฯ รวมถึงการเลือกชื่อของคณะก็จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับมหาลัยฯ เป็นคนตั้งด้วยย
คณะมนุษยศาสตร์เหมาะกับคนแบบไหน ?
อย่างที่พี่บอกไปเลยว่าคณะมนุษยศาสตร์มีหลายสาขามากกก ซึ่งแต่ละสาขาก็จะเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคมทั้งนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นภาษา ประวัติศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ เป็นต้น ดังนั้นคนที่จะเหมาะกับคณะมนุษยศาสตร์ ก็ควรจะเป็นคนที่สนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับมนุษย์และสังคมน้าา รวมถึงควรจะมีความสนใจในสาขาวิชาที่เราเลือกด้วยย
เช่น น้อง ๆ ที่จะเลือกเรียนคณะมนุษยศาสตร์ภาษาอังกฤษ ควรเป็นคนที่สนใจในภาษาอังกฤษตั้งแต่การทำความเข้าใจผู้คนต่างวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์ของภาษานี้, หรือการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เป็นต้น
เรียนคณะมนุษยศาสตร์ เป็นข้าราชการได้ไหม ?
ได้น้าา น้อง ๆ สามารถสอบเข้ารับราชการได้ตามความสนใจเลยย แต่ทั้งขึ้นจะขึ้นอยู่กับเกณฑ์การคัดเลือกของแต่ละหน่วยงานในปีนั้น ๆ ด้วยว่าวุฒิที่เราได้รับหลังเรียนจบเนี่ย สามารถสมัครสอบเข้าราชการได้ทันทีเลยไหม
เช่น น้อง ๆ เรียนจบคณะมนุษยศาสตร์ และได้รับวุฒิศิลปศาสตร์มา อยากสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศก็สามารถสมัครได้เลย เพราะไม่จำกัดวุฒิการศึกษา แต่ถ้าน้อง ๆ อยากสอบเข้าข้าราชการครู กรณีนี้จะไม่สามารถทำได้ เพราะเราต้องมีปริญญาตรีด้านครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ก่อน ซึ่งน้อง ๆ สามารถเรียนต่อปริญญาโทเพิ่มได้น้าา
ก็จัดเต็มกันไปแล้วน้าา กับการทำความรู้จักคณะมนุษยศาสตร์ที่พี่พาทุกคนไปเจาะลึกกันในวันนี้ น้อง ๆ ก็คงจะเห็นแล้วว่าการเรียนในคณะมนุษยศาสตร์เนี่ยน่าสนใจมาก ๆ เลย และขอกระซิบเพิ่มว่านอกจากการเรียนจะน่าสนใจแล้ว สาขาของคณะมนุษยศาสตร์ก็มีหลากหลายด้วยย ซึ่งพี่ก็มีสรุปเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาขาของคณะมนุษยศาสตร์พร้อมอาชีพที่น้อง ๆ สามารถทำได้หลังเรียนจบ ด้วยน้าา ลองเข้าไปอ่านบทความกันได้เลยย
ส่วนใครที่อ่านจบแล้วและวางแผนจะสมัครคณะมนุษยศาสตร์ก็เริ่มเตรียมตัวอ่านหนังสือกันได้ตั้งแต่วันนี้เลยยย มาลุยกันให้เต็มที่ สู้ ๆ นะทุกคน !!
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro