ถ้าพูดถึงเสื้อช็อปและเกียร์ พี่เชื่อว่าคณะที่น้อง ๆ ส่วนใหญ่จะนึกถึงเป็นอันดับแรก นั่นก็คือ “คณะวิศวกรรมศาสตร์” ซึ่งเป็นคณะในฝันที่น้อง ๆ หลายคนอยากสอบติด แต่บางคนก็อาจจะยังไม่แน่ใจว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร มีสาขาอะไรบ้าง อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์
พี่ก็ขอจัดให้ในบทความนี้ซึ่งมีรวบรวมข้อมูลที่น้อง ๆ อาจจะสงสัย ตั้งแต่เนื้อหาการเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในตลอด 4 ปี สาขาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยฯ ที่เปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไปจนถึงสายงานหลังเรียนจบ พูดได้เลยว่าครบ และจัดเต็มมากกก ใครอยากเรียนวิศวะก็อย่ารอช้า ไปอ่านกันเลยยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleคณะวิศวกรรมศาสตร์ เรียนกี่ปี เรียนอะไรบ้าง ?
คณะวิศวกรรมศาสตร์จะเรียนทั้งหมด 4 ปี โดยในแต่ละปีก็จะเรียนแตกต่างกันไปแล้วแต่สาขา ซึ่งวันนี้พี่จะขอพูดถึง
ภาพรวมแบบคร่าว ๆ น้า ว่าถ้าเรียนวิศวะจะต้องเจอเนื้อหาประมาณไหน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปี 1 เหมือนกับคณะอื่น ๆ ทั่วไป ซึ่งการเรียนวิศวะก็จะต้องเริ่มจากปูพื้นฐานก่อน ไม่ว่าจะเป็น
พื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์อย่างแคลคูลัส ที่น้อง ๆ น่าจะเคยได้เรียนกันมาแล้วในคณิต ม.ปลาย แต่ในบางสาขาก็อาจจะได้เรียนเคมีและชีวะเพิ่มเข้าไปด้วย นอกจากนี้ก็จะได้เรียนวิชาพื้นฐานสำหรับวิศวกรด้วยน้า
วิศวกรรมศาสตร์ ปี 2 ในปีนี้จะได้เรียนเนื้อหาที่ต่อยอดมาจากวิชาพื้นฐานตอนปี 1 ซึ่งน้อง ๆ จะได้เรียนวิชาเฉพาะของสาขามากขึ้น และแต่ละสาขาก็จะเรียนไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าเรียนวิศวกรรมไฟฟ้า ก็จะได้เรียนวิชาของสาขาอย่าง วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น หรือ ปฏิบัติการทางวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น
และในปี 1-2 นี้น้อง ๆ จะได้เรียนเขียนแบบและเขียนโปรแกรมด้วยคอมพิวเตอร์ด้วยนะ แต่ว่าจะได้เรียนตอนปี 1 หรือปี 2
ก็ขึ้นอยู่กับมหาลัยฯ กำหนดเลย เพราะแต่ละสถาบันกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนไม่เหมือนกัน
วิศวกรรมศาสตร์ ปี 3 ในปีนี้จะไม่ได้เรียนวิชาพื้นฐานของคณะแล้ว แต่จะได้เรียนวิชาของสาขาโดยตรง ซึ่งจะมีทั้งวิชา
ที่ต่อยอดมาตอนปี 2 และวิชาใหม่ ๆ
วิศวกรรมศาสตร์ ปี 4 มาถึงปีสุดท้ายกันแล้ว ปีนี้นอกจากจะต้องทำโปรเจคจบแล้ว ก็ยังต้องเรียนอยู่ด้วยน้าา
แต่ไม่ได้มากเท่าปีที่ผ่านมา เพราะปีนี้จะต้องนำความรู้ที่มีไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการทำงานให้ได้แล้วนั่นเอง
ในปีสุดท้ายนี้บางมหาลัยฯ จะให้ไปฝึกงานตอนช่วงเทอม 2 ซึ่งน้อง ๆ จะได้เรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อเอาไว้ใช้ในการทำงานจริงหลังเรียนจบ
แต่การฝึกงานในปี 4 ก็ไม่ได้มีทุกคณะและทุกมหาลัยฯ น้า อาจจะมีบางสถาบันที่ให้ฝึกงานตั้งแต่ปี 3 หรือบางมหาลัยฯ อาจกำหนดให้เก็บชั่วโมงฝึกงานตอนปี 3 ไว้ก่อนและมาฝึกงานอีกทีตอนปี 4 แล้วแต่ทางมหาลัยฯ จะกำหนดเลย
วิศวกรรมศาสตร์มีสาขาอะไรบ้าง ?
คณะวิศวะถือเป็นอีกคณะที่มีสาขาให้เลือกเรียนเยอะมากก เรียกได้ว่าแทบจะเหมาทุกศาสตร์ ทุกแขนงเลย แต่พี่จะขอพูดถึงสาขาที่คนส่วนใหญ่น่าจะคุ้นหู และยังเป็นสาขาที่เปิดสอนในหลาย ๆ มหาลัยฯ โดยมีทั้งหมด 10 สาขา และแต่ละสาขาจะมีความน่าสนใจยังไง ไปดูกันเลยย
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมโยธา จะไม่ได้เรียนแค่การสร้างตึกอย่างเดียวน้า แต่จะได้เรียนทั้งการออกแบบและการบริหารการก่อสร้าง
การประเมินราคา การพัฒนาวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างรวมไปถึงเทคโนโลยีในการก่อสร้างต่าง ๆ ด้วย
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด แล้วใช้เทคโนโลยีในการออกแบบ
สร้าง พัฒนา และบำรุงรักษาส่วนประกอบทางซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมไฟฟ้าจะเป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องจักรกล
การประมวลผลสัญญาณ แต่นอกจากระบบไฟฟ้าแล้วยังได้เรียนเกี่ยวกับระบบการสื่อสารต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ หรือวิทยุ
วิศวกรรมยานยนต์
วิศวกรรมยานยนต์จะเรียนเกี่ยวกับยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นกลไกการทำงานของชิ้นส่วนยานยนต์ หรือการออกแบบ
ระบบยานยนต์ ซึ่งต้องเรียนตั้งแต่คำนวณออกแบบ ควบคุมการผลิต วิเคราะห์และทดสอบทุกอย่างที่เกี่ยวกับยานพาหนะ
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมเคมีจะเน้นเรียนไปที่การผลิต, ออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี เช่น ไฟเบอร์
พอลิเมอร์ ปิโตรเคมี เป็นต้น รวมไปถึงการควบคุมและออกแบบโรงงานสารเคมีต่าง ๆ
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมเครื่องกล เป็นสาขาที่จะใช้ความรู้ทางด้านฟิสิกส์มาวิเคราะห์ ออกแบบผลิต และบำรุงรักษาระบบเครื่องกล
เป็นสาขาที่ค่อนข้างกว้างและหลากหลายมาก เพราะคำว่าเครื่องกลนั้นไม่ได้จำกัดแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งก็จะมีทั้งรถยนต์ อากาศยาน หรือเครื่องจักร
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นอีกหนึ่งสาขาที่น่าสนใจและมีความจำเป็นกับโลกในยุคปัจจุบันมากเลยน้า เพราะสาขานี้จะทำให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม หรือควบคุมมลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ น้ำ ดิน ของเสีย
และสารอันตราย เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
วิศวกรรมโลจิสติกส์
วิศวกรรมโลจิสติกส์ จะเรียนตั้งแต่การออกแบบ การวางแผน และวิเคราะห์ทางด้านอุปกรณ์ พลังงาน วัสดุ ของระบบ
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ เป็นสาขาที่จะต้องเอาความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์เข้ากับโลจิสติกส์นั่นเอง
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมอุตสาหการจะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบ การติดตั้ง และการปรับปรุงระบบการทำงานในอุตสาหกรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น คน เครื่องมือ เครื่องจักร วัตถุดิบ ทรัพยากรต่าง ๆ โดยใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและการบริหาร
มาประยุกต์ให้เข้ากับการทำงาน
วิศวกรรมชีวการแพทย์
วิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นสาขาที่เกิดจากการนำความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์มารวมกันเพื่อสร้างเครื่องมือทางการแพทย์ หรือการสร้างอุปกรณ์ตรวจวัดทางชีววิทยา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องใช้คะแนนอะไร สอบอะไรบ้าง ?
เกณฑ์คะแนนที่ใช้ยื่นเข้าคณะวิศวะของแต่ละมหาลัยฯ จะไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่แล้ววิชาที่จะต้องสอบก็จะมี TGAT, TPAT3, A-Level คณิต 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ
อยากสอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ควรได้คะแนนต่ำสุดเท่าไร ?
ได้รู้จักวิชาที่ใช้สอบเข้าคณะวิศวะไปในเบื้องต้นแล้ว น้อง ๆ หลายคนก็อาจจะอยากรู้แล้วว่า ควรทำคะแนนรวมให้ได้เท่าไร ถึงจะสอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ? วันนี้พี่เลยรวบรวมคะแนนขั้นต่ำของคณะวิศวะแบบแยกสาขามาให้น้อง ๆ ดูถึง 7 สาขาด้วยกัน จากมหาลัยฯ ต่าง ๆ ถ้าน้อง ๆ สนใจสาขาไหนก็สามารถเลื่อนดูได้เลยน้าาา
อยากเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ต้องจบสายการเรียนไหน ?
สำหรับสายการเรียนที่สามารถเข้าคณะวิศวะได้ จะขึ้นอยู่แต่ละมหาลัยฯ จะกำหนดเลยน้าา บางสถาบันก็จะรับแค่สายวิทย์คณิตเท่านั้น เพราะต้องใช้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับวิทยศาสตร์และคณิตศาสตร์เยอะพอสมควร แต่บางที่ก็เปิดโอกาสให้เด็กสายศิลป์ยื่นคะแนนได้เพราะยังไงก็จะมีการเรียนปรับพื้นฐานอยู่แล้ว
ดังนั้นถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่ไม่แน่ใจว่าสายการเรียนของตัวเองจะยื่นคะแนนได้ไหม แนะนำให้เช็กเกณฑ์คะแนนและคุณสมบัติกับเว็บไซต์มหาลัยฯ หรือเว็บไซต์ MyTCAS ก่อนน้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีที่ไหนบ้าง ?
วิศวะเป็นคณะที่มีความเก่าแก่ ทำให้มีหลายมหาลัยฯ ที่เปิดสอนคณะนี้ ซึ่งพี่จะขอยกตัวอย่าง
มหาลัยฯ ที่มีคณะวิศวกรรมศาสตร์มาให้ทุกคนดูเป็นตัวอย่างแค่ 13 มหาลัยฯ น้า เพราะคณะนี้มีแทบทุกมหาลัยฯ เลย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
เรียนวิศวกรรมศาสตร์ ทำงานอะไรได้บ้าง ?
คนที่จบวิศวะก็จะสามารถทำงานได้ตามสายงานของสาขาที่จบมา หรือจะทำธุรกิจส่วนตัวเป็นของตัวเองก็ได้นะ
แต่พี่ขอยกตัวอย่างงานที่ตรงสายก่อน เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น ซึ่งสาขาที่จะพูดถึงในวันนี้มี 10 สาขาด้วยกัน
สามารถเลื่อนดูสาขาที่ตัวเองสนใจได้ตามภาพด้านล่างนี้น้าา
คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นอีกหนึ่งคณะที่น่าสนใจมากทั้งเนื้อหาการเรียนแต่ละปี และสายงานที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ แถมยังมีสาขาให้เลือกเรียนตามความสนใจของเราอีกเยอะเลย ถ้าน้อง ๆ Dek68 อ่านบทความนี้จบแล้ว รู้สึกว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์คือคณะที่ใช่สำหรับเรา พี่ก็ขอให้ทุกคนตั้งใจอ่านหนังสือให้เต็มที่ เพราะความพยายามของเราในวันนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสสอบติดในอนาคตได้แน่นอน พี่เป็นกำลังใจให้น้าาา
แต่สำหรับใครที่รู้สึกว่าอ่านเองแล้วฝึกทำโจทย์ แล้วยังไม่เข้าใจ อยากได้คนช่วยไกด์ ปูพื้นฐานใหม่เพื่อให้พื้นฐานแน่นขึ้นและสามารถต่อยอดบทยาก ๆ ต่อไปได้ พี่ก็ขอแนะนำตัวช่วยอย่าง คอร์สเตรียมสอบมหาลัยฯ ของ SmartMathPro เลยย มีให้เลือกมากมายทั้งสนาม TGAT / TPAT หรือ A-Level และสอนโดยติวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละวิชาด้วยไม่ว่าจะเป็น พี่ปั้น, อ.ขลุ่ย, พี่หมออู๋, ครูกอล์ฟ, พี่ลัคกี้, พี่เกม GAT ENG COOL COOL, พี่ฟาร์ม
โดยในแต่ละคอร์สจะสอนปูพื้นฐานแบบละเอียด อิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุด (ใครที่พื้นฐานไม่แน่นก็สามารถเรียนได้) พร้อมพาตะลุยโจทย์แบบไต่ระดับ ตั้งแต่โจทย์ซ้อมมือไปจนถึงข้อสอบเก่าหรือโจทย์ที่ใกล้เคียงกับข้อสอบจริง แถมยังแจกเทคนิคในการทำข้อสอบที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้เร็วขึ้นและช่วยเพิ่มโอกาสในการอัปคะแนนให้อีกด้วย สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สมัครตอนนี้ รับฟรี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ และสิทธิพิเศษต่าง ๆ ประจำเดือน ถ้าใครสนใจ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดแต่ละคอร์สได้เลย
พี่แนะนำว่าให้เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้เลยน้า เพราะแต่ละวิชาก็มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ ดังนั้นยิ่งเราเริ่มเร็วเท่าไร น้อง ๆ ก็จะยิ่งมีเวลาฝึกทำโจทย์ซ้ำบ่อย ๆ จนคล่อง เหลือเวลาให้ทบทวนและปิดจุดอ่อนของตัวเองก่อนวันสอบจริงด้วย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
X : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro
Lemon8 : @pan_smartmathpro