สรุปเนื้อหาคณิตม.3 เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง

มีน้อง ๆ คนไหนกำลังเรียนอยู่ชั้น ม.3 หรืออยู่ในช่วงกำลังจะขึ้น ม.3 แล้วอยากได้สรุปเนื้อหาคณิตมาทบทวนกันบ้างงง ?  วันนี้ห้ามพลาดเลยน้า เพราะวันนี้พี่มีเนื้อหาคณิต ม.3 เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง
มาฝากทุกคน !! 

นอกจากนี้ที่ท้ายบทความยังมีคลิปติวที่สอนโดยพี่ปั้น แถมยังแจกแบบฝึกหัดพร้อมเฉลยให้น้อง ๆ เอาไปฝึกทำกันด้วย ใครอยากเข้าใจเนื้อหาเรื่องนี้มากขึ้น ก็รีบเลื่อนลงไปดูกันเล้ยยย

สรุปภาพรวมการแยกตัวประกอบพหุนาม ม.3

ในระดับชั้น ม.2 น้อง ๆ เคยเรียนเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองมาแล้ว จากชื่อของบทนี้จะเห็นว่าพหุนามที่เราจะแยกตัวประกอบมีดีกรีสูงขึ้นกว่าที่เคยเรียนมา ดังนั้นเรามาทบทวนความหมายกันก่อนน้าา

พหุนาม

คือ นิพจน์ที่อยู่ในรูปการบวกกันของเอกนามตั้งแต่สองเอกนามขึ้นไปได้ เช่น

  • x^{3} + 8
  • x^{2}  –  2x – 1

ดีกรีของพหุนาม

คือ ดีกรีสูงสุดของพจน์ของพหุนามในรูปผลสำเร็จ เช่น

  • 2x  –  1 เป็นพหุนามที่มีดีกรีเท่ากับ 1
  • 4x^{3}  –  x^{2} + 1 เป็นพหุนามที่มีดีกรีเท่ากับ 3

การแยกตัวประกอบพหุนาม

คือ การเขียนพหุนามที่กำหนดให้อยู่ในรูปของการคูณกันของพหุนามตั้งแต่สองพหุนามขึ้นไป  เช่น

  • 10x^{3} + 5x แยกตัวประกอบได้เป็น (5x)(2x² + 1)
  • x^{4}  –  3^{2}+x แยกตัวประกอบได้เป็น (x)(x^{3} + 3x + 1)

จากตัวอย่างอย่างข้างต้นจะเห็นว่าเราสามารถแยกตัวประกอบของ 5x^{3} + x ซึ่งเป็นพหุนามดีกรีสาม
และ x^{4} + 3x^{2} + x   ซึ่งเป็นพหุนามดีกรีสี่ได้ด้วยวิธีการดึงตัวร่วม

คำถามคือ ถ้าเป็นพหุนามดีกรีสาม หรือตั้งแต่สามขึ้นไป (ตามชื่อบท นั่นคือเราจะมาแยกตัวประกอบพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสองกัน) ที่ไม่สามารถแยกตัวประกอบด้วยวิธีดึงตัวร่วมได้อย่างเช่นตัวอย่างด้านล่างนี้

  • x^{3} + 8
  • x^{3} + 6x^{2} +12x + 8
  • x^{4} + 2x^{2}  –  3
  • x^{3}y^{6}  –  8

จะแยกตัวประกอบอย่างไรดี ? ในบทเรียนนี้จะมีคำตอบให้น้อง ๆ เลย เราสามารถใช้สูตรต่าง ๆ หรือใช้ความรู้เดิมนั่นคือการแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง (แยกสองวงเล็บ) มาใช้ต่อยอดได้นะ

การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสาม

หัวข้อนี้จะกล่าวถึงการแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสาม ที่แต่ละพจน์มีสัมประสิทธิ์และค่าคงตัวเป็นจำนวนเต็ม ซึ่งพหุนามจะอยู่ในรูปของผลบวกและผลต่างของกำลังสาม รวมถึงกำลังสามสมบูรณ์ ซึ่งจะมีวิธีการแยกตัวประกอบโดยใช้สูตรดังนี้

ผลบวกและผลต่างของกำลังสาม

การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสาม

พหุนามต่อไปนี้ ถ้าน้องสังเกตเห็นว่าเป็นพหุนามที่น่าจะเขียนให้อยู่ในรูปผลบวกของกำลังสาม A^{3} + B^{3} หรือผลต่างของกำลังสาม A^{3}  –  B^{3} ได้ ให้ลองจัดรูปดู 

ถ้ามีตัวไหนที่ไม่ได้อยู่ในรูปของกำลังสามของจำนวนนั้นหรือตัวแปรนั้นให้เขียนให้เรียบร้อย เช่น 8 คือกำลังสามของ 2 และ 27y^{3} คือกำลังสามของ 3y ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1 จงแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสามต่อไปนี้

1) x^{3} + 8

วิธีทำ จาก x^{3} + 8 แยกตัวประกอบได้ดังนี้

                x^{3} + 8 = x^{3} + x^{2}

                                = (x + 2) (x^{2}  –  (x)(2)+2^{2}) 

                                = (x + 2) (x^{2}  –  2x + 4)

ดังนั้น x^{3} + 8 แยกตัวประกอบได้เป็น (x + 2) (x^{2}  –  2x + 4)

2) 27y^{3}  –  125

วิธีทำ จาก 27y^{3}  –  125 แยกตัวประกอบได้ดังนี้

                27y^{3}  –  125 = (3y^{3})  –  5^{3}

                                      = (3y  –  5) \left [(3y)^{2} + (3y)(5) + 5^{2} \right ]

                                      = (3y  –  5) (9y^{2} + 15y + 25)

ดังนั้น 27y^{3}  –  125 แยกตัวประกอบได้เป็น = (3y  –  5) (9y^{2} + 15y + 25)

กำลังสามสมบูรณ์

กำลังสามสมบูรณ์ แยกตัวประกอบของพหุนาม

พหุนามต่อไปนี้ ถ้าน้องสังเกตเห็นว่าเป็นพหุนามที่น่าจะเขียนให้อยู่ในรูป A^{3} + 3A^{2}B + 3AB^{2} + B^{3} หรือ A^{3} – 3A^{2}B + 3AB^{2}  –  B^{3} ได้ นั่นคือลองเขียนพจน์แรกและท้ายสุดให้อยู่ในรูปของกำลังสาม เพื่อหาว่าจากโจทย์ A และ B มีค่าเท่าใด จากนั้นตรวจสอบพจน์ตรงกลางสองพจน์ โดยใช้ A และ B ที่ได้มาพิจารณาว่าสามารถเขียนให้อยู่ในรูป 3A^{2}B และ 3AB^{2} ได้หรือไม่ ถ้าได้ พหุนามที่โจทย์กำหนดคือพหุนามที่อยู่ในรูปกำลังสามสมบูรณ์

ตัวอย่างที่ 2 จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่อไปนี้

1) x^{3} + 6x^{2} + 12x + 8

วิธีทำ จาก x^{3} + 6x^{2} + 12x + 8 แยกตัวประกอบได้ดังนี้

            จะได้  x^{3} + 6x^{2} + 12x + 8 = x^{3} + 3 (x^{2})(2) + 3(x)(2^{2}) + 2^{3}

            จากสูตร A^{3} + 3A^{2}B + 3AB^{2} + B^{3} = (A+B)^{3}

             จะได้ A = x  และ B = 2

             ดังนั้น   x^{3} + 6x^{2} + 12x + 8 = (x + 2)^{3}

            นั่นคือ x^{3} + 6x^{2} + 12x + 8 แยกตัวประกอบได้เป็น (x + 2)^{3}

2) x^{3} + 9x^{2} + 27x  –  27

วิธีทำ จาก x^{3} + 9x^{2} + 27x  –  27 แยกตัวประกอบได้ดังนี้

      จะได้ x^{3} + 9x^{2} + 27x  –  27 = x^{3} – 3(x^{2})(3) + 3(x) (3^{2})  –  3^{3}

      จากสูตร A^{3} + 3A^{2}B + 3AB^{2} + B^{3} = (A   –   B)^{3}

      จะได้ A = x  และ B = 2

      ดังนั้น   x^{3} + 9x^{2} + 27x   –   27 = (x  –  3)^{3}

             นั่นคือ x^{3} + 9x^{2} + 27x  –  27 แยกตัวประกอบได้เป็น (x  –  3)^{3}

การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสูงกว่าสาม

การแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสาม อาจทำได้โดยจัดพหุนามให้อยู่ในรูปผลต่างของกำลังสอง กำลังสองสมบูรณ์ ผลบวกกำลังสาม ผลต่างกำลังสาม หรือใช้แนวคิดของการแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง

จัดให้อยู่ในรูปผลต่างของกำลังสอง

การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสูงกว่าสาม จัดให้อยู่ในรูปผลต่างกำลังสอง

ตัวอย่างที่ 3 จงแยกตัวประกอบของพหุนาม x^{4}-16

วิธีทำ จากรูปแบบของผลต่างกำลังสอง A^{2}  –  B^{2} = (A + B)(A  –  B) แยกตัวประกอบได้ดังนี้

จะได้      x^{4}-16 = (x^{2})^{2}  –  (4^{2})

                                  = (x^{2} + 4) (x^{2}  –  4)

                                = (x^{2} + 4) (x^{2}  –  2^{2})

                = (x^{2} + 4) (x + 2) (x  –  2)

เนื่องจาก x^{2} + 4   ไม่สามารถแยกตัวประกอบต่อได้

ดังนั้น x^{4}-16 แยกตัวประกอบได้เป็น (x^{2} + 4) (x + 2) (x  –  2)

จัดให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์

การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสูงกว่าสาม จัดให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์

ตัวอย่างที่ 4  จงแยกตัวประกอบของพหุนาม x^{4} + 32x^{2} + 256

วิธีทำ กำหนดให้ K = x^{2}

จากรูปแบบของกำลังสองสมบูรณ์ A^{2} + 2AB + B^{2} = (A+B)^{2} แยกตัวประกอบได้ดังนี้

จะได้  x^{4} + 32x^{2} + 256  = (x^{2})^{2} + 32x^{2} + 256

                                                  = K^{2} + 32K + 256

                                                  = K^{2} + 2(16)K+ 16^{2}

                                                  = (K + 16)^{2}

                                                  = (x^{2} + 16)^{2}

ดังนั้น x^{4} + 32x^{2} + 256 แยกตัวประกอบได้เป็น (x^{2} + 16)^{2}

ข้อสังเกต ! สามารถสมมติตัวแปรเป็น K ได้นะ เพื่อให้เรามองพหุนามดีกรีสี่เป็นพหุนามดีกรีสองได้ จะได้แยกตัวประกอบได้ง่ายขึ้น แต่อย่าลืมเปลี่ยน K กลับมาเป็น x ด้วยนะ

จัดให้อยู่ในรูปผลบวกของกำลังสาม หรือผลต่างของกำลังสาม

ตัวอย่างที่ 5 จงแยกตัวประกอบของพหุนาม x^{3}y^{6}-8

วิธีทำ จากรูปแบบของผลต่างกำลังสาม  A^{3}  –  B^{3} = (A  –  B) (A^{2} + AB + B^{2}) แยกตัวประกอบได้ดังนี้

จะได้ x^{3}y^{6}  –  8 = (xy^{2})^{3}  –  2^{3}

                                = [xy^{2}  –  2] \left [(xy^{2})^{2} + (xy^{2})(2) + 2^{2} \right ]

                                = (xy^{2}  –  2)(x^{2})y^{4} + 2xy^{2} + 4)

ดังนั้น x^{3}y^{6}  –  8 แยกตัวประกอบได้เป็น   (xy^{2}  –  2)(x^{2})y^{4} + 2xy^{2} + 4)

ใช้แนวคิดจากการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

ทบทวนแนวคิดการแยกพหุนามดีกรีสองโดยแยกเป็นสองวงเล็บ

พหุนามที่อยู่ในรูป ax^{2} + bx + c แยกตัวประกอบเป็น 

(px + r)(qx + 8) เมื่อ pq = a, rs = c และ ps + qr = b โดยที่ a, b, c, p, q, r, s เป็นจำนวนเต็ม และ a ≠ 0

เช่น

x^{2} + x – 2 = (x  –  1)(x + 2)

6x^{2}  –  11x + 3 = (3x  –  1)(2x  –  3)

จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าเราสามารถเขียนพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสองนี้ให้อยู่ในรูปของพหุนามดีกรีสองได้ โดยอาจสมมติตัวแปรเป็น K เช่นที่เคยทำในตัวอย่างก่อนหน้า แล้วเราก็จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสูงกว่าสองเป็นสองวงเล็บได้เช่นกัน

สามารถเปรียบเทียบการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ซึ่งเป็นความรู้เดิม โดยการแยกตัวประกอบของพหุนามโดยนำแนวคิดมาใช้ ดังนี้

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง (ความรู้เดิม)

ตัวอย่างที่ 6  จงแยกตัวประกอบของพหุนาม x^{2} + 2x  –  3

วิธีทำ

พิจารณา x^{2} + 2x  –  3 = (x + 3)(x  –  1)

ดังนั้น x^{2} + 2x  –  3 แยกตัวประกอบได้เป็น (x + 3)(x  –  1)

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสูงกว่าสาม (นำแนวคิดมาใช้)

ตัวอย่างที่ 7  จงแยกตัวประกอบของพหุนาม x^{4}+2x^{2}  –  3  

วิธีทำ กำหนดให้ K = x^{2}

จะได้

x^{4} + 2x^{2}  –  3 = (x^{2})^{2} + 2x^{2}  –  3

                          = K^{2} + 2K  –  3  

                          = (K + 3)(K  –  1)  

                          = (x^{2} + 3)(x^{2}  –  1)  

                          = (x^{2} + 3)(x^{2}  –  12)  

                          = (x^{2} + 3)(x + 1)(x  –  1)

ดังนั้น x^{4} + 2x  –  3 แยกตัวประกอบได้เป็น   (x^{2} + 3)(x + 1)(x  –  1)  

เป็นยังไงบ้างงง สำหรับสรุปเนื้อหาที่พี่เตรียมมาให้ มีทั้งคำอธิบาย บทนิยาม และตัวอย่างโจทย์เลย แต่ถ้าใครรู้สึกว่าตัวอย่างที่พี่ให้ยังน้อยไป อยากได้โจทย์มาซ้อมมือให้คล่อง ๆ มากกว่านี้ก็สามารถดาวน์โหลดแบบฝึกหัดการแยกตัวประกอบพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง ม.3 ไปฝึกทำกันได้เลยน้าา

ส่วนน้อง ๆ ที่รู้สึกการทบทวนหรือฝึกทำโจทย์เอง ยังไม่ค่อยช่วยให้เข้าใจมากขึ้นเท่าไร หรือยังมีบางจุดที่งง ๆ อยู่ เพราะเนื้อหาคณิต ม.3 ก็ถือว่าค่อนข้างยากที่สุดในคณิต ม.ต้น พี่ขอแนะนำคอร์สคณิต ม.3 จาก SmartMathpro เลยยย คอร์สนี้มีทั้งเนื้อหาของทั้งเทอม 1 และเทอม 2 ครบทุกบท ซึ่งพี่จะปูพื้นฐานให้แบบละเอียด เจาะลึกเฉพาะบท อิงตามหลักสูตร สสวท. พร้อมพาตะลุยโจทย์และแบบฝึกหัดจำนวนมาก โดยเริ่มจากง่ายไปจนถึงระดับข้อสอบแข่งขันจากสนามต่าง ๆ แถมยังมี Quiz ทบทวนความเข้าใจแต่ละบทให้ด้วยน้า ดังนั้นใครที่พื้นฐานไม่แน่นก็เรียนได้ ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะเรียนไม่ทัน !!

แต่ถ้าโรงเรียนของน้อง ๆ สอนไม่ตรงตามคอร์สที่มี ก็สามารถเลือกเรียนแบบแยกบทได้เลยย เริ่มต้นเพียง 360 บาทเท่านั้น ใครสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก ได้เลย

ดูคลิปติว แยกตัวประกอบพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง ม.3

ติดตามคลิปติวฟรีอื่น ๆ จากพี่ปั้น ได้ทาง YouTube Channel : SmartMathPro

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาคณิตม.3 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
สรุป อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ม.3 พร้อมแจกโจทย์และเฉลย
สรุปเนื้อหาคณิตม.3 เรื่องสมการกำลังสองตัวแปรเดียว
สรุป สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ม.3 พร้อมแจกโจทย์ฟรี !!
สรุปเนื้อหาคณิต ม.3 เรื่อง สถิติ (แผนภาพกล่อง)
สถิติ ม.3 (แผนภาพกล่อง) สรุปเนื้อหา พร้อมแจกโจทย์และเฉลยฟรี!
สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.3 เรื่อง พาราโบลา (กราฟฟังก์ชันกำลังสอง)
สรุป พาราโบลา (ฟังก์ชันกำลังสอง) ม.3 พร้อมแจกสูตรและโจทย์ฟรี
สรุปเนื้อหาคณิตม.3 เรื่องความคล้าย
สรุปคณิตศาสตร์ “ความคล้าย ม.3” พร้อมแจกโจทย์ปัญหาและเฉลยฟรี !!

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share