พี่ปั้น : พี่ขลุ่ยเห็นรูปในเฟสบุ๊คของผมหรือยัง ช่วยกดไลค์ให้หน่อยย
พี่ขลุ่ย : ได้เลยย เดี๋ยวพี่เข้าเฟซบุ๊กไปกดไลก์ตอนนี้เลย
พี่ปั้น : เอ๊ะ ! ทำไมพี่ขลุ่ยเขียนคำว่า like กับ Facebook ไม่เหมือนกับผมนะ
พี่ขลุ่ย : เพราะพี่เขียนตามหลักการทับศัพท์ยังไงล่ะ
น้อง ๆ เคยสังเกตกันไหม ว่าคำที่เราใช้ในแต่ละวัน ไม่ว่าจะใช้สำหรับการฟัง พูด อ่าน หรือเขียน ก็มักจะเจอหลายคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ซึ่งคำเหล่านี้ก็มีชื่อเรียกที่หลายคนอาจจะคุ้นหู คือ “คำยืมภาษาต่างประเทศ” โดยเฉพาะคำจากภาษาอังกฤษที่ใช้กันในชีวิตประจำวันบ่อยมากก เช่น คำว่า เฟซบุ๊กและไลก์ ในตัวอย่างข้างต้นนี้
แต่รู้ไหมว่า ที่จริงคำยืมในภาษาต่างประเทศเนี่ย เขายังแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยนะ คือ คำทับศัพท์ และ ศัพท์บัญญัติ โดยวันนี้พี่จะพาไปรู้จักสองคำนี้ให้มากขึ้นว่าแตกต่างกันยังไง จะนำไปใช้เตรียมสอบที่โรงเรียนและสอบ A-Level ยังไงได้บ้าง พร้อมตัวอย่างคำทับศัพท์ วิธีสะกดคำทับศัพท์ให้ถูกหลัก และข้อสอบจริงให้ลองทำ ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว ไปอ่านกันเลยย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleความแตกต่างของคำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
ก่อนเริ่มเนื้อหา ขอทบทวนอีกครั้งว่า คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติเป็นลักษณะการยืมคำจากภาษาอังกฤษ โดย
คำทับศัพท์ คือ การเขียนคำจากภาษาหนึ่งมาเป็นภาษาไทย โดยใช้ตัวอักษรและวิธีการเขียนของภาษาไทย เพื่อให้สามารถอ่านคำภาษาต่างประเทศให้ใกล้เคียงกับเสียงเดิมได้ เช่น
- Like เขียนทับศัพท์ว่า ไลก์
- Update เขียนทับศัพท์ว่า อัปเดต
- Check เขียนทับศัพท์ว่า เช็ก
ส่วนศัพท์บัญญัติ คือ การสร้างคำขึ้นมาใหม่ให้มีความหมายตรงหรือใกล้เคียงกับศัพท์นั้น ๆ โดยจะเป็นคำในภาษาไทย ภาษาบาลีและสันสกฤต ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะใช้ศัพท์บัญญัติในกลุ่มวิชาการต่าง ๆ เช่น
- intuition ศัพท์บัญญัติ คือ สังคมกรณ์ (สาขาสังคมวิทยา)
- Big data ศัพท์บัญญัติ คือ ข้อมูลมหัต (สาขาสถิติศาสตร์)
- Metaverse ศัพท์บัญญัติ คือ จักรวาลนฤมิต (สาขานิเทศศาสตร์)
จากนิยามและตัวอย่างข้างต้น พี่คิดว่าน้อง ๆ น่าจะพอเข้าใจความหมายของคำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติกันมากขึ้นแล้วใช่ไหมม ทีนี้พี่จะสรุปเพิ่มเติมให้เกี่ยวกับความแตกต่างของทั้งสองคำนี้ ซึ่งจะอยู่ที่การใช้ในชีวิตประจำวันของเราเลยย
นั่นคือ เราสามารถใช้คำทับศัพท์ผ่านการถ่ายเสียงและถอดอักษรจากภาษาต่างประเทศได้โดยตรง แต่ ศัพท์บัญญัติ
จะถูกสร้างขึ้นโดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน
ทำให้บางครั้งศัพท์บัญญัติที่ถูกสร้างขึ้นมาอาจไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวันมากเท่ากับคำทับศัพท์ เช่น คำว่า Computer ที่มีศัพท์บัญญัติว่า คณิตกรณ์ แต่เรามักจะเห็นคนนิยมใช้คำทับศัพท์ว่า คอมพิวเตอร์ มากกว่านั่นเอง
ตัวอย่างข้อสอบ คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
หลังจากที่น้อง ๆ เข้าใจความหมายของคำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติแล้ว พี่จะพามาดูแนวข้อสอบเรื่องนี้กัน โดยข้อสอบแนวแรกจะเป็นของ 9 วิชาสามัญ ที่จะให้เราหาคำยืมภาษาต่างประเทศที่มีศัพท์บัญญัติหรือสามารถใช้คำไทยแทนได้
ซึ่งเป็นแนวที่ออกสอบมาตลอดจนถึงปี 64 เลยย
ตัวอย่างข้อสอบคำทับศัพท์แบบที่ 1
คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในข้อใดใช้คำไทยแทนไม่ได้ทุกคำ (ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ ภาษาไทย เม.ย. 64)
1. ไวรัส พลาสติก เซลล์แมน
2. นิโคติน อะครีลิก กราฟิก
3. แฮนด์บอล โฮมเพจ สปิริต
4. คลอรีน ดีไซน์ รีพอร์ต
5. คอนเซ็ปต์ คอลลาเจน ไมโครเวฟ
ข้อสอบข้อนี้จะให้น้อง ๆ หาว่าคำใดที่เราไม่สามารถใช้คำไทยแทนได้ โดยโจทย์ได้ระบุคำว่า “ทุกคำ” ดังนั้นเทคนิคการทำข้อนี้ให้เร็ว คือ ถ้าเจอคำในข้อใดที่หาคำไทยมาแทนได้ ให้ตัดตัวเลือกนั้นทิ้ง ซึ่งข้อนี้เราจะเจอคำที่สามารถใช้คำไทยแทนได้ ตามนี้เลยย
- เซลล์แมน สามารถใช้คำว่า พนักงานขาย
- สปิริต สามารถใช้คำว่า จิตใจ
- ดีไซน์ สามารถใช้คำว่า ออกแบบ
- คอนเซ็ปต์ สามารถใช้คำว่า แนวคิดหรือมโนทัศน์
ดังนั้นคำตอบของข้อนี้ก็คือ ตัวเลือกที่ 2 นั่นเอง เพราะทั้ง 3 คำไม่สามารถหาคำไทยมาแทนได้ โดยเราจะเรียกคำทับศัพท์ที่ไม่สามารถหาคำไทยมาแทนได้ว่า ศัพท์เฉพาะ
หลักเกณฑ์การสะกด “คำทับศัพท์”
ก่อนที่น้อง ๆ จะเริ่มลงมือเขียนคำทับศัพท์ สิ่งแรกที่เราต้องทำ คือ การเปิดพจนานุกรมเพื่อเช็กว่าคำนั้นถูกบัญญัติไว้หรือเปล่า ถ้าคำนั้นถูกบัญญัติไว้แล้วให้สะกดคำตามพจนานุกรมได้เลย
แต่ถ้าพจนานุกรมยังไม่บัญญัติคำนั้น เราจึงจะเริ่มใช้วิธี “การถ่ายเสียงและถอดอักษร” มาเป็นคำทับศัพท์ในภาษาไทย โดยหลักในการทำ (ในที่นี้เราจะเน้นภาษาอังกฤษเป็นหลัก) จะมีข้อกำหนดและรายละเอียดเยอะมากก แต่ไม่ต้องห่วง !!
พี่สรุปหลักที่น้อง ๆ ควรจำและออกข้อสอบใน A-Level ภาษาไทย มาให้แล้ว ตามข้างล่างนี้เลยย
- ใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ ) บนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง
เช่น คำว่า strawberry ถ่ายเสียงและถอดอักษรเป็น สตรอวเบอรรี แต่เราไม่ได้ออกเสียง ว และ ร ที่ขีดเส้นใต้ใน
ภาษาไทย จึงต้องใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ ) เป็น สตรอว์เบอร์รี - การทับศัพท์โดยทั่วไปจะไม่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์
เช่น คำว่า Quota แม้ว่าจะมีการอ่านออกเสียงวรรณยุกต์โท แต่เราจะไม่ใส่วรรณยุกต์และเขียนทับศัพท์ว่า โควตา - ข้อยกเว้น ในกรณีที่เราเขียนทับศัพท์แล้วตรงกับคำที่มีอยู่แล้วในภาษาไทย อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์
หรือไม้ไต่คู้ เพื่อป้องกันความสับสน เช่น
1. คำว่า coma เขียนทับศัพท์เป็น โคม่า (โคมา จะสับสนกับโคที่เป็นสัตว์)
2. คำว่า lock เขียนทับศัพท์เป็น ล็อก (ลอก ตรงกับความหมายที่มีอยู่แล้ว)
Tips เนื่องจากการถ่ายเสียงพยัญชนะจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยมีเยอะมาก พี่เลยรวบรวมพยัญชนะ
พื้นฐานที่ถ้าน้อง ๆ รู้ไว้จะช่วยให้ทำข้อสอบได้ง่ายขึ้น
- P เมื่อเป็นพยัญชนะต้นจะเขียนด้วย พ เมื่อเป็นตัวสะกดจะเขียนด้วย ป
เช่น application เขียนทับศัพท์ได้ว่า แอปพลิเคชัน - T เมื่อเป็นพยัญชนะต้นจะเขียนด้วย ท เมื่อเป็นตัวสะกดจะเขียนด้วย ต
เช่น internet เขียนทับศัพท์ได้ว่า อินเทอร์เน็ต - K เมื่อเป็นพยัญชนะต้นจะเขียนด้วย ค เมื่อเป็นตัวสะกดจะเขียนด้วย ก
เช่น kick เขียนทับศัพท์ได้ว่า คิก (ตัวสะกด ck เขียนด้วย ก เช่นกัน), York เขียนทับศัพท์ได้ว่า ยอร์ก - CE เมื่อเป็นตัวสะกดจะเขียนด้วย ซ
เช่น Facebook เขียนทับศัพท์ได้ว่า เฟซบุ๊ก
ตัวอย่างการถ่ายเสียงและถอดอักษรคำทับศัพท์
อย่างที่พี่บอกเลยว่า หลักเกณฑ์การถ่ายเสียงและถอดอักษรนั้นมีอยู่เยอะมากก และพี่ก็ได้สรุปหลักที่น้อง ๆ ควรรู้
พร้อมกับตัวอย่างคำทับศัพท์ไปบ้างแล้ว แต่ถ้าใครอยากเจาะลึกหลักการถ่ายเสียงและถอดอักษรจากภาษาอังกฤษ
มาเป็นภาษาไทยมากกว่านี้ พี่ก็จัดให้ !! สามารถเข้าไปดูหลักการถ่ายเสียงและถอดอักษรแบบจัดเต็มกันได้ที่นี่เลยย >> แจกฟรี ตารางเทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาอังกฤษ
ตัวอย่างข้อสอบการสะกดคำทับศัพท์
พอทุกคนรู้หลักการเบื้องต้นในการเขียนคำทับศัพท์ ก็เหมือนกับน้อง ๆ ได้ติดอาวุธให้กับตัวเองแล้ว งั้นเราจะมาลองใช้อาวุธนี้ผ่านข้อสอบจริงกัน โดยคราวนี้จะเป็นข้อสอบอีกแนวหนึ่งของ 9 วิชาสามัญปี 65 และ A-Level ปี 66 หรือก็คือข้อสอบ 2 ปีล่าสุดนี้เอง โดยโจทย์จะถามความรู้เกี่ยวกับการเขียนคำทับศัพท์ที่ถูกต้อง
ตัวอย่างข้อสอบคำทับศัพท์แบบที่ 2
ข้อใดเขียนไม่ถูกต้องตามหลักการทับศัพท์ภาษาอังกฤษทุกคำ (ข้อสอบ A-Level ภาษาไทย 66)
1. ลิฟท์ อัลบั้ม อะพาร์ตเมนต์
2. เฟซบุ๊ค อินเตอร์เน็ต ดิจิตอล
3. บล๊อค ไลก์ กราฟิก
4. คลิ๊ก การ์ด ชอล์ก
5. ปริ๊นท์ อะนิเมชัน คลาสสิก
ข้อสอบข้อนี้จะวัดความรู้เรื่องการเขียนทับศัพท์ ซึ่งเราสามารถใช้หลักการทับศัพท์เบื้องต้นที่พี่สรุปให้ด้านบนมาหา
คำตอบได้ ข้อนี้โจทย์ให้คำว่า “ไม่ถูกต้องทุกคำ” มา น้อง ๆ ก็สามารถหาคำที่ถูกและตัดตัวเลือกได้เลยย
เรามาเริ่มกันที่การเทียบพยัญชนะจากการถ่ายเสียงและถอดอักษร การหาเครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ ) และการใส่วรรณยุกต์ที่ถูกต้อง โดยเราจะพบในคำว่า อะพาร์ตเมนต์ ไลก์ กราฟิก การ์ด ชอล์ก และคลาสสิก ที่เขียนทับศัพท์
ถูกต้อง ส่วนคำที่เขียนไม่ถูกต้องตามหลักการทับศัพท์ มีตามนี้เลยย
- ลิฟท์ ต้องเขียนเป็น ลิฟต์
- อัลบั้ม ต้องเขียนเป็น อัลบัม
- เฟซบุ๊ค ต้องเขียนเป็น เฟซบุ๊ก
- ดิจิตอล ต้องเขียนเป็น ดิจิทัล
- บล๊อค ต้องเขียนเป็น บล็อก
- คลิ๊ก ต้องเขียนเป็น คลิก
- ปริ๊นท์ ต้องเขียนเป็น พรินต์
- อะนิเมชัน ต้องเขียนเป็น แอนิเมชัน
ดังนั้นข้อนี้จึงตอบข้อ 2 นั่นเองง น้อง ๆ สังเกตไหมว่าคำที่ผิดส่วนใหญ่จะเป็นคำที่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ และการใช้
ตัวพยัญชนะต้นและตัวสะกดในการถ่ายเสียงและถอดอักษรไม่ถูกต้อง ซึ่งถ้าน้อง ๆ เจอข้อสอบรูปแบบนี้ในครั้งถัดไป
ก็สามารถใช้หลักการนี้ได้เลย
ดูคลิปติว A-Level ภาษาไทย (คำทับศัพท์)
ติดตามคลิปติว A-Level อื่น ๆ ได้ทาง Youtube : SmartMathPro
เป็นยังไงกันบ้างง หลังจากได้รู้จักความหมายของคำทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติ หลักการทับศัพท์คำจากภาษาอังกฤษ
รวมถึงลองทำข้อสอบจริงไปแล้ว น้อง ๆ คงจะเห็นแล้วใช่ไหมว่า จริง ๆ แล้ว เรื่องการทับศัพท์ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยย แถมหลายคำถ้าเราใช้ถูกในชีวิตประจำวัน ก็จะคุ้นชินและนำไปปรับใช้ในข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ได้ด้วย เรียกว่ายิงปืน
นัดเดียวได้นกสองตัวเลยย (ซึ่งพี่ก็แนะนำให้ฝึกทำข้อสอบควบคู่ไปด้วยน้าา เราจะได้แม่นเรื่องนี้ขึ้นนั่นเองง)
ส่วนใครที่กำลังเตรียมสอบ A-Level ภาษาไทยอยู่ แล้วอยากทบทวนเนื้อหาก่อนสอบ หรือเก็บเนื้อหาทุกพาร์ตของ
A-Level ภาษาไทยให้คะแนนปังแม้เหลือเวลาเตรียมตัวน้อยในช่วงโค้งสุดท้าย พี่ก็ขอแนะนำคอร์ส พิชิต A-Level
ภาษาไทย ฉบับรวดรัด สอนโดย อ.ขลุ่ย ที่เรียนจบได้ภายใน 20 ชม. ให้น้าา
โดยคอร์สนี้จะสอนเนื้อหา A-Level ภาษาไทย ครบทุกหัวข้อแบบกระชับ พร้อมพาทุกคนไปตะลุยโจทย์แบบจัดเต็ม รับรองว่าได้เทคนิคการทำข้อสอบไว้ไปอัปคะแนนเพียบ เจอโจทย์ประยุกต์แค่ไหนก็ทำได้ (แถมตอนนี้ยังมี Unseen Mock Test ภาษาไทย ชุดพิเศษ ให้ไปฝึกทำแบบฟรี 1 ชุดด้วยย) ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก ได้เลยย
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro