น้อง ๆ Dek68 ที่มีแพลนจะสอบ TPAT1 กสพท 68 เริ่มแพลนอ่านหนังสือกันไปถึงไหนแล้วว ? พี่เดาว่าน่าจะมีทั้งคนที่เริ่มแพลนแล้วและคนที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงดีอยู่แน่เลยย แต่ไม่เป็นไรน้า สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงดี วันนี้พี่ก็มีเรื่องควรรู้, เทคนิคการทำข้อสอบ, เทคนิคการแบ่งเวลา และตารางอ่านหนังสือ TPAT1 มาฝากกัน ซึ่งรายละเอียดจะเป็นยังไง
ไปดูเลยยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleรวมเรื่องควรรู้ก่อนสอบ TPAT
ลักษณะข้อสอบ TPAT1
- TPAT1 ความถนัดแพทย์ กสพท เป็นการวัดความถนัดของเราในมิติที่หลากหลาย เพื่อพิจารณาว่าเราเหมาะในวิชาชีพนี้หรือไม่
- แนวข้อสอบ TPAT1 ความถนัดแพทย์ ของ กสพท จะไม่มีการประกาศแนวข้อสอบล่วงหน้า หากมีการเปลี่ยนแปลง น้อง ๆ จะรู้ได้จากการสอบจริงเท่านั้น
TPAT1 สอบอะไรบ้าง ?
TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา
- มี 45 ข้อ เวลาสอบ 75 นาที เฉลี่ยเวลาข้อละ 1 นาที 40 วินาที
- ข้อสอบเป็นปรนัย 5 ตัวเลือก ทุกข้อคะแนนเท่ากัน คะแนนรวม 100 คะแนน
- มีส่วนเชาวน์เลขและส่วนเชาวน์ไทย
TPAT1 พาร์ตจริยธรรมแพทย์
- จำนวนข้อสอบแต่ละปียังไม่นิ่ง อ้างอิงจากข้อสอบ TPAT1 ของปี 67 ข้อสอบมี 55 ข้อ ซึ่งเท่ากับของปี 66 แต่ในปี 65 มี 60 ข้อ
- ข้อสอบเป็นปรนัย 5 ตัวเลือก มีคำตอบที่ถูกเพียงข้อเดียว ทุกข้อคะแนนเท่ากัน คะแนนรวม 100 คะแนน เวลาสอบ 60 นาที
- ข้อสอบมักแบ่งเป็น 2 แบบ คือ เหตุการณ์ทางการแพทย์และเหตุการณ์ทั่วไป โดยสัดส่วนจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี
TPAT1 พาร์ตความคิดเชื่อมโยง
- อ้างอิงจากข้อสอบ TPAT1 ของปี 67 ข้อสอบจะเป็นบทความเพียงบทความเดียว แต่ยาว 2 หน้ากระดาษ ใช้เวลาทำข้อสอบ 60 นาที
- โจทย์จะกำหนด 20 ข้อความที่ซ่อนอยู่ในบทความ น้อง ๆ จะต้องสรุปความเชื่อมโยงว่าแต่ละข้อความมีความเกี่ยวข้องกันยังไงบ้าง
หมายเหตุ : อ้างอิงจากข้อสอบ TPAT1 กสพท ปี 67
เริ่มอ่าน TPAT1 ยังไงดี ?
หลังจากที่ได้รู้เกี่ยวกับข้อสอบ TPAT1 กันแบบคร่าว ๆ ไปแล้วก็มาถึงการเริ่มอ่านเพื่อเตรียมสอบบ้าง สำหรับใครที่ไม่รู้จะเริ่มยังไง พี่สรุปมาให้แล้ว เริ่มแพลนตามนี้ได้เลยน้า
เก็บเนื้อหา TPAT1 ตามที่น้อง ๆ ถนัด
สำหรับลำดับการเก็บเนื้อหาในแต่ละพาร์ต อาจเริ่มจากเรื่องที่ถนัดก่อนก็ได้ แต่ถ้าใครไม่รู้จะเริ่มยังไง พี่ก็สรุปมาให้แล้ว ให้น้อง ๆ ไล่ทบทวนไปทีละหัวข้อ และอย่าลืมกลับมาทบทวนหัวข้อที่เก็บแล้วทุกครั้งน้า จะได้ไม่ลืม
TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา
- โจทย์ปัญหา (ร้อยละ, อัตราส่วน)
- ตรรกศาสตร์
- การวิเคราะห์เงื่อนไขของข้อมูล
- การใช้ภาษา (การวิเคราะห์คำศัพท์, การแบ่งกลุ่มคำศัพท์ที่กำหนด)
- การจับใจความ (จับใจความ, ตีความ, สรุปความ)
- อุปมาอุปไมย
- มิติสัมพันธ์
- อนุกรมภาพ
- อนุกรมมิติ
หมายเหตุ : TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปี 67 ไม่ได้ออกเรื่องอุปมาอุปไมย, มิติสัมพันธ์, อนุกรมภาพ และอนุกรมมิติ แต่อยากให้น้อง ๆ เตรียมตัวไว้น้า เผื่อปี 68 จะกลับมาออกอีกครั้ง
TPAT1 พาร์ตจริยธรรมแพทย์
- จริยธรรมแพทย์ : สรุปข้อบังคับแพทยสภา, หลักจริยธรรมแพทย์ทั่วไป และประเด็นอื่น ๆ ด้านจริยธรรมทางการแพทย์ที่น่าสนใจ
- จริยธรรมทั่วไป : ข้อสอบที่วัดจริยธรรมของน้อง ๆ ในสถานการณ์ทั่วไป หรือสถานการณ์ที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงสถานการณ์จากข่าวดังในรอบปีที่น้อง ๆ สอบ
TPA1 พาร์ตความคิดเชื่อมโยง
- ข้อสอบพาร์ตเชื่อมโยงจะเป็นบทความเพื่อวัดความสามารถในการอ่าน, คิดวิเคราะห์ และการจับใจความ ดังนั้นให้น้อง ๆ ทำความเข้าใจข้อสอบจากการอ่านบทความและฝึกเชื่อมโยงข้อความ
- ศึกษาสัญลักษณ์ในข้อสอบที่ใช้แทนความสัมพันธ์ระหว่างข้อความ
ฝึกทำโจทย์และทำข้อสอบ TPAT1
เริ่มจากตะลุยโจทย์แบบทีละหัวข้อก่อน แล้วค่อยลุยโจทย์แบบหลายหัวข้อพร้อมกัน โดยตัวอย่างโจทย์นี้น้อง ๆ สามารถดาวน์โหลดจากคลังข้อสอบ หรือหาแนวโจทย์ที่มีความใกล้เคียงจริงมาฝึกทำเพื่อให้คล่องมือ จากนั้นให้น้อง ๆ ฝึกทำข้อสอบเก่า หรือ Mock Test โดยให้เริ่มฝึกแบบไม่จับเวลาก่อน พอเริ่มคล่องแล้วก็ค่อยลองทำข้อสอบแบบจับเวลาดูน้าาา
ส่วนจะเริ่มเก็บพาร์ตไหนก่อน พี่แนะนำว่าให้เริ่มจากพาร์ตที่น้อง ๆ มองว่าต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจเยอะ เช่น
พาร์ตเชาวน์เชาวน์ปัญญา เพราะในพาร์ตเชาวน์เลข น้อง ๆ จะต้องกลับไปทวนคณิตศาสตร์พื้นฐานกันเยอะเลย หรือจะพาร์ตความคิดเชื่อมโยงที่จะต้องฝึกทักษะการอ่านบทความ การอ่านจับใจความหรือทำความเข้าใจสัญลักษณ์ในข้อสอบ
ส่วนพาร์ตจริยธรรมอาจจะเก็บไว้อ่านท้าย ๆ ได้ เพราะไม่ใช่เนื้อหาที่มีในห้องเรียน และต้องอัปเดตข้อมูลใหม่ ๆ อยู่เสมอน้า
เทคนิคการทำข้อสอบ TPAT1
ข้อสอบ TPAT1 เป็นข้อสอบที่วัดความถนัดเฉพาะทาง ไม่มีเนื้อหาที่ตายตัวว่าต้องนำความรู้อะไรในบทเรียนไหนมาใช้บ้าง ทำให้การเตรียมสอบ TPAT1 จะแตกต่างจากสนามอื่น ๆ อย่าง A-Level ซึ่งเป็นเนื้อหาที่น้อง ๆ เรียนในโรงเรียนอยู่แล้ว
พี่แนะนำว่าให้หาแนวข้อสอบเก่ามาลองทำให้ได้มากที่สุด เพื่อดูว่าเราควรอ่านหนังสือเพิ่มตรงส่วนไหน แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง พี่ก็สรุปแยกของแต่ละพาร์ตมาให้แล้วน้า ไปดูกันว่าแต่พาร์ตจะมีเทคนิคเตรียมตัวและการทำข้อสอบยังไงบ้างง
ป.ล. เนื้อหาด้านล่างเป็นคำแนะนำจากทีมวิชาการน้าา สามารถเอาไปปรับใช้สำหรับเตรียมตัวสอบได้เล้ยยย
ข้อสอบ TPAT 1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา
ข้อสอบ TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญาแต่ละปี มีโจทย์ที่หลากหลายแนวมากกก รวมถึงจำนวนข้อในแต่ละแนวก็ไม่เท่ากัน (แต่จำนวนรวม 45 ข้อเท่ากันทุกปี) เลยไม่สามารถเก็งข้อสอบออกมาเป๊ะ ๆ ได้ว่าจะออกอะไรบ้าง
สำหรับพาร์ตเชาวน์คณิต ให้น้อง ๆ เริ่มจากทบทวนความรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น อัตราส่วน, ร้อยละ, ระยะทาง, อัตราเร็ว, เวลา และสถิติ เป็นต้น จากนั้นให้ฝึกทำโจทย์พื้นฐานก่อนแล้วค่อยมาฝึกทำโจทย์ที่มีความยากเทียบเท่ากับข้อสอบจริง
โดยระหว่างที่ทำให้น้อง ๆ จับเวลาทำข้อสอบไปด้วย จะได้ฝึกบริหารเวลาในการทำโจทย์แต่ละพาร์ต และที่สำคัญหลังทำข้อสอบเสร็จแล้วให้ลองศึกษาข้อที่ทำผิดหรือทำไม่ได้กันด้วยน้าาา จะได้รู้ว่าพลาดจุดไหนไปและหาทางแก้ได้
ส่วนพาร์ตเชาวน์ไทย พี่แนะนำว่าให้น้อง ๆ ทำความเข้าใจหลักการทางภาษาให้เยอะ ๆ ฝึกฝนการอ่านจับใจความ จากนั้นให้ฝึกทำโจทย์แบบเดิมซ้ำ ๆ จะได้รู้ว่าตัวเองมีข้อผิดพลาดตรงไหนบ้าง เพื่อที่จะได้แก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ได้มากที่สุดก่อนสอบนั่นเอง
และถ้าใครไม่รู้ว่าจะเลือกข้อสอบมาฝึกทำยังไง พี่แนะนำว่าให้น้อง ๆ ลองดูแนวข้อสอบเก่า ๆ จากสนามสอบต่าง ๆ ที่มีแนวข้อสอบคล้ายกัน เช่น ข้อสอบ BMAT, ข้อสอบ TSA (Thinking Skills Assessment) หรือข้อสอบ TGAT2 เป็นต้น
ข้อสอบ TPAT 1 พาร์ตจริยธรรมทางการแพทย์
สำหรับพาร์ตจริยธรรมแพทย์ พี่แนะนำให้น้อง ๆ เริ่มเตรียมสอบจากการทำโจทย์ไปเลย ถึงแม้ว่าพาร์ตนี้จะไม่ได้อยู่ในบทเรียนตามหลักสูตรที่เรียนกัน แต่สิ่งที่ช่วยในการเตรียมสอบก็คือการฝึก “คิดแบบแพทย์” หรือมองในฐานะแพทย์ ว่ามีเรื่องไหนที่ควรให้ความสำคัญที่สุด
น้อง ๆ ต้องระวังการตอบในมุมมองของคนทั่วไป หรือ การตอบแบบที่สังคมคาดหวังให้เป็นอย่างนั้น แต่ควรมองในมุมของแพทย์ ซึ่งหลักการคิดแบบนี้ สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง หรือการคุยกับคุณหมอและบุคลากรทางการแพทย์ก็อาจช่วยให้เราเข้าใจได้ว่าอะไรเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการทำงานในสายนี้มากขึ้น และขณะที่ฝึกทำข้อสอบก็ให้จับประเด็นสำคัญไปด้วย เพื่อจับหลักในการทำข้อสอบ
พอถึงเวลาไปทำข้อสอบจริง พี่แนะนำให้ตัดตัวเลือกทิ้งไปเลย สำหรับข้อที่ไม่น่าจะเป็นคำตอบที่ถูก แล้วลองพิจารณาตัวเลือกอื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งคำตอบที่ถูกก็เหมือนจะมีมากกว่าหนึ่งข้อ ให้น้อง ๆ เลือกตอบโดยยึดจากความสมเหตุสมผลมากที่สุด
ข้อสอบ TPAT 1 พาร์ตความคิดเชื่อมโยง
การเตรียมสอบพาร์ตเชื่อมโยง เนื่องจากลักษณะข้อสอบเป็นรูปแบบบทความ ดังนั้นให้น้อง ๆ ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อความ ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ เนื่องจากทักษะนี้ใช้ในการอ่านบทความและการเขียนคำตอบได้ เมื่อเข้าใจแล้วก็ให้ฝึกทำข้อสอบเก่าเยอะ ๆ
เพราะการฝึกทำข้อสอบเก่าจะช่วยสร้างความเคยชินให้เราไม่ตื่นเต้นเวลาทำข้อสอบจริง นอกจากนี้ยังช่วยให้น้อง ๆ อ่านได้เร็วขึ้น สามารถเขียนความเชื่อมโยงและฝนคำตอบให้อยู่ในเวลาด้วย หลังฝึกทำข้อสอบเสร็จก็ให้ตรวจอีกทีน้า จะได้ฝึกความละเอียดรอบคอบไปในตัวด้วยยย
ถ้าให้พี่แนะนำแนวข้อสอบ TPAT1 พาร์ตเชื่อมโยง พี่แนะนำให้น้อง ๆ ฝึกกับข้อสอบ GAT เชื่อมโยง ยุค GAT / PAT ได้เลย เนื่องจากลักษณะข้อสอบมีความคล้ายกันเลย แค่ TPAT1 มีความยากมากกว่าเท่านั้นเองงง
สำหรับข้อสอบ TPAT1 นั้น ข้อสอบแต่ละพาร์ตค่อนข้างแตกต่างกัน เพราะเป็นการวัดความรู้ความเข้าใจคนละด้าน ดังนั้นให้น้อง ๆ เอาไปปรับใช้ตามความถนัดของตัวเองได้เลยน้าา
เทคนิคการแบ่งเวลาเตรียมสอบ TPAT1
วางแผนการเรียน
- เข้าเรียนให้ครบตามที่โรงเรียนกำหนด น้อง ๆ จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาตามจากเพื่อน ๆ ทีหลัง
- อย่าชะล่าใจหรือเลือกที่จะทิ้งวิชาใดวิชาหนึ่งไปเลย เช่น A-Level ภาษาไทย หรือ A-Level สังคม อย่าเพิ่งไปคิดว่า ไม่สำคัญ หรือคิดว่ามันง่าย เพราะต่อให้ทำวิชาอื่นได้เยอะ แต่วิชาเหล่านี้ได้คะแนนน้อยกว่า 30% ก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาคะแนนอยู่ดีน้า T_T
- ถ้าน้อง ๆ คนไหนที่เรียนพิเศษ ก็อย่าลืมกลับมาทบทวนสิ่งที่เรียนด้วยการอ่านเนื้อหา หรือทำแบบฝึกหัดเสริม และถ้าสามารถกลับมาทบทวนภายใน 24 ชม. ได้ ก็จะยิ่งดีกับตัวน้อง ๆ มากเลย เพราะจะยังจำเนื้อหาได้อยู่ ถ้าปล่อยให้นานกว่านี้ น้อง ๆ ก็อาจจะลืมสิ่งที่เรียนมาได้
แบ่งเวลาทำกิจกรรม
- ถ้าช่วงไหนที่น้อง ๆ รู้สึกเครียดมาก จนรู้สึกว่าไม่ไหวแล้วววว ก็ควรที่จะหยุดพักก่อนนะ หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำ เพื่อให้สภาพจิตใจดีขึ้นก่อน แล้วค่อยกลับมาอ่านหนังสือต่อ แต่พี่อยากให้ทุกคนจำไว้เสมอน้า ว่า “คะแนนสอบก็สำคัญนะ แต่ร่างกายและจิตใจเราก็สำคัญเหมือนกัน”
- กิจกรรมต่าง ๆ ที่ชื่นชอบ ก็ไม่จำเป็นจะต้องเลิกทำน้า เพียงแค่จะต้องแบ่งเวลาและลำดับความสำคัญให้ดีเท่านั้นเอง
เตรียมตัวสอบ
- ก่อนอื่นต้องรู้เป้าหมายของตัวเองก่อนว่า อยากเข้าคณะสายหมอของมหาลัยฯ ไหน จากนั้นให้น้อง ๆ เช็กสถิติคะแนนสูงต่ำ กสพท ปีล่าสุด แล้วค่อยวางแผนการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ
- ทำตารางอ่านหนังสือ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการอ่านและแบ่งเวลาสำหรับการพักผ่อนด้วย
- หาวิธีการอ่านหนังสือและวิธีการทบทวนที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น อ่านแบบท่องจำ, ทำแบบฝึกหัดทบทวนบทเรียน, ใช้สีไฮไลต์ข้อความสำคัญ, เรียนพิเศษแบบสรุปเนื้อหาโค้งสุดท้ายก่อนสอบ หรือเรียนพิเศษตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นต้น
- เน้นฝึกทำโจทย์ TPAT1 ทั้ง 3 พาร์ตบ่อย ๆ เพราะว่าข้อสอบเน้นคิดวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำ จะได้คุ้นกับโจทย์ เวลาไปทำข้อสอบจริง จะได้เอามาประยุกต์ได้ แถมยังทำให้เราทำข้อสอบได้เร็วขึ้นด้วย
ตารางอ่านหนังสือเตรียมสอบ TPAT1
หลังจากได้รู้เทคนิคต่าง ๆ ไปแล้ว สิ่งที่น้อง ๆ ควรทำต่อไปก็คือจัดตารางอ่านหนังสือออกมา เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายมากขึ้นว่าในแต่ละวัน หรือในแต่ละเดือน น้อง ๆ จะเก็บเรื่องไหน วิชาไหน ซึ่งถ้าใครนึกภาพไม่ออก จัดตารางไม่ถูก พี่ก็มีตัวอย่างตารางอ่านหนังสือเตรียมสอบ TPAT1 มาฝากด้วย เอาไว้ไปดูเป็นแนวทางก่อนจัดตารางอ่านหนังสือของตัวเองได้เลยยย
ดูคลิปติว TPAT1 68
ติดตามคลิปติว TPAT1 อื่น ๆ ได้ทาง YouTube Channel : SmartMathPro
เป็นยังไงบ้างสำหรับเทคนิคการทำข้อสอบ, เทคนิคการแบ่งเวลาและตารางอ่านหนังสือที่พี่เอามาฝาก น้อง ๆ สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเองได้เลยน้า พี่หวังว่าเทคนิคต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์กับทุกคนน้าาา ส่วนใครที่ยังสงสัยว่าควรเริ่มตอนไหนดี ? พี่ว่าเริ่มตอนนี้เลยดีที่สุด เพราะจากกำหนดการ TCAS68 ที่ออกมา แต่ละสนามจะสอบเร็วขึ้นกว่าปีที่แล้ว นั่นหมายความว่าเวลาในการเตรียมตัวก็จะน้อยลงไปด้วย
แต่น้อง ๆ Dek68 ไม่ต้องกังวลน้า ถ้าวางแผนดี ๆ ก็ทันแน่นอนน แต่ถ้าใครยังกลัวว่า อ่านเองอาจจะไม่เข้าใจเนื้อหาบางจุด อยากได้คนช่วยไกด์ เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสที่จะเก็บคะแนนปัง ๆ พี่ก็มีตัวช่วยอย่างคอร์ส Full Set Med ที่พี่สอนร่วมกับ อ.ขลุ่ย และ พี่หมออู๋ มาแนะนำด้วยยยยย
โดยคอร์สนี้ก็จะสอนครบทั้ง 3 พาร์ตของ TPAT1 โดยเริ่มตั้งแต่ปูพื้นฐานไปจนถึงพาตะลุยโจทย์หลากหลายแนว ขอบอกเลยว่าพิเศษมากก เพราะเนื้อหาคอร์สนี้เค้นมาจากประสบการณ์ของพี่ปั้น อ.ขลุ่ย และพี่หมออู๋เลยย รับรองว่าได้เทคนิคครบทุกพาร์ตไว้ไปอัปคะแนนแน่นอน (แถมยังมี Unseen Mock Test TPAT1 ชุดพิเศษ ให้ลองทำแบบฟรี ๆ ด้วยย) ใครสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก เลยยย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro