ประวัติส่วนตัวใน Portfolio ก็เป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในการทำให้ Portfolio ของเรานั้นสมบูรณ์แบบ ซึ่งหากเขียนประวัติส่วนตัวได้น่าสนใจ ครบถ้วน ก็จะสร้างความประทับใจให้กับกรรมการนั่นเองง
โดยวันนี้พี่จะพาทุกคนมาดูกันว่า ประวัติส่วนตัวใน Portfolio คืออะไร สำคัญยังไง แล้วในประวัติส่วนตัวต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง ? พร้อมนำตัวอย่าง Portfolio ของรุ่นพี่แต่ละคณะมาฝากน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวหรือหาไอเดียในการทำ Portfolio อีกด้วยย จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยย !!
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleประวัติส่วนตัว ใน Portfolio คืออะไรและมีความสำคัญยังไง ?
น้อง ๆ บางคนอาจจะสงสัยว่า หน้าประวัติส่วนตัวใน Portfolio มีความสำคัญยังไง ถ้าไม่มีจะเป็นอะไรไหม ? พี่บอกได้เลยว่า หน้าประวัติส่วนตัว เป็นหน้าที่สำคัญไม่แพ้กับหน้าปกพอร์ตเลย เพราะหน้านี้จะช่วยให้คณะกรรมการได้รู้จักตัวน้อง ๆ มากขึ้น
หากเราใส่ข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น ทักษะ ความสามารถและรางวัล ก็อาจจะทำให้กรรมการอยากพูดคุยกับเรามากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ของประวัติส่วนตัวที่ควรมี อยู่ตามด้านล่างนี้เลยย
ประวัติส่วนตัว ใน Portfolio เขียนยังไงให้น่าสนใจ ?
หลังจากที่เราได้เห็นถึงความสำคัญของหน้าประวัติส่วนตัวแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือ องค์ประกอบในหน้าประวัติส่วนตัวของน้อง ๆ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
1.ข้อมูลส่วนตัว – ในส่วนนี้จะเป็นการแนะนำข้อมูลส่วนตัวของเราเบื้องต้น เพื่อให้แก่คณะกรรมการรู้จักเรามากขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย
- รูปภาพ – รูปภาพของตัวเราเองที่เห็นหน้าชัด หรือจะเป็นรูปนักเรียนก็ได้
- ชื่อ – นามสกุล
- ชื่อเล่น
- วันเกิด
- หมู่เลือด ศาสนา (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)
- เชื้อชาติ สัญชาติ (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)
- ที่อยู่ปัจจุบัน
2. ลักษณะนิสัย (Optional) – ลักษณะนิสัยของเราก็จะช่วยทำให้กรรมการได้รู้จักเราว่าเป็นคนยังไง นิสัยแบบไหนในเบื้องต้น
3. ช่องทางการติดต่อ – แนะนำเป็นช่องทางการติดต่อหลักของตัวเอง เช่น อีเมล ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ส่วนโซเชียลมีเดีย เป็นตัวเลือก จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่อย่าลืมอัปเดตข้อมูลเป็นข้อมูลล่าสุดของเราด้วยย
4. งานอดิเรก – สมมติว่าถ้าเราอยากเรียนดีไซน์หรือการออกแบบ และมีงานอดิเรกคือ ชอบวาดรูป จนได้ไปแข่ง ได้รางวัลต่าง ๆ ก็จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่กรรมการอาจเพิ่มคะแนนให้ได้ พี่แนะนำให้ลองหาสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือจุดเชื่อมโยงของงานอดิเรกให้เข้ากับคณะและสาขาที่จะเข้าดูน้าา
5. ความสามารถพิเศษ – ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบ สำหรับใครที่มีความสามารถพิเศษ เช่น ภาษาที่ 3 หรือ มีความรู้ในเรื่องการเขียนโปรแกรม เป็นต้น แต่อย่าลืมว่าความสามารถพิเศษของน้อง ๆ ควรเกี่ยวกับสาขาที่เลือกเรียน และแนะนำว่าถ้ามีรางวัล เกียรติบัตร หรือผลงานต่าง ๆ ก็จะเพิ่มคะแนนให้เราน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวใน Portfolio
หลังจากที่เราได้รู้แล้วว่าในประวัติส่วนตัวต้องมีอะไรบ้าง แต่ก็มีรายละเอียดบางส่วนที่จะช่วยให้ประวัติส่วนตัวหรือ Portfolio มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น
การเลือกใช้ฟอนต์
- พร้อม (Prompt) เป็นฟอนต์ที่เหมาะสำหรับการนำมาเป็นหัวข้อ ด้วยเอกลักษณ์เด่นคือไม่มีหัว แต่มีความสวยงาม ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ได้เลย มีตั้งแต่ตัวหนาไปจนถึงตัวบางเลย
- ไทยสารบัญ (TH Sarabun PSK) ฟอนต์ที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นทางการ แต่ไม่เรียบร้อยจนเกินไป เหมาะกับการใส่ในส่วนที่เป็นรายละเอียด
- คลาวน์ (Cloud) ฟอนต์ที่ใช้ได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ที่มีจุดเด่นคือมีความมินิมอลสวยงาม หากใน Portfolio ของเราไม่มีข้อมูลเยอะ ก็เหมาะกับฟอนต์นี้เช่นกัน
อย่าลืมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
พี่อยากให้น้อง ๆ เช็กข้อมูลทั้งหมดให้ดี ไม่ว่าจะเป็นไวยากรณ์ คำผิดและความถูกต้องของข้อมูล เพราะถ้าหากคณะกรรมการเห็นว่ามีคำผิด ก็อาจจะเสียคะแนนตรงนี้ไปได้ แต่ถ้าหากทุกอย่างเรียบร้อย ไม่มีข้อผิดพลาด สิ่งนี้ก็จะช่วยสะท้อนว่าเราเป็นคนมีความละเอียดอ่อน
การจัดวาง Layout
การจัดวางหน้านั้นจะส่งผลให้ Portfolio นั้นดูเป็นระเบียบ อ่านง่ายและดูสบายตา แนะนำให้ลองจัดองค์ประกอบต่าง ๆ แล้วให้เพื่อนหรือครอบครัวช่วยเช็กว่า การวางข้อมูลตรงนี้รู้สึกรกไปหรืออ่านยากไหม ลองวางตรงนี้พอดีหรือเปล่า ซึ่งการถามความเห็นจากคนรอบตัวก็จะช่วยให้ Portfolio สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นน
ตัวอย่างองค์ประกอบในประวัติส่วนตัวทั้งสองภาษา
นอกจากนี้แล้ว การทำ Portfolio ให้สมบูรณ์ก็ยังมีหน้าอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากประวัติส่วนตัวอีก นั่นก็คือ คำนำ ประวัติการศึกษา และผลงาน และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งหากน้อง ๆ อยากเห็นตัวอย่าง Portfolio ของรุ่นพี่ สามารถกดดูได้ที่ลิงก์นี้เลยน้าาา คลิก
และจะเห็นได้ว่า การเขียนประวัติส่วนตัวที่มีองค์ประกอบครบและน่าสนใจ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ Portfolio ของน้อง ๆ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสามารถนำ Portfolio นี้ไปใช้ได้หลายรอบ ตั้งแต่รอบ 1 – รอบ 4 และใช้ยื่นสมัครได้หลายมหาลัยฯ อีกด้วย
พี่หวังว่าเทคนิคที่เอามาแจกทุกคนในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำ Portfolio น้าา ยังไงก็ตาม นอกจากการทำ Portfolio ให้ปังแล้ว ก็อย่าลืมเตรียมตัวสอบ TGAT, TPAT และ A-Level ควบคู่ไปด้วย (ถ้าทำได้คะแนนดี ก็จะได้
มีตัวเลือกสำหรับการเข้ามหาลัยฯ เพิ่มขึ้นอีกก) พี่ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนสอบติดกันทุกคนเลยย > <
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro