หลายคนคงจะเคยสงสัยกันใช่มั้ยยย ว่าสายศิลป์คำนวณ สามารถเข้าคณะอะไรได้บ้าง ? ถ้าไม่เรียนต่อคณะสายคำนวณแล้วจะเข้าคณะสายไหนได้อีก ? วันนี้พี่เลยขอมาสรุปทุกเรื่องที่เกี่ยวกับศิลป์คำนวณเพื่อให้ทุกคนหายสงสัย เริ่มตั้งแต่ศิลป์คำนวณเรียนอะไร ถ้าเรียนสายศิลป์คำนวณ จะเข้าคณะไหนได้บ้าง สอบเข้าคณะสายวิทย์ สายภาษาได้รึเปล่า พร้อมแชร์ทริคเลือกคณะให้เหมาะกับตัวเองด้วย !!
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleศิลป์ - คำนวณ เรียนอะไรบ้าง ?
ศิลป์ – คำนวณ เป็น 1 ในแผนการเรียน ม.ปลาย ส่วนวิชาที่สายศิลป์คำนวณเรียนนั้นจะคล้ายกับศิลป์อื่น ๆ คือเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น วิทย์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคม แต่ก็จะมีข้อแตกต่างกันอยู่นิดหน่อยน้าาา เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นสายศิลป์คำนวณ แน่นอนว่าก็ต้องเน้นการคำนวณด้วย !! สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ ศิลป์คำนวณจะเรียนเหมือนกับวิทย์คณิตที่แบ่งคณิตออกเป็น คณิตพื้นฐาน และคณิตเพิ่มเติมนั่นเอง
ศิลป์ - คำนวณ เข้าคณะอะไรได้บ้าง ?
พอได้ยินคำว่า “ศิลป์ – คำนวณ” หลายคนอาจคิดว่าคณะที่สามารถเข้าได้คงมีแต่คณะสายตัวเลขอย่างบัญชี บริหาร หรือคณะที่ต้องใช้การคำนวณเยอะ แต่น้อง ๆ รู้มั้ยว่าที่จริงแล้ว สายศิลป์คำนวณก็สามารถเข้าคณะได้เยอะมากเลยน้า และเพื่อไม่ให้ทุกคนต้องไปไล่หาข้อมูลจนปวดตา พี่เลยจะมาสรุปให้ว่าสายศิลป์ คำนวณ สามารถเข้าคณะอะไรได้บ้าง ? โดยพี่จะขอแบ่งคณะต่าง ๆ ออกเป็น 5 กลุ่มตามนี้เลยย จะได้ไม่สับสน !!
(มีสรุปวิชาที่น้องๆ จะต้องใช้สอบด้วยน้า แต่ว่าเกณฑ์คะแนนจะขึ้นอยู่กับคณะกำหนด ซึ่งสามารถดูได้ที่ mytcas ได้เลย)
สายบริหารธุรกิจและการจัดการ
คณะในสายนี้ไม่ได้เรียนหนักไปทางคำนวณที่ต้องใช้สูตรยาก ๆ แก้โจทย์ที่ซับซ้อน แต่จะเป็นการเอาตัวเลขไปประยุกต์ให้เข้ากับสาขานั้น ๆ เช่น การคำนวณภาษีในวิชาบัญชี หรือการคำนวณราคาต้นทุนในวิชาการตลาด เป็นต้น น้อง ๆ ที่เรียนสายศิลป์คำนวณมา ถ้าอยากเรียนคณะในสายนี้ ก็สามารถเรียนได้น้าาา
ตัวอย่างคณะสายบริหารธุรกิจและการจัดการ
- คณะบริหารธุรกิจ
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
TGAT, A-Level (คณิต 1, คณิต 2, สังคม, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย)*
สายศิลปะและการสื่อสาร
น้อง ๆ หลายคนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าคณะสายการสื่อสาร มีคณะไหนบ้าง แต่ถ้าพูดชื่อคณะอย่าง นิเทศศาสตร์ หรือ การสื่อสารมวลชน ออกมาก็คงจะเริ่มคุ้น ๆ กันขึ้นมาบ้างแล้วใช่มั้ยยย ซึ่งคณะในสายนี้ไม่ได้เรียนแค่การแสดงอย่างเดียว เพราะคณะนี้จะเรียนเกี่ยวกับการสื่อสารทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา / การประชาสัมพันธ์ผ่านทางโทรทัศน์ หรือโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ
ส่วนสายศิลปะ ก็จะมีทั้งคณะที่เกี่ยวกับศิลปะ การวาดรูป เช่น คณะวิจิตรศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ หรือ ใครชอบดนตรีก็สามารถลงเรียนคณะดุริยางคศาสตร์ได้ และถ้าน้อง ๆ คนไหนมีผลงาน เคยแข่งประกวดเกี่ยวกับการวาดรูปหรือการเล่นดนตรี ก็ใช้ความสามารถพิเศษสมัครสอบรอบ 1 Portfolio และรอบ 2 โควตายื่นเรียนต่อมหาลัยฯ ได้ด้วยย > <
ตัวอย่างคณะสายศิลปะและการสื่อสาร
- คณะนิเทศศาสตร์
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะดุริยางคศาสตร์
สายศิลปะ : TGAT, TPAT4, สังคม, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ*
สายการสื่อสาร : TGAT, คณิต 1, คณิต 2, สังคม, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ*
สายมนุษยศาสตร์ / สังคมศาสตร์ / ครุศาสตร์
คณะในสายมนุษย์และสังคมจะมีความใกล้เคียงกันมาก เพราะเรียนเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม บางมหาลัยฯ ก็อาจจะให้รวมเป็นคณะเดียวกันเลยก็มี ซึ่งน้อง ๆ สายศิลป์ – คำนวณ คนไหนที่รู้สึกว่าชอบเรียนภาษาหรือชอบวิชาสังคมมากกว่าคณิตศาสตร์ ก็สามารถเลือกเรียนคณะในสายมนุษยศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ได้เลย ไม่ต้องห่วงว่าจะเรียนไม่ได้เลยยย ถึงแม้ว่าต้องศึกษาเกี่ยวกับภาษา มนุษย์ และสังคมแบบลึกขึ้น แต่น้อง ๆ จะได้เรียนปรับพื้นฐานอยู่แล้วในช่วงปี 1
ส่วนครุศาสตร์ หลายคนอาจเข้าใจว่าเรียนครูแล้วจะต้องจำเนื้อหาวิชาการแน่น ๆ ไปสอน แต่ที่จริงการเป็นครูไม่ใช่มีหน้าที่สอนหนังสืออย่างเดียวน้า น้อง ๆ จะต้องเรียนรู้จิตวิทยาในการสอนและดูแลเด็กด้วย ซึ่งสาขาที่ให้เลือกเรียนก็มีเยอะเลย ไม่ว่าจะเป็น ครูคณิต ครูสอนภาษา ครูสังคม หรือจะเลือกเรียนการสอนเด็กเล็ก อย่างครูอนุบาล ครูประถม ก็ได้น้า
ตัวอย่างคณะสายมนุษยศาสตร์ / สังคมศาสตร์ / ครุศาสตร์
- คณะอักษรศาสตร์ / คณะมนุษยศาสตร์ / คณะศิลปศาสตร์
- คณะจิตวิทยา
- คณะครุศาสตร์
TGAT, A-Level (คณิต 2, วิทย์, สังคม, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาต่างประเทศ)*
สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สงสัยใช่มั้ยว่าทำไมคนเรียนศิลป์ – คำนวณถึงเรียนคณะสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ? จริง ๆ แล้ว คณะสายวิทย์ของบางมหาลัยฯ ก็เปิดรับน้อง ๆ จากสายศิลป์คำนวณด้วยย เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่แนะนำว่าควรดูเกณฑ์การรับสมัคร, คุณสมบัติกันก่อนน้าา จะได้รู้ว่าสามารถยื่นสมัครได้มั้ย และสำหรับใครที่กลัวว่าเข้าไปเรียนแล้วจะเรียนตามเพื่อน ๆ สายวิทย์ไม่ทัน ไม่ต้องกังวลไปน้า เพราะปกติจะต้องมีการเรียนปรับพื้นฐานอยู่แล้ววว
ตัวอย่างคณะสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรม
- คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
TGAT, TPAT2 หรือ TPAT3, A-Level (คณิต 1, วิทย์, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ภาษาอังกฤษ)*
สายสุขภาพ (รอบกสพท)
สำหรับน้องๆ ที่อยากเป็นหมอ ก็สามารถยื่นสมัครผ่านระบบ กสพท ได้เลยน้า เพราะ กสพท ไม่จำกัดแผนการเรียนแล้ว ดังนั้นใครที่เรียนสายศิลป์ แต่ถ้าชอบวิชาวิทยาศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับร่างกายก็สามารถสอบแล้วยื่นสมัครสอบได้เหมือนกันน
ส่วนรอบอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ พี่แนะนำให้ทุกคนลองเช็กเกณฑ์การรับสมัครของมหาลัยฯ ดูก่อนน้า อย่างรอบ Portfolio บางมหาลัยฯ จะกำหนดเกณฑ์ GPAX วิชาในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์อย่างฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาด้วยทำให้น้อง ๆ สายศิลป์คำนวณ อาจจะยื่นสมัครไม่ได้ T_T
ตัวอย่างคณะสายสุขภาพ
- คณะแพทยศาสตร์
- คณะสัตวแพทยศาสตร์
- คณะเภสัชศาสตร์
TPAT1, A-Level (คณิต 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทย, สังคม, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ)*
*หมายเหตุ : เกณฑ์คะแนนขึ้นอยู่กับแต่ละมหาลัยฯ ด้วย ตัวอย่างที่พี่ยกมาเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
น้อง ๆ คงจะเห็นแล้วว่าคณะ / มหาลัยฯ ส่วนใหญ่ที่พี่ยกตัวอย่างมาก็จะเน้นใช้คะแนนสอบ A-Level คณิต 1 และ
A-Level คณิต 2 ในการยื่นสมัครด้วย ซึ่งสองวิชานี้ก็มาจากเนื้อหาคณิตศาสตร์พื้นฐานและเพิ่มเติมที่เราจะได้เรียนกันในตลอด 3 ปีของชั้นม.ปลาย เรียกได้ว่าถ้าความรู้คณิตศาสตร์ ม.ปลาย ของเราแน่นประมาณหนึ่ง ก็จะสามารถทำโจทย์สอบเข้ามหาลัยฯ ของ A-Level คณิต 1,2 กันได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
อ่านมาจนถึงตรงนี้ ใครที่รู้สึกอยากเตรียมตัวเก็บเนื้อหาล่วงหน้าแล้วล่ะก็ พี่ก็มีคอร์สเสริมเกรดคณิต ม.ปลายมาแนะนำเพียบ โดยจะสอนเนื้อหาครบทุกบทของคณิต ม.ปลาย อิงตามหลักสูตร สสวท. แถมยังมีโจทย์และแบบฝึกหัดซ้อมมือให้ทำเยอะมากก (ใครที่พื้นฐานไม่ดีก็ไม่ต้องกลัว เรียนได้เหมือนกันน้า เพราะพี่สอนตั้งแต่ปูพื้นฐานกันเลย) แถมตอนนี้มีโปรโมชันแบบบุฟเฟต์ลดสูงสุดถึง 35% ด้วยย ถ้าสนใจ คลิก ดูรายละเอียดได้เลยยย
ศิลป์ - คำนวณ เลือกเรียนคณะไหนดี ?
น้อง ๆ คงเห็นแล้วคณะที่สายศิลป์ คำนวณสามารถเข้าได้นั้นมีเยอะขนาดไหน พี่ว่าหลายคนน่าจะคิดไม่ถึงด้วยใช่มั้ยว่า คณะที่เลือกได้จะมีเยอะขนาดนี้ > < และเพราะมีคณะให้เลือกเยอะนี่เองทำให้น้อง ๆ บางอาจเกิดความสับสน จะคณะไหนก็น่าเรียนไปหมด แล้วจะเลือกยังไงดี ? วันนี้พี่ก็เลยจะมาแชร์ทริคเลือกคณะให้แบบง่าย ๆ ไปดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีคณะไหนตรงใจน้อง ๆ บ้างมั้ย
สายบริหารธุรกิจและการจัดการ
สายนี้เหมาะกับคนที่ชอบตัวเลข และไม่ได้ชอบคำนวณอย่างเดียว แต่ยังชอบ
ที่จะได้เอาตัวเลขไปประยุกต์เข้ากับการบริหาร การวิเคราะห์และการวางแผนด้วย
สายศิลปะและการสื่อสาร
สายนี้เหมาะมากถ้าน้อง ๆ เป็นคนที่กล้าแสดงออก กล้าคิดนอกกรอบ มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะต้องอาศัยไอเดียในการเรียนและสร้างผลงานอยู่เสมอ
สายมนุษยศาสตร์ / สังคมศาสตร์ / ครุศาสตร์
คณะสายมนุษย์ เหมาะกับน้อง ๆ ที่ชอบเรียนภาษา วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับมนุษย์โดยตรง แต่ถ้าชอบเรื่องราวเกี่ยวกับสังคม ก็อาจจะเหมาะกับคณะสายสังคมมากกว่า เพราะคณะในสายนี้จะศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในสังคม
และสุดท้ายคือครุศาสตร์ อย่างที่รู้กันว่าคนที่เรียนคณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นครู
ดังนั้นใครที่ชอบอยู่กับเด็ก ๆ ชอบคิดแผนการสอน เหมาะมากเลยที่จะเรียนสายนี้
สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
น้อง ๆ สายศิลป์ – คำนวณ บางคนอาจจะถนัดการคำนวณและตัวเลขอยู่แล้ว
แต่ถ้าใครชอบวิทยาศาสตร์ด้วย เหมาะกับคณะในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่น้อยเลยน้า เพราะคณะนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นประยุกต์การคำนวณเข้ากับวิทยาศาสตร์เอาไปต่อยอดได้อีกมากมายขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกเรียนคณะไหน
เหมาะกับคนที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับร่างกายเพราะคณะในสายนี้จะต้องเรียนเกี่ยวกับร่างกายและสุขภาพ เพื่อดูแลหรือรักษาคน / สัตว์ที่ป่วยหรือบาดเจ็บ และด้วยความที่เป็นการเรียนเกี่ยวกับร่างกาย / สุขภาพของคนไข้ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญมาก ๆ ในวิชาชีพ เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้สายนี้เรียนหนักและเรียนเยอะ โดย 4 คณะสายหมออย่างแพทย์ ทันตแพทย์ สัตวะ และเภสัช ใช้เวลาเรียนถึง 6 ปีเลยทีเดียว
หมายเหตุ คำแนะนำในการเลือกคณะเป็นแค่ตัวอย่างเพื่อให้ดูเป็นแนวทางเฉย ๆ น้า เพราะการเลือกคณะจะขึ้นอยู่กับความชอบ ความถนัดของแต่ละคนด้วย ให้น้อง ๆ ลองเอาไปปรับในเวย์ของตัวเองได้เลย
พี่หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกคนได้รู้เกี่ยวกับคณะที่สายศิลป์ – คำนวณสามารถเลือกเรียนได้ รวมไปถึงตัวอย่างเกณฑ์คะแนนและทริคการเลือกคณะเลย ใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกเรียนคณะไหนดีก็อย่ากดดันตัวเองมากไปน้า แต่ถ้าใครเลือกได้แล้วก็ลุยให้เต็มที่ ขอให้ทุกคนตั้งใจและทำให้เต็มที่ พี่จะคอยเป็นกำลังใจให้ทุกคนเอง ^___^ !!
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro