สรุปพื้นฐาน ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

น้อง ๆ รู้กันหรือเปล่าว่าเรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส เป็นหนึ่งในเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะสามารถนำไปปรับใช้กับเนื้อหาคณิต ม.ต้น ได้หลายบท รวมถึงต่อยอดในคณิต ม.ปลายได้อีกเยอะมาก

ดังนั้นถ้าน้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่แม่นทฤษฎีบทพีทาโกรัส พี่แนะนำให้รีบมาทบทวนจากบทความนี้กันเลย เพราะพี่สรุปเนื้อหานี้มาให้อ่านกันแบบเข้าใจง่ายที่สุด และยังมีโจทย์ให้ฝึกทำด้วย ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว ไปอ่านกันเลยยยย

น้อง ๆ น่าจะเคยได้เรียนและคุ้นหูคุ้นตากันเป็นอย่างดีกับเรื่อง “ทฤษฎีบทพีทาโกรัส” ที่พูดถึงความยาวด้านของรูป
สามเหล่ียมมุมฉากว่าเป็นทฤษฎีบทสำคัญที่เราจะใช้ต่อยอดในหลาย ๆ เรื่องเลย

ทฤษฎีบทนี้เรียนตอน ม.2 เทอม 1 และนำไปใช้แก้โจทย์ปัญหาหรือพิสูจน์ในบทที่เกี่ยวกับเรขาคณิต เช่น การหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของรูปสามมิติ หรือโจทย์ประยุกต์ในบทสมการกำลังสองตัวแปรเดียว

นอกจากนี้ เนื้อหาทฤษฎีบทพีทาโกรัสยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหา ม.ปลาย อีกหลายบทเลยไม่ว่าจะเป็น ฟังก์ชันตรีโกณมิติ, เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย, เวกเตอร์ และจำนวนเชิงซ้อน (รวมถึงมีการนำไปใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยน้าา)

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส (Pythagoras’ theorem)

สำหรับรูปสามเหล่ียมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก

จากทฤษฎีบทข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า

นิยามของทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ตัวอย่างที่ 1 จากรูปสามเหล่ียมที่กำหนดให้ จงหาค่าของ x

ตัวอย่างการใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

วิธีทำ จากทฤษฎีบทพีทาโกรัส
จะได้ว่า x เป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
แสดงว่า x^{2}=8^{2}+15^{2}\\= 64+225\\=289
ดังนั้น x=17

หมายเหตุ : สมการ x^{2}=289 มี 2 คำตอบคือ x=17 และ x=-17 เนื่องจาก x เป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก ค่า x ที่เป็นจำนวนลบจึงใช้ไม่ได้น้าา

ตัวอย่างที่ 2 จากรูปสามเหล่ียมที่กำหนดให้ จงหาค่าของ x

โจทย์การใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

วิธีทำ จากทฤษฎีบทพีทาโกรัส
จะได้ว่า x เป็นความยาวของด้านประกอบมุมฉาก
แสดงว่า 25^{2}=x^{2}+20^{2}\\x^{2}=25^{2}-20^{2}\\=225
ดังนั้น x=15

เลขชุดพีทาโกรัสที่ควรรู้

เลขชุดพีทาโกรัส คือ ชุดตัวเลขที่ได้จากการคำนวณตามทฤษฎีบทแล้วเจอได้บ่อย ๆ เวลาต้องการใช้แก้โจทย์ปัญหา ซึ่งถ้าน้อง ๆ จำเลขชุดนี้ได้ จะทำให้เราแก้โจทย์ได้เร็วขึ้นด้วย โดยเลขชุดพีทาโกรัสที่นิยมใช้กันมีดังนี้

เลขชุดพีทาโกรัสควรรู้

เลขชุดพีทาโกรัสจะใช้เมื่อรู้ความยาวด้าน 2 ด้านของรูปสามเหล่ียมมุมฉากจะสามารถหาความยาวอีกด้านหนึ่งได้ เช่น

  • รูปสามเหล่ียมมุมฉากที่มีความยาวด้านคือ 3, 4, x โดยที่ x เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก
    ดังนั้น เลขชุดพีทาโกรัสที่ใช้ได้ก็คือชุด 3, 4, 5
    แสดงว่า x=5
  • รูปสามเหล่ียมมุมฉากที่มีความยาวด้านคือ 6, 8, x โดยที่ x เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก
    ดังนั้น เลขชุดพีทาโกรัสที่ใช้ได้ก็คือชุด 3, 4, 5
    โดยปรับค่าเป็น 3\times 2, 4\times 2, 5\times 2
    จะได้ 6, 8, 10
    แสดงว่า x=10

หมายเหตุ : การปรับค่า จะต้องเป็นการนำเลขชุดพีทาโกรัสไปคูณหรือหารด้วยจำนวนเดียวกันเท่านั้น
ข้อระวัง : ต้องตรวจสอบว่าความยาวด้านที่นำมาพิจารณา เป็นความยาวด้านของด้านไหนด้วย เพราะเลขชุดพีทาโกรัสจะต้องอยู่ในด้านที่ถูกต้องถึงจะใช้ได้น้า

ตัวอย่างที่ 3 จากรูปสามเหล่ียมที่กำหนดให้ จงหาค่าของ x

ตัวอย่างโจทย์ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

วิธีทำ
จากโจทย์ จะได้ว่า รูปสามเหล่ียมนี้มีความยาวด้านคือ 10, x, 26 โดยที่ x เป็นความยาวของด้านประกอบมุมฉาก
ดังนั้น เลขชุดพีทาโกรัสที่ใช้คือ 5, 12, 13 โดยปรับค่าเป็น 5\times 2, 12\times 2, 13\times 2
จะได้ 10, 24, 26
ดังนั้น x=24

บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส

จากเนื้อหาของบทความที่ผ่านมา น้อง ๆ จะรู้ว่าถ้ามีรูปสามเหล่ียมมุมฉากแล้วความยาวด้านจะมีความสัมพันธ์ตามทฤษฎีบทพีทาโกรัส ในทางกลับกันถ้านำความยาวด้านของรูปสามเหล่ียมที่สอดคล้องกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสมาพิจารณาก็จะสามารถสรุปได้ว่ารูปที่พิจารณาอยู่เป็นรูปสามเหล่ียมมุมฉากได้เช่นกัน

บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส (converse of Pythagoras’ theorem)
สำหรับรูปสามเหล่ียมมุมฉากใด ๆ ถ้ากำลังสองของความยาวของด้านด้านหนึ่ง
เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านอีกสองด้าน แล้วรูปสามเหล่ียมนั้นเป็นรูปสามเหล่ียมมุมฉาก

จากทฤษฎีบทข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า

นิยามบทกลับทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ตัวอย่างที่ 4 กำหนดให้รูปสามเหล่ียม ABC มีความยาวดังรูป

ตัวอย่างการใช้บทกลับทฤษฎีบทพีทาโกรัส

อยากทราบว่ารูปสามเหล่ียมABC เป็นรูปสามเหล่ียมมุมฉากหรือไม่

วิธีทำ จากรูป ให้ a=9, b=12 และ c=15
จะได้ a^{2}=81, b^{2}=144 และ c^{2}=225
ซึ่ง 225=81+144
แสดงว่า c^{2}=a^{2}+b^{2}
โดยบทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส สรุปได้ว่า รูปสามเหล่ียม ABC เป็นรูปสามเหล่ียมมุมฉาก

และนี่คือภาพรวมเนื้อหาทฤษฎีบทพีทาโกรัสที่พี่สรุปมาให้ทุกคนอ่านกันน้า จะเห็นว่าบทนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเนื้อหาคณิต ม.ต้น และคณิต ม.ปลาย หลายบทเลย ดังนั้นถ้าน้อง ๆ มีพื้นฐานเรื่องนี้ดี ก็จะสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนคณิตศาสตร์บทที่เกี่ยวข้องได้ดีขึ้นนั่นเอง

ซึ่งถ้าน้อง ๆ อยากแม่นเรื่องนี้มากขึ้นพี่ก็แนะนำให้ฝึกทำโจทย์ / แบบฝึกหัดเพิ่มเติมกันเยอะ ๆ เลย แต่ถ้าใครยังกังวล กลัวว่าถ้าทบทวนหรือฝึกทำโจทย์เองแล้วจะไม่เข้าใจ จนทำให้เรียนบทอื่นต่อไม่ได้ อยากได้คนช่วยไกด์

พี่ขอแนะนำคอร์สติวคณิตศาสตร์ ม.4 – 6 แบบบุฟเฟต์สำหรับเสริมเกรด จาก SmartMathPro เลยย สมัครครั้งเดียวคุ้มมากก เรียนได้จนจบม.6 พร้อมส่วนลดสูงสุด 35%

โดยในคอร์ส พี่ปูพื้นฐานละเอียด เจาะลึกเฉพาะบท อิงตามหลักสูตร สสวท. ใครพื้นฐานไม่ดีก็เรียนได้สบายมาก ใครสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมก็ คลิก ได้เลย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาคณิตม.3 เรื่องสมการกำลังสองตัวแปรเดียว
สรุป สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ม.3 พร้อมแจกโจทย์ฟรี !!
สรุปฟังก์ชันตรีโกณมิติ ม.5
ตรีโกณมิติ ม.5 สรุปสูตรพร้อมแจกโจทย์แบบจัดเต็ม !!
สรุปเนื้อหาเรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย ม.4 เรียนอะไรบ้าง
เรขาคณิตวิเคราะห์ และภาคตัดกรวย ม.4 สรุปเนื้อหาพร้อมตัวอย่างโจทย์
เนื้อหาคณิตศาสตร์ เวกเตอร์ ม.5 มีอะไรบ้าง
เวกเตอร์ ม.5 สรุปทุกเนื้อหา พร้อมโจทย์ วิธีทำ และคลิปติวฟรี!
จำนวนเชิงซ้อนคืออะไร สรุปทุกเนื้อหา
จำนวนเชิงซ้อน ม.5 คืออะไร ? สรุปเนื้อหา พร้อมตัวอย่างโจทย์

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share