สรุปเนื้อหา พระพุทธศาสนา ออกสอบ A-Level สังคม

น้อง ๆ Dek68 รู้กันหรือเปล่าว่าเนื้อหาที่ออกสอบใน A-Level สังคมมีเรื่อง “พระพุทธศาสนา” ด้วยน้า ซึ่งพอได้ยิน
เรื่องนี้ หลายคนก็คงนึกถึงเนื้อหาที่ทั้งเยอะและยากกันอยู่แน่เลยใช่ไหม

แต่ไม่ต้องห่วงน้า เพราะวันนี้พี่ได้สรุปเนื้อหาพระพุทธศาสนาที่ออกสอบใน A-Level สังคมมาให้ทุกคนได้อ่านกันแล้ว รวมถึงมีตัวอย่างข้อสอบจริงให้ฝึกทำ และเทคนิคการเตรียมตัวสอบด้วย ถ้าทุกคนพร้อมแล้วก็ไปอ่านกันเลยยย

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม คือ ไม่เชื่อในพระเจ้าแต่เชื่อในศักยภาพมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้โดยมีพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ค้นพบความจริงของโลกและธรรมชาติ จากนั้นก็นำความจริงนี้มาสอนมนุษย์

A-Level สังคม (พระพุทธศาสนา) ออกสอบอะไรบ้าง ?

ข้อสอบ A-Level สังคม ในพาร์ตศาสนาพุทธ เป็นอีกพาร์ตหนึ่งที่มีเนื้อหาออกสอบค่อนข้างกว้าง และมีสิ่งที่ต้องจำเยอะมาก จนทำให้น้อง ๆ หลายคนไม่รู้ว่าจะเริ่มอ่านจากตรงไหนจนรู้สึกท้อกับการเตรียมสอบพาร์ตนี้ แต่อย่าเพิ่งตัดใจกันน้า เพราะเนื้อหาที่ออกสอบพาร์ตนี้สามารถสรุปออกมาเป็นหัวข้อต่าง ๆ ให้น้อง ๆ ได้อ่านง่ายขึ้นดังนี้เลย

ลักษณะและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา ถือเป็นศาสนาสำคัญของชาติไทยมายาวนาน เป็นบ่อเกิดความเชื่อและวัฒนธรรมหลายอย่าง เช่น ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีการเทศน์มหาชาติ และความเชื่อเรื่องบุญกรรม ทั้งนี้พระพุทธศาสนามีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ที่ควรจำ เช่น

  • ทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล (มีคำสอนที่แสดงถึงเหตุและผล, แนวคิดคล้ายวิทยาศาสตร์)
  • หลักสายกลาง (ไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป)
  • เชื่อว่ามนุษย์เป็นเวไนยสัตว์ (สามารถสั่งสอนได้)

วันสำคัญของพระพุทธศาสนา

น้อง ๆ รู้ไหมว่าวันสำคัญทางศาสนาที่เราได้หยุดเรียนกันนั้นออกสอบใน A-Level สังคมด้วย พี่จะพามาดูกันว่ามีวันไหนบ้างที่น้อง ๆ ควรรู้จัก

  • วันมาฆบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” เพราะเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น 4 อย่าง ได้แก่
    1. พระสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย
    2. พระสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น เอหิกภิขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าบวชให้โดยตรง)
    3. พระสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
    4. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3)
    ทั้งนี้พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งได้แก่ การทำความดี ไม่ทำความชั่ว และทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ในวันนี้ด้วย
  • วันวิสาขบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) ยูเนสโกประกาศให้เป็นวันสำคัญของโลก เพราะเป็นวันพระพุทธ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 อย่าง
    1. วันคล้ายวันประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ที่ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ
    2. วันคล้ายวันตรัสรู้ โดยเจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ที่ใต้ร่มไม้ต้นศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี
    3. วันคล้ายวันปรินิพพาน หลังจากพระพุทธเจ้าได้ประกาศศาสนาและโปรดเวไนยสัตว์ได้ 45 ปี เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา
  • วันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ คือ
    1. พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ถือเป็นวันที่เริ่มประกาศศาสนา
    2. เกิดพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระโกณฑัญญะ
    3. ถือเป็นวันที่พระรัตนตรัยครบถ้วน ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

คัมภีร์ของศาสนา

คัมภีร์สำคัญที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎก ประกอบไปด้วย 3 หมวด ได้แก่

  • พระวินัยปิฎก (ศีลหรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ)
  • พระสุตตันตปิฎก (ชาดกและเรื่องเล่าต่าง ๆ)
  • พระอภิธรรมปิฎก (หลักธรรมชั้นสูง)

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่ออกสอบบ่อย

เรื่องหลักธรรมเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ออกข้อสอบบ่อยมาก ซึ่งพี่ได้รวบรวมและสรุปมาให้น้อง ๆ ดังนี้เลย

  • อิทธิบาท 4 (หลักธรรมแห่งความสำเร็จ) ได้แก่
    – ฉันทะ : ความพอใจ
    – วิริยะ : ความเพียรพยายาม
    – จิตตะ : ความเอาใจใส่
    – วิมังสา : การพิจารณาไตร่ตรอง


  • ฆราวาสธรรม 4 (หลักธรรมแห่งผู้ครองเรือน) ได้แก่
    – สัจจะ : ซื่อสัตย์
    – ทมะ : ฝึกตน ปรับปรุงตน
    – ขันติ : อดทน
    – จาคะ : เสียสละ


  • สังคหวัตถุ 4 (หลักธรรมยึดเหนี่ยวประสานใจให้เกิดความสามัคคี) ได้แก่
    – ทาน : การให้
    – ปิยวาจา : การพูดจาไพเราะ
    – อัตถจริยา : บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
    – สมานัตตตา : การเสมอต้นเสมอปลาย


  • พรหมวิหาร 4 (หลักธรรมของผู้เป็นใหญ่) ได้แก่
    – เมตตา : ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
    – กรุณา : ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์
    – มุทิตา : ยินดีในความเจริญก้าวหน้าของผู้อื่น
    – อุเบกขา : การรู้จักวางเฉยและมีใจเป็นกลาง


  • มรรค 8 (หลักธรรมในการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์) ได้แก่
    – สัมมาทิฐิ : ปัญญาชอบ
    – สัมมาสังกัปปะ : ดำริชอบ
    – สัมมาวาจา : วาจาชอบ
    – สัมมากัมมันตะ : การปฏิบัติชอบ
    – สัมมาอาชีวะ : การเล้ียงชีพชอบ
    – สัมมาวายามะ : เพียรชอบ
    – สัมมาสติ : ระลึกชอบ
    – สัมมาสมาธิ : การตั้งใจไว้ชอบ


  • อปริหานิยธรรม 7 (หลักธรรมแห่งความไม่เส่ือมและเป็นไปเพื่อความเจริญ) ได้แก่
    – หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
    – พร้อมเพรียงกันประชุมและเลิกประชุม
    – เคารพและสักการะบูชาเจดีย์
    – ไม่บัญญัติหรือยกเลิกข้อบัญญัติตามอำเภอใจ
    – เคารพนับถือผู้อาวุโส
    – ไม่ข่มเหงหรือล่วงเกินสตรี
    – ให้ความคุ้มครองพระสงฆ์

ศาสนพิธี

ศาสนพิธีถือเป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของศาสนา น้อง ๆ หลายคนน่าจะเคยไปร่วมงานพิธีต่าง ๆ กันมาบ้าง ซึ่งเนื้อหานี้ก็มีออกสอบเช่นกันน้า ดังนั้นพี่จะพาไปดูกันว่ามีพิธีสำคัญอะไรบ้างที่น้อง ๆ ควรรู้จัก

  • พิธีปวารณาในวันออกพรรษา
    พิธีนี้มีที่มาจากการที่มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งที่จำพรรษาอยู่วัดรอบ ๆ กรุงสาวัตถี เกิดความกลัวว่าจะทะเลาะกันจนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกากันว่าจะนิ่งไม่พูดจากันตลอดสามเดือน

    เมื่อถึงวันออกพรรษา พระภิกษุเหล่านั้นก็ได้พากันเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แล้วกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงตำหนิ และได้ให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกัน (ว่ากล่าวตักเตือนกัน) แทน

    ดังนั้นความสำคัญของพิธีนี้ คือ การเปิดโอกาสให้แก่พระสงฆ์สามารถ แนะนำและกล่าวตักเตือนกันในส่วนที่ผิดพลาด เพื่อจะได้นำไปแก้ไขต่อไป
  • พิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
    พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะเกิดขึ้นหลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศคำสอนของพระองค์แก่ประชาชน และมีผู้ที่ได้รับฟังคำสอนแล้วเกิดศรัทธาเล่ือมใสปฏิบัติตามคำสอนนั้น จึงได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ

    ความสำคัญของพิธีนี้ คือ แสดงให้บุคคลอื่นได้ทราบว่าตนเองจะเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงตลอดไป

พุทธสุภาษิต

พุทธสุภาษิต คือ คำสอน ถ้อยคำ หรือประโยคที่ให้ข้อคิดทางพุทธศาสนา ซึ่งมักจะเขียนด้วยภาษาบาลีสันสฤตที่อาจทำให้น้อง ๆ กังวลว่าจะจำหรือแปลไม่ได้ พี่เลยขอคัดพุทธสุภาษิตที่ควรรู้และจุดสังเกตคำศัพท์มาให้ตามภาพด้านล่างนี้น้า

พุทธสุภาษิตควรรู้ที่อาจออกสอบใน A-Level สังคมพระพุทธศาสนา

ทิศทางแนวข้อสอบ A-Level สังคม (พระพุทธศาสนา) 68

หลังจากที่น้อง ๆ ได้รู้กันแล้วว่าข้อสอบ A-Level สังคม (พระพุทธศาสนา) จะถามครอบคลุมในประเด็นไหนบ้าง ต่อไปพี่จะพามาดูแนวโน้มข้อสอบที่น้อง ๆ Dek68 อาจเจอในสนามจริงกัน

จากข้อมูลที่รุ่นพี่ Dek67 แอบกระซิบมา และจากที่พี่ได้วิเคราะห์แนวข้อสอบย้อนหลังในช่วง 2 – 3 ปีมานี้ ข้อสอบในพาร์ตศาสนามีทั้งหมด 10 ข้อ โดยสัดส่วนคำถามเรื่องพระพุทธศาสนามีถึงประมาณ 7 – 8 ข้อเลย

โดยแนวโจทย์ก็จะเน้นการวิเคราะห์ที่ลึกขึ้นมาก ๆ โดยเฉพาะเรื่องหลักธรรม จะไม่ใช่แค่ถามความจำตรง ๆ ว่าหลักธรรมนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่จะเน้นการตีความจากเพลงหรือบทสนทนา ว่าตรงกับหลักธรรมใด หรือควรนำหลักธรรมใดมาแก้ปัญหา

และในส่วนอื่น ๆ จะเป็นคำถามหลาย ๆ เรื่องมารวมกัน เช่น วันสำคัญ พุทธสาวกพุทธสาวิกา เรียกได้ว่า กว่าจะตอบคำถามได้ 1 ข้อ ต้องใช้ความรู้หลายส่วนมาวิเคราะห์นั่นเอง เพราะงั้นน้อง ๆ ต้องทบทวนเนื้อหาและเช็กความเข้าใจเยอะ ๆ จะได้พร้อมลุยในสนามจริงกันน้า

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level สังคม (พระพุทธศาสนา)

เมื่อน้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่ต้องใช้สอบและทิศทางข้อสอบกันไปแล้ว เพื่อเป็นการอุ่นเครื่องก่อนลงสนามจริง วันนี้พี่เลยมีข้อสอบมาให้ซ้อมทำกัน โดยแต่ละข้อพี่จะบอกเทคนิคการทำไว้ให้ด้วย ไปเริ่มที่ข้อแรกกันเลยยย

ตัวอย่างข้อสอบจริงเรื่องพระพุทธศาสนา
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบ A-Level พระพุทธศาสนา

ตอบ ตัวเลือกที่ 5 เพราะพระพุทธศาสนาเชื่อว่ามนุษย์เป็นไวไนยสัตว์ คือ สามารถสั่งสอนได้ด้วยการศึกษา 3 ประการ หรือที่เรียกว่า “ไตรสิกขา” ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา โดยจะช่วยอบรมมนุษย์เกิดประพฤติทางกายที่ดี เกิดการอบรมจิตให้มีสมาธิและเกิดปัญญาในการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ อย่างรู้แจ้ง

เทคนิคการทำข้อสอบ ในข้อนี้ น้อง ๆ สามารถเชื่อมโยงความหมายของคำที่นำไปสู่คำตอบได้ คือ คำว่า “การศึกษา” กับคำว่า “สิกขา” โดยคำว่า ศึกษา มาจากคำว่า สิกขา ในภาษาบาลี ที่แปลวว่า การอบรม ฝึกฝน เล่าเรียน

ข้อสอบจริงเรื่องพระพุทธศาสนา
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบ A-Level พระพุทธศาสนา

ตอบ ตัวเลือกที่ 4 เพราะจากเนื้อเพลงสื่อถึงความมานะพยายามไปให้ถึงเป้าหมายแม้มีอุปสรรค ซึ่งตรงกับตัวเลือกที่ 4 ด้วยเหตุผลดังนี้

– พุทธสุภาษิต วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา หมายถึง เกิดเป็นคนควรพยายามจนกว่าผลที่หมายจะสำเร็จ

– วันวิสาขบูชา ตรงกับวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีคุณธรรมที่เกี่ยวข้อง คือ เรื่องความเพียรพยายาม เพราะสะท้อนถึงความเพียรพยายามของพระพุทธเจ้าที่ทรงฝึกฝนตนเองเพื่อหาทางพ้นทุกข์เป็นเวลาหลายปีจนได้ตรัสรู้

– ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ เป็นศาสนานิกชนตัวอย่างที่มีความเพียรพยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียและเรียกร้องให้พุทธคยากลับมาอยู่ในความดูแลของ ชาวพุทธจนเป็นผลสำเร็จ

เทคนิคการทำข้อสอบ น้อง ๆ สามารถเดาความหมายจากพุทธสุภาษิตได้ คือ คำว่า “วาย” หมายถึง ความพยายามชอบ ที่คล้ายกับคำว่า “สัมมาวายามะ” ในมรรค 8 ซึ่งมีความหมายเดียวกัน

ตัวอย่างข้อสอบเก่าเรื่องพระพุทธศาสนา
อธิบายเฉลยตัวอย่างข้อสอบ A-Level พระพุทธศาสนา

ตอบ ตัวเลือกที่ 4 เนื่องจาก การปวารณา คือ การอนุญาตให้พระสงฆ์ที่จำพรรษาร่วมกันตลอด 3 เดือน สามารถชี้แนะและว่ากล่าวตักเตือนในสิ่งที่อีกฝ่ายประพฤติไม่ถูกต้องตามพระวินัยด้วยจิตเมตตา เพื่อให้ผู้ถูกตักเตือน
รับทราบข้อบกพร่องของตัวเอง แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไข

เทคนิคการทำข้อสอบ คำศัพท์สำคัญที่น้อง ๆ ควรรู้เลย คือ การปวารณา ซึ่งถือเป็นสังฆกรรม หมายถึง กิจของสงฆ์ที่พึงกระทำ ไม่ใช่กิจของฆราวาส แต่เราในฐานะประชาชนทั่วไปก็สามารถนำแนวทางไปปรับใช้เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขได้เช่นกันน้าา

หลังจากที่ได้ลองทำข้อสอบจริงกันไปแล้ว น้อง ๆ อาจจะสังเกตแล้วว่าเนื้อหาพระพุทธศาสนาที่ออกสอบใน A-Level สังคมมักเน้นที่การนำความรู้มาวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามต่าง ๆ

ดังนั้นหลังจากที่น้อง ๆ อ่านเนื้อหาพาร์ตนี้จบแล้ว พี่แนะนำให้ทุกคนลองฝึกทำข้อสอบกันเยอะ ๆ เพื่อที่จะได้รู้แนวคำถามที่มักออกสอบ และยังช่วยฝึกการวิเคราะห์ของเราให้แม่นยำมากขึ้นนั่นเอง

แต่ถ้าใครลองทำข้อสอบดูแล้วก็ยังเจอจุดที่ไม่เข้าใจ หรืออยากได้คนช่วยไกด์ในการเตรียมสอบA-Level สังคม หรือ
A-Level วิชาอื่น ๆ ให้ทันเวลาและมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

พี่ขอแนะนำคอร์สเรียนพิเศษสนาม A-Level ของ SmartMathPro ที่มีทั้ง A-Level คณิต 1,2 / A-Level ภาษาอังกฤษ
/ A-Level ฟิสิกส์ / A-Level ภาษาไทย / A-Level สังคมเลยน้าา

โดยสำหรับใครที่ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนได้ เพราะพี่สอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน ไปจนถึงพาทำโจทย์ตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงความยากใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย แถมเทคนิคอีกเพียบที่จะช่วยให้น้องทำข้อสอบได้เร็วขึ้นด้วย

แนะนำว่ายิ่งเริ่มเตรียมตัวสอบเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งพร้อมมากกว่าใครน้า เพราะปีนี้สนามสอบ A-Level เลื่อนมาสอบไวขึ้น น้อง ๆ จะได้มีเวลาทบทวนเนื้อหาและฝึกทำโจทย์เสริมแกร่งได้นั่นเอง ที่สำคัญ ถ้าสมัครคอร์สตั้งแต่ตอนนี้พี่มี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ 1 ชุด แถมฟรีไปให้ลองทำพร้อมสิทธิพิเศษประจำเดือนอีกมากมายด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจคอร์สเตรียมสอบ A-Level สามารถ คลิก เข้ามาดูรายละเอียดได้เลยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุปเนื้อหาสังคม เศรษฐศาสตร์จุลภาค
เศรษฐศาสตร์จุลภาคคืออะไร? สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์พร้อมข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหาสังคม เรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาค
เศรษฐศาสตร์มหภาค สรุปเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์พร้อมข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหาสังคม เรื่องประวัติศาสตร์สากล
ประวัติศาสตร์สากล สรุปเนื้อหาประวัติศาสตร์ พร้อมข้อสอบจริง
สรุปเนื้อหาสังคม ม.ปลาย ประวัติศาสตร์ไทย
ประวัติศาสตร์ไทย มีอะไรบ้าง? สรุปเนื้อหาพร้อมข้อสอบจริงให้ฝึกทำ
A-Level สังคม ภูมิศาสตร์ ออกสอบอะไรบ้าง
A-Level สังคม (ภูมิศาสตร์) ออกสอบอะไร ? พร้อมตัวอย่างข้อสอบจริง
ก่อนสอบ A-Level สังคมต้องรู้อะไรบ้าง
ก่อนสอบ A-Level สังคม Dek68 ต้องรู้อะไรบ้าง ? สรุปครบในบทความนี้
สังคม ม.ปลาย ม.4 ม.5 ม.6 เรียนเรื่องอะไรบ้าง สรุปเนื้อหาสังคม ม.ปลาย ครบทุกกลุ่มสาระ
สรุป สังคม ม.ปลาย (ม.4 ม.5 ม.6) เรียนอะไรบ้าง ? – SmartMathPro

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share