TPAT3 ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

Dek68 ที่จะสอบ TPAT3 อาจเคยได้ยินมาว่า TPAT3 มีออกสอบเกี่ยวกับข่าวสารและความรู้ทั่วไป ซึ่งเป็นพาร์ตที่มีเนื้อหาค่อนข้างกว้าง ทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่าจะออกสอบประมาณไหน หรือมีข่าวอะไรที่ควรรู้ไว้บ้าง ทำให้เตรียมสอบได้ยากมาก

น้อง ๆ คนไหนที่กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่ วันนี้พี่ได้รวบรวมข่าวสารที่อาจจะออกสอบใน TPAT3 ความสนใจข่าวสาร
ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ของปี 68 มาให้แล้ว พร้อมตัวอย่างข้อสอบให้ฝึกทำและวิธีเตรียมตัวสอบ ใครจะสอบ TPAT3 ไปอ่านพร้อมกันเลยยย

TPAT3 คือ หนึ่งในข้อสอบ TPAT ที่วัดความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ โดยคะแนน TPAT3 สามารถใช้ยื่นคณะกลุ่มวิศวะ, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และอื่น ๆ ได้ ซึ่ง TPAT3 แบ่งเป็น 2 พาร์ตใหญ่ คือ

1. การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

2. การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

สำหรับบทความนี้พี่จะขอพูดเรื่อง TPAT3 พาร์ตข่าวสาร ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ออกสอบในส่วนที่ 2 การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์นั่นเอง โดยพาร์ตนี้จะมีเนื้อหาอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่หัวข้อถัดไปได้เลยยย

TPAT3 ความสนใจข่าวสารความรู้ฯ ออกสอบอะไรบ้าง ?

ข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความสนใจข่าวสารความรู้ฯ เป็นข้อสอบที่ทดสอบความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวสาร ความรู้รอบตัว รวมถึงเรื่องราวเหตุการณ์ปัจจุบันทั้งในและต่างประเทศ

ซึ่งข่าวสารที่ข้อสอบยกมาจะเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม โดยพี่
ขอบอกเลยว่า ข้อสอบพาร์ตนี้ไม่เพียงแต่ทดสอบเรื่องความรู้ทั่วไปเท่านั้น แต่ยังวัดการติดตามข่าวสาร การวิเคราะห์
และการเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างมีวิจารณญาณของน้อง ๆ ด้วยน้าาา

เนื้อหาของพาร์ตนี้จึงมักมาจากเหตุการณ์และความรู้ที่เป็นกระแสเกี่ยวข้องกับสังคม การรู้เท่าทันข่าวสารและเหตุการณ์สำคัญในปีที่สอบ วันนี้พี่จึงรวบรวมและสรุปข่าวสารสำคัญในปี 2024 ที่เป็นกระแสและน่าสนใจมาให้ โดยขอแบ่งเป็นหมวดหมู่ข่าวสารเพื่อให้น้อง ๆ จดจำได้ง่ายขึ้น เป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่

1. ด้านวิทยาศาสตร์
2. ด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
3. ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

ซึ่งพี่ก็ได้ยกตัวอย่างข่าวสารที่ควรรู้แต่ละหมวดมาให้แล้ว โดยน้อง ๆ สามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละข่าวได้จาก Keyword ที่พี่ทำตัวสีแดงไว้น้า

TPAT3 ข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์

ข่าวสารที่อาจจะออกสอบใน TPAT3 ข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์

Dark oxygen ผลิตออกซิเจนได้เองโดยไม่ใช้แสง

นักวิทยาศาสตร์พบก้อนโลหะกลมขนาดใกล้เคียงมันฝรั่งบริเวณใต้ทะเลลึกที่แสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง โดยเจ้าก้อนโลหะกลมนี้สามารถแยกองค์ประกอบของน้ำ ให้กลายเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนได้ คล้ายกับการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า โดยไม่ต้องใช้พลังงานแสง จึงเรียกออกซิเจนที่เกิดขึ้นว่า Dark oxygen หรือ ออกซิเจนมืด

 


 

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ รากฐานสำคัญของ AI ใน ChatGPT

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2024 ได้แก่ ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ ฮินตัน และศาสตราจารย์จอห์น ฮอปฟีลด์ จากงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของสมองกลด้วยเครือข่ายประสาทเทียม (Machine learning)

ซึ่งเป็นกระบวนการที่พัฒนาให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้รู้จักฝึกฝนตนเอง เพื่อที่จะผลิตข้อมูลออกมาได้ตามต้องการ โดยใช้ความรู้ทางฟิสิกส์เชิงสถิติ (Statistical physics) และฟิสิกส์สสารควบแน่น (Condensed matter physics)

โดยผลงานนี้เป็นกุญแจสำคัญที่เปิดทางไปสู่การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial Intelligence – AI)
ในปัจจุบัน

 


 

พายุสุริยะรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี เยือนโลกในปี 2024

ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2024 เกิดพายุสุริยะรุนแรง โดยมีความรุนแรงระดับ G5 (รุนแรงที่สุด) ซึ่งส่งผล
กระทบต่อการทำงานของดาวเทียมและหม้อแปลงไฟฟ้าในประเทศแถบขั้วโลก แต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์บนโลก สำหรับผู้ที่อยู่ในแถบละติจูดสูง ๆ จะสามารถชมแสงออโรราได้อย่างชัดเจน

 


 

พบ ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส โคจรใกล้โลก

ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ถูกค้นพบจากภาพถ่ายของหอดูดาวจื่อจินซาน ประเทศจีน และภาพถ่ายของโครงการแอตลัส (ATLAS : Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System) ซึ่งเป็นโครงการค้นหาวัตถุที่อาจพุ่งชนโลก โดยดาวหางนี้จะปรากฏในท้องฟ้าช่วงค่ำตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม และใกล้โลกที่สุดวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าเมื่อฟ้าเปิด

TPAT3 ข่าวสารด้านเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

ข่าวสารที่อาจจะออกสอบใน TPAT3 ข่าวสารด้านเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

ปัญหาทางเทคนิค ยาน Starliner ของ Boeing

Starliner เป็นโครงการทดสอบยานอวกาศสำหรับส่งนักบินอวกาศไปกลับจากสถานีอวกาศ นานาชาติ แต่ยาน Starliner นี้ยังประสบปัญหาทางเทคนิคหลายครั้งซึ่งมีสาเหตุหลัก คือ การตรวจพบปัญหาการรั่วไหลของแก๊สฮีเลียม และการทำงานผิดปกติของตัวขับเคล่ือน

ซึ่งส่งผลให้นักบินอวกาศไม่สามารถกลับสู่โลกพร้อมยาน Starliner ได้ โดย NASA มีแผนให้นักบินอวกาศ ที่เดินทางไปกับ Starliner กลับสู่โลกด้วยยาน Crew Dragon ของ SpaceX ในช่วงต้นปีหน้าแทน

 


 

SpaceX ทดสอบ จอดชิ้นส่วนขับดันของจรวดที่ใช้งานแล้วด้วยแขนกล ได้สำเร็จ !

จรวด Super Heavy สำหรับนำส่งยาน Starship สามารถกลับมาลงจอดเทียบบนแท่นปล่อยยานได้ โดยลดความเร็วด้วยเครื่องยนต์พยุงลงจอดและถูกจับด้วยแขนกล Chopsticks ที่ติดตั้งไว้กับแท่นปล่อยจรวด ส่งผลให้จรวดกลับมายังฐานปล่อยหลังจากการทดสอบ ได้สำเร็จ

เหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรกที่ SpaceX ประสบความสำเร็จในการใช้แขนกลจับจรวด ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญตามเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการทำให้จรวด Super Heavy สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้เต็มรูปแบบ


 

Voyager ยานอวกาศที่เดินทางไกลที่สุดของมนุษยชาติ

โครงการ Voyager ประกอบด้วยยาน Voyager 1 และ Voyager 2 ที่ถูกส่งขึ้นในปี 1977 เพื่อสำรวจระบบสุริยะ โดยมุ่งเน้นที่การศึกษาดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ นอกจากนี้ยาน Voyager 2 ยังสามารถส่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ก่อนที่ยานทั้งสองจะเคล่ือนที่ออกนอกระบบสุริยะ

ในปัจจุบันยานทั้งสองยังสามารถทำงานได้ดีและส่งข้อมูลจากสุดขอบระบบสุริยะ (Heliosphere) ซึ่งมีความสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของอวกาศและพัฒนาความรู้ทางดาราศาสตร์มากขึ้น โดยการเดินทางอันแสนยาวนานของ Voyager มีอายุกว่า 47 ปีแล้ว

 


 

ฉางเอ๋อ-6 กลับถึงโลก

ยานสำรวจฉางเอ๋อ-6 เป็นยานอวกาศไร้ลูกเรือ ขององค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ลงแตะพื้นบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ที่เราไม่สามารถมองเห็นจากโลกได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมหินและดินจากภูมิภาคนี้ของดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย พร้อมกับตัวอย่างหินที่ถูกบรรจุอยู่ในแคปซูล เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ไว้ให้ได้มากที่สุด

 


 

Gen AI นวัตกรรมสร้างสรรค์อัตโนมัติ

Gen AI (Generative Artificial Intelligence) คือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาขึ้น เพื่อสร้างเนื้อหาใหม่โดยอัตโนมัติ โดยเทคโนโลยีนี้ช่วยให้ระบบสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาในหลายรูปแบบ จากข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ

Generative AI ที่น่าสนใจแบ่งประเภทตามการใช้งานได้ดังนี้

1. สร้างรูปภาพ (Image Generation) เช่น DALL-E, Mid Journey, Adobe Firefly

2. สร้างเสียง (Speech Generation) เช่น Voiceover

3. สร้างข้อความ ถาม / ตอบ (Text Generation) เช่น ChatGPT, Gemini, Claude, Jasper, Copilot

4. สร้างวิดีโอและ 3D (Video and 3D Generation) เช่น Synthesia

5. สร้างโค้ด (Code Generation) เช่น GitHub

 


 

วิกฤตการอัปเดตซอฟต์แวร์ของ CrowdStrike

บริษัทหลายแห่งที่ใช้บริการซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ “Falcon Sensor” ของบริษัท CrowdStrike เกิดความขัดข้องในการอัปเดตซอฟต์แวร์ ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows และติดตั้งซอฟต์แวร์ “Falcon Sensor” แสดงหน้าจอสีฟ้า (Blue Screen of Death) และหยุดทำงานทันที

เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อองค์กรทั่วโลก ทำให้การดำเนินงานหยุดชะงักและอาจสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจหลายล้านดอลลาร์ เช่น สายการบิน ที่เสียหายอย่างหนัก จำเป็นต้องยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมาก และมีการฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายจากบริษัท CrowdStrike จนถึงปัจจุบัน

 


 

Delta Work ระบบป้องกันน้ำท่วมที่ดีที่สุดในโลก

ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองแห่งหนึ่งที่ภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ทำให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้บาดาล จึงมีการดำเนินการระบบป้องกันน้ำท่วม

โดยสร้างเขื่อนและประตูระบายน้ำขนาดใหญ่แบบอัตโนมัติที่ควบคุมระดับน้ำไม่ให้ไหลเข้าสู่ที่ลุ่ม และที่อยู่ของประชาชน พร้อมระบบเตือนภัยล่วงหน้าแบบเรียลไทม์ ที่ช่วยให้คาดการณ์ ความรุนแรงและเตรียมอพยพได้ทัน

TPAT3 ข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงาน

ข่าวสารที่อาจจะออกสอบใน TPAT3 ข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงาน

Carbon neutrality กับ Net zero emissions ต่างกันอย่างไร ?

Net zero emissions คล้ายกับ Carbon neutrality แต่เป็นมิติที่กว้างกว่าแค่การปล่อยคาร์บอน เนื่องจาก Carbon neutrality หมายถึง การลดและชดเชยการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ (\textrm C\textrm O_{2}) ให้สมดุลกับการดูดซับคาร์บอนกลับมา

ขณะที่ Net zero emissions เป็นการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด (เช่น \textrm C\textrm O_{2}, \textrm C\textrm H_{4}, \textrm N_{2}\textrm O) ให้เป็นศูนย์ ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน โดยหากบรรลุเป้าหมายทั้งสองส่วนนี้ได้จะช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลก

 


 

สหราชอาณาจักรปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งสุดท้าย

โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งสุดท้าย “แรตคลิฟฟ์-ออน-ซอร์” (Ratcliffe-on-Soar) ของสหราชอาณาจักร ถูกปิดตัวลง ตามเป้าหมายมุ่งสู่ Carbon neutrality ภายในปี 2050 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลังใช้พลังงานฟอสซิลมายาวนานกว่า 142 ปี

โดยการเปล่ียนผ่านสู่ยุคของพลังงานสะอาดหันมาพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ซึ่งการเปล่ียนแปลงครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการลดผลกระทบต่อการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 


 

FloWatt กังหันผลิตไฟฟ้าใต้ทะเล ผลิตไฟฟ้าจากน้ำขึ้นน้ำลง

FloWatt เป็นโครงการฟาร์มพลังงานน้ำที่พัฒนาโดย HydroQuest ซึ่งใช้กังหันผลิตไฟฟ้าใต้ทะเลสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งจะถูกติดตั้งบริเวณกระแสน้ำที่แรงที่สุดของหาดนอร์มังดี ที่เรียกว่า Raz Blanchard ของประเทศฝรั่งเศส

โดยตัวกังหันจะนำไปติดตั้งห่างจากชายฝั่ง 3 กิโลเมตร ที่ระดับความลึก 30 – 35 เมตร จึงทำให้กังหันไม่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ไม่รบกวนทัศนียภาพ และไม่ส่งเสียงรบกวนขณะทำงาน โดยโครงการนี้จะมีกำหนดเริ่มผลิตไฟฟ้าปี 2026

 


 

Rain Bomb เมื่อฝนตกลงมาพร้อมกันเป็นจำนวนมากจนเหมือน “ฟ้ารั่ว”

Rain Bomb หรือ ระเบิดฝน คือปรากฏการณ์ฝนตกหนักอย่างฉับพลันเป็นปริมาณมากภายในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดมากขึ้น เนื่องจากการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์ลานีญา โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้เกิดการระเหยของน้ำในมหาสมุทรมากขึ้น

ส่งผลให้อากาศมีความชื้นสูง เมื่อความชื้นในอากาศสะสมจนถึงจุดอิ่มตัว จะทำให้เกิดฝนตกลงมาพร้อมกันเป็นจำนวนมาก และสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

 


 

ปลาหมอคางดำระบาดในไทย เส่ียงทำลายระบบนิเวศ – เศรษฐกิจท้องถิ่นเสียหายหนัก

ปลาหมอคางดำ หรือปลาจากแอฟริกา กำลังระบาดหนักในหลายจังหวัดของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือ เอเลียน สปีชีส์ (Alien Species) การแพร่พันธุ์ที่รวดเร็วและการกินไข่ของปลาชนิดอื่นทำให้ปลาหมอคางดำเข้ายึดครองแหล่งน้ำ

ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่บางแห่ง ประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก เนื่องจากสัตว์น้ำพื้นถิ่นลดจำนวนลงอย่างมาก สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำและเศรษฐกิจท้องถิ่น

ทั้งหมดนี้เป็นข่าวสารที่น่าสนใจ และอาจจะออกข้อสอบ TPAT3 ในปี 68 ที่พี่ได้สรุปและรวบรวมไว้ให้ และพี่ขอย้ำอีกทีว่า นอกจากข่าวที่พี่รวบรวมมานี้ น้อง ๆ ต้องติดตามข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วยน้า

ตัวอย่างแนวข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความสนใจข่าวสารความรู้ฯ

โจทย์ TPAT3 พาร์ตข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์

เฉลย 5. ออกซิเจนที่ผลิตได้เองโดยไม่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์

ก้อนโลหะกลมขนาดใกล้เคียงมันฝรั่งที่อยู่บริเวณใต้ทะเลลึกที่แสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง ที่สามารถแยกองค์ประกอบของน้ำ ให้กลายเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนได้ โดยไม่ต้องใช้พลังงานจากแสง เรียกว่า Dark oxygen หรือ ออกซิเจนมืด

โจทย์ TPAT3 พาร์ตด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์

เฉลย 4. Botnoi Voice

การทำงานของ Botnoi Voice ใช้ AI ในการสร้างเสียงสังเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ แต่ไม่ถือเป็น Generative AI เนื่องจากเป็นการแปลงข้อความที่มีอยู่ให้เป็นเสียงเท่านั้น

ในขณะที่ตัวเลือกข้ออื่น ๆ ถือเป็น Generative AI ทั้งหมด เช่น Voiceover เป็น AI ในการสร้างเสียงสังเคราะห์เช่นเดียวกัน แต่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ โดยสามารถวิเคราะห์ลักษณะการพูดและน้ำเสียงของมนุษย์เพื่อสร้างเสียงที่ปรับแต่งได้ รวมถึงสามารถเลือกสำเนียงและน้ำเสียงตามที่ต้องการได้

โจทย์ TPAT3 พาร์ตด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

เฉลย 3. ทำให้ระบบการทำงานของ Microsoft Windows ขัดข้อง และหยุดทำงานทันที

ซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Falcon Sensor ของบริษัท CrowdStrike เกิดความขัดข้องในการอัปเดตซอฟต์แวร์ ส่งผลให้คอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows และติดตั้งซอฟต์แวร์ Falcon Sensor แสดงหน้าจอสีฟ้า (Blue Screen of Death) และหยุดทำงานทันที

วิธีการเตรียมตัวสอบ TPAT3 ความสนใจข่าวสารความรู้ฯ

เช็กและติดตามข่าวสารบ่อย ๆ

พี่แนะนำให้น้อง ๆ เก็บเกี่ยวความรู้ทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ เช่น ผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ความรู้ด้าน
สิ่งแวดล้อมและพลังงาน รวมทั้งติดตามข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นในปีนี้เอาไว้น้า

สำหรับการทำข้อสอบ TPAT3 พาร์ตความสนใจข่าวสารความรู้ฯ เป็นส่วนที่พี่แนะนำให้น้องหยิบขึ้นมาทำก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากเป็นเรื่องที่เราอาจรู้หรือไม่รู้เลยทำให้สามารถเลือกตอบได้ทันที ใช้เวลาในการทำน้อยกว่าพาร์ตอื่น ๆ

ฝึกมองโจทย์หลายแนว

การฝึกเห็นโจทย์หลายแนว จะช่วยให้น้อง ๆ ได้เห็นแนวคิดในการทำโจทย์ที่แตกต่างกัน พี่แนะนำให้ฝึกทำข้อสอบเกี่ยวกับข่าวสาร ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ จากข้อสอบ TPAT3 ในปีก่อนหน้านี้หรือ Mock Test TPAT3 เพื่อสังเกตแนวคิด ลักษณะของคำถาม

เมื่อเห็นโจทย์บ่อย ๆ พี่เชื่อว่าน้อง ๆ จะเข้าใจรูปแบบข้อคำถาม และสังเกตเห็นเนื้อหาที่น่าสนใจเมื่อต้องสำรวจข่าวสาร
ใหม่ ๆ ของปีนี้

ฝึกทำโจทย์

ขณะที่น้อง ๆ ฝึกทำโจทย์แนวข้อสอบ Mock Test TPAT3 พี่แนะนำให้จำลองการสอบโดยการจับเวลาและจัดบรรยากาศรอบตัวให้เหมือนอยู่ในห้องสอบจริงดูน้าาา

โดยขณะจำลองการสอบน้อง ๆ ไม่ควรนอนทำข้อสอบ, เปิดทีวี, ใช้โทรศัพท์มือถือ, ฟังเพลง หรือกินขนมไปด้วย แต่ควรจำลองสภาพแวดล้อมรอบตัวให้ใกล้เคียงห้องสอบจริงมากที่สุดเพื่อให้คุ้นชินกับบรรยากาศของห้องสอบมากยิ่งขึ้น

ดูความถนัดและข้อผิดพลาดในการทำข้อสอบ

หลังจากทำข้อสอบจำลองเสร็จแล้วน้อง ๆ ควรดูและจดข้อผิดพลาดของตนเองไว้ด้วย เพราะการจดข้อผิดพลาดของ
ตัวเองจะช่วยให้น้อง ๆ รู้ว่าพาร์ตไหนที่ตัวเองยังไม่ค่อยแม่น ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำข้อสอบเมื่อน้อง ๆ ได้เจอข้อสอบจริง และเพิ่มโอกาสในการทำคะแนนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ให้น้อง ๆ ลองสังเกตว่าตัวเองถนัดพาร์ตไหนมากที่สุด ใช้เวลาในการทำข้อสอบแต่ละพาร์ตมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยให้เราวางแผนได้ว่า พาร์ตไหนควรทำก่อนหรือทำหลังนั่นเองงง

ดูคลิปติวฟรี TPAT3 พาร์ตความสนใจข่าวสารความรู้ฯ

ติดตามคลิปติว TPAT3 พาร์ตอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ทาง YouTube Channel : SmartMathPro

ทั้งหมดนี้คือเนื้อหาของ TPAT3 พาร์ตข่าวสารที่พี่รวบรวมมาให้ทุกคนอ่านกันน้า จะเห็นว่าพาร์ตนี้มีเนื้อหาที่ค่อนข้างกว้างเลย และเรื่องที่ออกสอบอาจเปล่ียนแปลงไปตามข่าวสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ ด้วย

ดังนั้นการติดตามข่าวสารในด้านดังกล่าวที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศจะช่วยเพิ่มโอกาสให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้มาก
ยิ่งขึ้น เพราะอาจเจอเรื่องนั้น ๆ ในห้องสอบ เรียกได้ว่ายิ่งรู้เยอะเท่าไร ยิ่งดีกับตัวน้อง ๆ น้า

แต่สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ไม่อยากติดตามข่าวสารที่อาจออกใน TPAT3 เอง เพราะกลัวตกหล่นข่าวสารสำคัญไป รวมถึงอยากเตรียมสอบพาร์ตอื่น ๆ ของ TPAT3 ด้วย พี่ก็ขอแนะนำคอร์สเตรียมสอบเข้าคณะกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นอกจากจะใช้ยื่นคะแนนแล้ว ยังเป็นพื้นฐานที่จะใช้ต่อยอดในการเรียนมหาลัยฯ ได้ด้วย

โดยในคอร์สที่จะสอนเนื้อหาละเอียด พร้อมพาลุยโจทย์แบบไต่ระดับตั้งแต่ข้อง่าย ๆ ไปจนถึงข้อสอบแข่งขัน นอกจากนี้ยังอัปเดตข้อสอบปีล่าสุดและโจทย์ที่พี่ ๆ ทีมวิชาการแต่งขึ้น อิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุดด้วย พร้อมเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยอัปคะแนนและทำข้อสอบได้ทันเวลาอีกน้าา 

แถมยังมี Unseen Mock Test ชุดพิเศษแจกฟรีและอัปเดตข่าวในคอร์ส TPAT3 ให้ด้วย สมัครตอนนี้แอบกระซิบว่ามีสิทธิพิเศษและโปรโมชันพิเศษประจำวันเดือน !! ใครสนใจ คลิก ไปดูรายละเอียดได้เลยยย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

สรุป TPAT3 การทดสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมโจทย์และเฉลย
สรุป TPAT3 การทดสอบความถนัดฯ พร้อมตัวอย่างข้อสอบฟรี !!
TPAT3 ความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
สรุป TPAT3 ความคิดและความสนใจฯ พร้อมตัวอย่างข้อสอบให้ฝึกทำ
TPAT3 เข้าคณะอะไรได้บ้าง
TPAT3 เข้าคณะอะไรได้บ้าง? รวมให้ถึง 25 มหาลัยที่ Dek68 ห้ามพลาด!
TGAT TPAT คืออะไร? Dek68 ต้องสอบ TGAT TPAT ไหม ? สรุปครบในบทความนี้
TGAT TPAT คืออะไร? มีอะไรบ้าง? สรุปพร้อมแจกแนวข้อสอบและคลิปติว
A-Level คืออะไร
A-Level 68 คืออะไร? มีวิชาอะไรบ้าง? สรุปพร้อมคลิปติวโค้งสุดท้าย
สรุป tcas68 อ้างอิงจาก tcas67
ระบบ TCAS คืออะไร ? มีกี่รอบ ? ใครจะสอบ TCAS68 ควรอ่าน !
กำหนดการ TCAS68
TCAS68 สอบวันไหน? ลงทะเบียน MyTCAS68 เมื่อไหร่? สรุปตารางสอบ Dek68 ฉบับอัปเดตล่าสุด

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro

Tiktok : @pan_smartmathpro

Lemon8 : @pan_smartmathpro

Share