ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 สรุปเนื้อหาและตัวอย่างโจทย์

น้อง ๆ อาจเคยได้ยินหรือรู้จักกับ “ฟังก์ชัน” กันมาแล้วในบทเรียนก่อนหน้านี้อย่างความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ซึ่งบทเรียนในวันนี้เราก็ยังอยู่ที่คณิต ม.4 เทอม 2 และเป็นบทที่เกี่ยวกับฟังก์ชัน อย่างฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4 

หลายคนพอได้ยินชื่อแล้วอาจจะคิดว่ามันต้องยากแน่ ๆ ใช่มั้ยย แต่พี่จะบอกว่ามันไม่ยากอย่างที่คิดเลย ถ้าเรามีพื้นฐานความรู้เรื่องเลขยกกำลังในระดับ ม.ต้นกับเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ซึ่งวันนี้พี่จะมาทวนความรู้เดิมและพาไปทำความเข้าใจเรื่อง  ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม กันแบบจัดเต็ม แถมยังมีตัวอย่างโจทย์และแบบฝึกหัดให้ไปลองทำกันด้วยย

น้อง ๆ น่าจะเคยเรียนเรื่องเลขยกกำลังมาแล้ว ตอนม.ต้น เกี่ยวกับความหมายของเลขยกกำลัง การคูณและการหารเลขยกกำลัง การเขียนสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ รวมถึงสมบัติต่าง ๆ ของเลขยกกำลัง ในระดับชั้นม.5 นี้ เราจะมาทบทวนและเรียนเกี่ยวกับความหมายและสมบัติต่าง ๆ ของเลขยกกำลังอีกครั้ง แต่เป็นในแบบที่ท้าทายขึ้น มาลองดูกันเลย

ให้ a เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็มบวก a^n=a\times a\times a\times \cdots \times a ( a คูณกันทั้งหมด n ตัว)
เรียก a^n ว่า เลขยกกำลัง เรียก a ว่า ฐานของเลขยกกำลัง และเรียก n ว่า เลขชี้กำลัง

สมบัติเลขยกกำลัง

กำหนดให้ a, b เป็นจำนวนจริงที่ไม่เป็นศูนย์ และ m, n เป็นจำนวนตรรกยะ
a^0=1
a^{-n}=\frac{1}{a^n}
a^m\cdot a^n=a^{m+n}
\frac{a^m}{a^n} =a^{m-n}
\left (a^m \right )^{n}=a^{mn}
\left ( ab \right )^{n}=a^n\cdot b^n
\left (\frac{a}{b} \right )^{n}=\frac{a^n}{b^n}

เราจะนำสมบัติเลขยกกำลังมาใช้เพื่อหาค่าหรือจัดรูป ลองมาดูการใช้สมบัติผ่านตัวอย่างนี้กัน

ตัวอย่างที่ 1 จงเขียน \frac{\left ( 27^2\times 9^{-2} \right )^{3}}{3^{15}} ให้อยู่ในรูปอย่างง่าย และเลขยกกำลังทุกตัวมีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก
วิธีทำ 

\frac{\left ( 27^2\times 9^{-2} \right )^{3}}{3^{15}}
=\frac{\left ( \left ( 3^3 \right )^2\times ( \left ( 3^2 \right )^{-2} \right )^{3}}{3^{15}}
=\frac{3^{18}\times 3^{-12}}{3^{15}}
=\frac{3^{18}}{3^{27}}
=\frac{1}{3^{9}}

รากที่ n ของจำนวนจริง และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์

บทนิยาม
กำหนดให้ x และ y เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 1

รากที่ n ของจำนวนจริง

y เป็นรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ y^n=x

ค่าหลักของรากที่ n

y เป็นค่าหลักของรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ
y เป็นรากที่ n ของ x และ xy\geq 0

จากบทนิยาม จะได้ว่า
• รากที่ 2 ของ 9 คือ 3 และ -3
• รากที่ 5 ของ -32 คือ -2
• ค่าหลักของรากที่ 2 ของ 36 คือ 6
\sqrt{36}=6
จะเห็นได้ว่า ค่าหลักของรากที่ n ของ x และ กรณฑ์ที่ n ของ x นั่นคือ \left (\sqrt[n]{x} \right ) จะมีค่าเท่ากัน

ตัวอย่างที่ 2 \frac{\sqrt{4}\cdot \sqrt[3]{5^3}}{\sqrt[3]{-8}}+\sqrt{\left ( -7 \right )^{2}} เท่ากับเท่าใด
วิธีทำ \frac{\sqrt{4}\cdot \sqrt[3]{5^3}}{\sqrt[3]{-8}}+\sqrt{\left ( -7 \right )^{2}}
=\frac{2\cdot 5}{-2}+\sqrt{49}
=-5+7
=2

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล คือ ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป \left \{ (x,y) \in \mathbb{R\times \mathbb{R}}|y=a^{x}\right \}
โดยที่ a เป็นจำนวนจริง ซึ่ง a>0 และ a\neq 1

พิจารณาลักษณะกราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพแนนเชียล

ลักษณะกราฟฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

จากกราฟน้องจะเห็นว่าฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลจะเป็นฟังก์ชันเพิ่มหรือฟังก์ชันลดนั้นขึ้นอยู่กับค่า a

ตัวอย่างที่ 3 จงเขียนกราฟของฟังก์ชัน f(x)=3^{x} และ g(x)=\left ( \frac{1}{3} \right )^{x} ลงในระบบพิกัดฉากเดียวกัน

ตัวอย่างโจทย์กราฟฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

จากกราฟที่เราได้ น้องจะเห็นว่า f(x)=3^{x} เป็นฟังก์ชันเพิ่มเพราะ a มีค่ามากกว่า 1 และ g(x)=\left ( \frac{1}{3} \right )^{x} เป็นฟังก์ชันลดเพราะ a มีค่าอยู่ระหว่าง 0 กับ 1 นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 4 กำหนดฟังก์ชัน f(x)=2^{x} จงพิจารณาว่ากราฟของฟังก์ชันต่อไปนี้เกิดจากการเลื่อนจุดทุกจุดของฟังก์ชัน f(x) อย่างไร
1. g(x)=2^{x}+1
ตอบ กราฟของ g(x) คือกราฟของ f(x) ที่เลื่อนจุดทุกจุดขึ้น 1 หน่วย

2. h(x)=2^{x+1}
ตอบ กราฟของ h(x) คือกราฟของ f(x) ที่เลื่อนจุดทุกจุดไปทางซ้าย 1 หน่วย

การเลื่อนกราฟไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดนะ และพี่ก็ได้สรุปเรื่องการเลื่อนกราฟมาให้แล้ว มาดูกันเลย

กราฟ y=a^{(x-h)}+k คือการเลื่อนกราฟ y=a^{x} ดังนี้

  • ถ้า h มีค่าเป็นบวกจะเลื่อนจุดทุกจุดไปทางขวา h หน่วย
  • ถ้า h มีค่าเป็นลบจะเลื่อนจุดทุกจุดไปทางซ้าย h หน่วย
  • ถ้า k มีค่าเป็นบวกจะเลื่อนจุดทุกจุดขึ้น k หน่วย
  • ถ้า k มีค่าเป็นลบจะเลื่อนจุดทุกจุดลง k หน่วย

หลังจากที่เรารู้จักว่าฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลไปแล้ว เรามารู้จักสมการและอสมการเอกซ์โพแนนเชียลกันบ้าง ซึ่งก็คือสมการและอสมการที่มีเลขชี้กำลังเป็นตัวแปรนั่นเอง ในการแก้สมการและอสมการจะใช้สมบัติความเป็นฟังก์ชัน 1-1 ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดด้วยน้า

สมการเอกซ์โพแนนเชียล

หลักการแก้สมการเอกซ์โพแนนเชียล มีดังนี้
• ให้ a>0 และ a\neq 1 จะได้ว่า a^{x}=a^{y} ก็ต่อเมื่อ x=y
• ให้ a,b>0 โดยที่ a\neq b ถ้า a^{x}=b^{x} แล้ว x=0

 

สรุปง่าย ๆ ก็คือถ้าฐานมีค่าเท่ากันแล้วเลขชี้กำลังจะมีค่าเท่ากัน และถ้าเลขชี้กำลังมีค่าเท่ากันแต่ฐานมีค่าไม่เท่ากันแล้วเลขชี้กำลังจะเท่ากับ 0 นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 5 จงหาเซตคำตอบของสมการต่อไปนี้
1. 2^{2x}=4^{8}
วิธีทำ จะได้ว่า 2^{2x}=(2^{2})^{8}
2^{2x}=2^{16}
2x=16
x=8
ดังนั้น เซตคำตอบของสมการ คือ \left \{ 8 \right \}

2. 3^{10x+2}=4^{5x+1}
วิธีทำ จะได้ว่า 3^{10x+2}=(2^{2})^{5x+1}
3^{10x+2}=2^{10x+2}
10x+2=0
x=-\frac{1}{5}
ดังนั้น เซตคำตอบของสมการ คือ \left \{-\frac{1}{5} \right \}

อสมการเอกซ์โพแนนเชียล

หลักการแก้อสมการเอกซ์โพแนนเชียล มีดังนี้
1. อสมการ a^{m}>a^{n}

  • ถ้า a>1 แล้ว m>n
  • ถ้า 0<a<1 แล้ว m<n

2. อสมการ a^{m}<a^{n}

  • ถ้า a>1 แล้ว m<n
  • ถ้า 0<a<1 แล้ว m>n

สังเกตได้ว่า ถ้าฐานมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 จะต้องกลับเครื่องหมายของอสมการด้วยน้า

ตัวอย่างที่ 6 จงหาคำตอบของอสมการต่อไปนี้
1. 10^{3x}>1000
วิธีทำ จะได้ว่า 10^{3x}>10^{3}
                           3x>3
 ดังนั้น x>1

2. \left (\frac{1}{3} \right )^{2x+1}<\frac{1}{27}
วิธีทำ จะได้ว่า \left (\frac{1}{3} \right )^{2x+1}<\left (\frac{1}{3} \right )^{3}
                           2x+1>3 
                          2x>2
ดังนั้น x>1

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม คือ ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป \left \{(x, y)\in \mathbb{R}^+\times \mathbb{R} \mid y=\log_a{x} \right \}
โดยที่ a เป็นจำนวนจริง ซึ่ง a>0 และ a \neq 1
ฟังก์ชันลอการิทึม คือ ตัวผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล นั่นคือ
x=a^y ก็ต่อเมื่อ y=\log_a{x}

ลักษณะกราฟของฟังก์ชันลอการิทึมเป็นดังนี้

ลักษณะกราฟของฟังก์ชันลอการิทึม

จากกราฟ น้องจะเห็นว่าฟังก์ชันลอการิทึมจะเป็นฟังก์ชันเพิ่มหรือฟังก์ชันลดนั้นขึ้นอยู่กับค่า a

ตัวอย่างที่ 7  กำหนด f(x)=\log_2{x} จงพิจารณาว่ากราฟของฟังก์ชันต่อไปนี้เกิดจากการเลื่อนจุดทุกจุดของฟังก์ชัน f(x) อย่างไร
แนวคิด ใช้วิธีการเลื่อนกราฟคล้ายตัวอย่างที่ 4 เลย !

  1. g(x)=\log_{2}(x)-1
    ตอบ กราฟของ g(x) คือกราฟของ f(x) ที่เลื่อนจุดทุกจุดลง 1 หน่วย
  2. h(x)=\log_2{(x-1)}
    ตอบ กราฟของ h(x) คือกราฟของ f(x) ที่เลื่อนจุดทุกจุดไปทางขวา 1 หน่วย
    ขวา 1 หน่วย

สมบัติของฟังก์ชันลอการิทึม

ให้ a, M และ N เป็นจำนวนจริงบวกที่ a\neq1
และ k เป็นจำนวนจริง จะได้ว่า

  • \log_a{a}=1 และ \log_a{1}=0
  • \log_a{MN}=\log_a{M}+\log_a{N}
  • \log_a{\frac{M}{N}}=\log_a{M}-\log_a{N}
  • \log_a{M^k}=k\log_a{M}
  • \log_{a^k}{M}=\frac{1}{k}\log_a{M}
          เมื่อ k\neq0
  • \log_a{b}=\frac{1}{\log_b{a}}
          เมื่อ b>0 และ b\neq1
  • \log_a{M}=\frac{\log_c{M}}{\log_c{a}}
          เมื่อ c>0 และ c\neq1
  • a^{\log_b{c}}=c^{\log_b{a}}

ตัวอย่างที่ 8 จงหาค่าของ \log_4{32}+\log_4{2}
วิธีทำ
\log_4{32}+\log_4{2}
=\log_4{32\times 2}
=\log_4{64}
=\log_2{4^3}
=3\times \log_2{4}
=3\times 4
=12

มุมความรู้

เมื่อ \log ไม่ได้เขียนเลขฐานจะถือว่าเป็น ฐาน 10

สมการลอการิทึม

หลักการแก้สมการลอการิทึม มีดังนี้
1. ให้ a>0 และ a\neq1 จะได้ว่า \log_a{x}=\log_a{y} ก็ต่อเมื่อ x=y
2. จาก \log_a{x}=y จะได้ว่า x=a^y

ตัวอย่างที่ 9 จงหาเซตคำตอบของสมการ \log(x-1)+\log(x+2)=1
วิธีทำ
\log(x-1)+\log(x+2)=1
(x-1)(x+2)=10
x^2+x-2=10
x^2+x-12=0
(x+4)(x-3)=0
จะได้ว่า x=-4 หรือ x=3

ตรวจสอบค่า x ที่ได้ว่าค่าใดสอดคล้องกับสมการที่กำหนดให้

  • กรณี x=-4
    แทน x=-4 ใน \log(x-1)+\log(x+2)=1
    จะได้ \log(-5)+\log(-2)=1 เป็นเท็จ
    เนื่องจากไม่นิยาม y=\log_a{x} เมื่อ x ไม่เป็นจำนวนจริงบวก
    แสดงว่า -4 ไม่สอดคล้องกับสมการที่กำหนดให้
  • กรณี x=3
    แทน x=3 ใน \log(x-1)+\log(x+2)=1
    จะได้ \log(2)+\log(5)=\log(5\times2)=\log10=1 เป็นจริง
    แสดงว่า 3 สอดคล้องกับสมการที่กำหนดให้

ดังนั้น เซตคำตอบของสมการ คือ \left \{ 3 \right \}

ระวัง!! อย่าลืมเช็คเสมอว่าคำตอบที่ได้จากการแก้สมการ ทำให้หลัง log ติดลบหรือไม่ด้วยน้าา

อสมการลอการิทึม

หลักการแก้อสมการลอการิทึม มีดังนี้
1. อสมการ \log_a{m} > \log_a{n}
• ถ้า a>1 แล้ว m>n
• ถ้า 0<a<1 แล้ว m<n
2. อสมการ \log_a{m} < \log_a{n}
• ถ้า a>1 แล้ว m<n
• ถ้า 0<a<1 แล้ว m>n

ตัวอย่างที่ 10 จงหาเซตคำตอบของอสมการ \log_\frac{1}{2}(x+2)-\log_\frac{1}{2}(x+1)<2
วิธีทำ
\log_\frac{1}{2}(x+2)-\log_\frac{1}{2}(x+1)<2
\log_{\frac{1}{2}}\left (\frac{x+2}{x+1} \right )<2\log_{\frac{1}{2}}\left (\frac{1}{2} \right )
\log_{\frac{1}{2}}\left (\frac{x+2}{x+1} \right )<\log_{\frac{1}{2}}\left (\frac{1}{2} \right )^2
\log_{\frac{1}{2}}\left (\frac{x+2}{x+1} \right )<\log_{\frac{1}{2}}\left (\frac{1}{4} \right )

เนื่องจาก f(x)=\log_\frac{1}{2}{x} เป็นฟังก์ชันลด
\frac{x+2}{x+1}>\frac{1}{4}
\frac{x+2}{x+1}-\frac{1}{4}>0
\frac{4(x+2)-(x+1)}{4(x+1)}>0
\frac{3x+7}{4x+4}>0

จะได้ x<-\frac{7}{3} และ x>-1
เนื่องจาก อสมการที่กำหนดให้มีพจน์ \log_\frac{1}{2}(x+2) และ \log_\frac{1}{2}(x+1)
จะได้ว่า x>-2 และ x>-1
นั่นคือ x>-1

ดังนั้น เซตคำตอบของอสมการ คือ \left ( -1, \infty \right )

ระวัง !! อย่าลืมเช็คเสมอว่าคำตอบที่ได้จากการแก้อสมการ ทำให้หลัง log ติดลบหรือไม่ด้วยน้าา และถ้าฐานน้อยกว่า 1 แต่มากกว่า 0 แล้ว ต้องกลับเครื่องหมายอสมการนั้นด้วยนะ

ดูคลิปติวฟรี ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ม.4

ดูคลิปติวฟรีอื่น ๆ ได้ที่ YouTube : SmartMathPro

เป็นยังไงบ้างสำหรับสรุปเนื้อหาที่พี่เอามาฝากน้อง ๆ ทุกคนในวันนี้ ใครที่ยังไม่เข้าใจก็สามารถไปดูคลิปติวฟรีของพี่ใน Youtube ได้นะ หรือจะกลับไปทบทวนความรู้เดิมจากบทเลขยกกำลังในคณิต ม.ต้น กับบทเรียนก่อนหน้าอย่าง
ความสัมพันธ์และฟังก์ชันก็ได้ จะได้แม่นเนื้อหากันมากขึ้น 

นอกจากนี้วิธีที่พี่อยากแนะนำเพิ่มคือ ให้ลองฝึกทำโจทย์ เพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจของตัวเอง ซึ่งถ้าใครไม่รู้จะไปหาโจทย์จากไหนมาฝึกทำซ้อมมือ ก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดข้อสอบได้ในคลังข้อสอบเลยย ค่อย ๆ ทำความเข้าใจกันไปน้า ไม่ต้องรีบหรือเร่งตัวเองมากเกินไป พี่ขอเอาใจช่วยทุกคน สู้ ๆ !!

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาคณิต เซต ม.4 พร้อมแจกฟรีเช็กลิสต์
เซต (Set) คืออะไร สรุปเนื้อหาเซต ม.4 พร้อมโจทย์และเฉลย
สรุปเนื้อหาจำนวนจริง ม.4 เรียนเรื่องอะไรบ้าง
จำนวนจริง ม.4 สรุปครบม้วนเดียวจบ พร้อมแจกโจทย์จำนวนจริงและวิธีทำ
สรุปเนื้อหาคณิต "ตรรกศาสตร์" ม.4
ตรรกศาสตร์ ม.4 สรุปเนื้อหาครบ พร้อมโจทย์ตรรกศาสตร์และวิธีทำ
สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5
คณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 เทอม 2 เรียนอะไร? สรุปครบทั้งพื้นฐานและเพิ่มเติม
สรุปเนื้อหาคณิต ม.6 เรียนอะไรบ้าง
คณิตศาสตร์ ม.6 เทอม 1 เทอม 2 คณิตพื้นฐานและเพิ่มเติม เรียนอะไรบ้าง?
สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย ม.4 ม.5 ม.6 ต้องเรียนอะไรบ้าง
คณิตศาสตร์ ม.ปลาย (ม.4 ม.5 ม.6) หลักสูตรใหม่ เรียนเรื่องอะไรบ้าง ?

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

Twitter : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share