A-Level สังคม เป็นหนึ่งในข้อสอบสนาม A-Level ที่น้อง ๆ อาจคิดว่าเป็นวิชาที่น่าจะมีเนื้อหาเยอะและยากกันใช่มั้ยย เพราะวิชานี้ต้องใช้เวลาท่องจำและทำความเข้าใจพอสมควร จนทำให้หลายคนคิดว่า หรือเราจะข้ามวิชานี้ดีนะ T_T
แต่พี่อยากบอกว่าอย่าเพิ่งคิดแบบนั้นน้า เพราะวันนี้พี่จะพาน้อง ๆ มาเจาะลึกกับสิ่งที่ควรรู้ก่อนสอบ A-Level สังคม ซึ่งเป็นบทความที่จะทำให้การเตรียมตัวสอบของทุกคนง่ายขึ้น รับรองว่าอ่านจบแล้วจะจับทางข้อสอบได้แน่นอน !!
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
ToggleA-Level สังคมออกสอบเรื่องอะไรบ้าง
ทุกคนรู้ไหมว่า ข้อสอบ A-Level สังคม ที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาว่าเนื้อหาเยอะและกว้างมาก ๆ ที่จริงแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 5 พาร์ตหลักเท่านั้นเอง แถมจำนวนข้อของแต่ละพาร์ตยังออกเฉลี่ยเท่ากันด้วย คือ พาร์ตละ
10 ข้อ ซึ่งนั่นแปลว่าแต่ละพาร์ตสำคัญเท่า ๆ กัน ดังนั้นพี่แนะนำให้ทุกคนพยายามเก็บให้ครบทุกพาร์ตเท่าที่ทำได้เลยน้าา (โดยอาจจะเริ่มเก็บจากพาร์ตที่ถนัดก่อนก็ได้)
- พาร์ตศาสนา : จะเน้นหนัก ๆ เรื่องศาสนาพุทธ ทั้งความจำเกี่ยวกับพุทธประวัติ และการวิเคราะห์สถานการณ์ว่าเราควรนำหลักธรรมใดมาใช้ รวมถึงศาสนาสากลก็ออกข้อสอบประจำ เรื่องที่ออกบ่อย ๆ ในพาร์ตนี้ เช่น
หลักธรรม วันสำคัญของศาสนา การปฏิบัติตนในแต่ละศาสนา - พาร์ตหน้าที่พลเมือง : เนื้อหาจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ สังคมวิทยา กฎหมาย และการเมืองการปกครอง ซึ่งจะออกเฉลี่ยกันแต่ละปี เรื่องละประมาณ 3-4 ข้อ ส่วนเรื่องที่มักจะเจอในข้อสอบ เช่น บรรทัดฐานทางสังคม กฎหมายเกี่ยวกับมรดก การปกครองในระบอบต่าง ๆ
- พาร์ตเศรษฐศาสตร์ : สำหรับเรื่องนี้ ทุกคนจะได้สวมวิญญาณนักเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ในหลาย ๆ แง่มุม
ทั้งกลไกราคา อุปสงค์ – อุปทาน รวมถึงเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นเรื่องที่ออกข้อสอบอยู่บ่อย ๆ - พาร์ตประวัติศาสตร์ : เรียกได้ว่าเป็นพาร์ตที่ใหญ่และเยอะมาก เพราะต้องเก็บเนื้อหาทั้งประวัติศาสตร์สากล และประวัติศาสตร์ไทย เช่น การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญในแต่ละสมัย ศิลปวัฒนธรรมของ
แต่ละช่วงสมัย - พาร์ตภูมิศาสตร์ : เนื้อหาจะไปทางวิทยาศาสตร์หน่อย ๆ แต่เน้นภูมิศาสตร์เชิงสังคม ส่วนเนื้อหาที่มีมาให้เห็นตลอด เช่น เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สนธิสัญญาเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
A-Level สังคม แตกต่างกับ 9 วิชาสามัญยังไง
การเปลี่ยนข้อสอบ จาก 9 วิชาสามัญ มาเป็น A-Level นั้น แทบจะไม่ส่งผลกับวิชาสังคมเลย เพราะโครงสร้างข้อสอบ
A-Level สังคม ก็ยังแบ่งเป็น 5 พาร์ต และพาร์ตละ 10 ข้อ เหมือนเดิมเป๊ะ ๆ แต่ถ้าเจาะลึกถึงลักษณะการออกข้อสอบแบบเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นเลยว่า ข้อสอบ A-Level ไม่ได้วัดเฉพาะความจำอย่างเดียวแล้ว แต่เน้นไปทางวิเคราะห์มากขึ้น เช่น
- ให้เนื้อเพลงมา แล้วให้เราวิเคราะห์ว่าตรงกับหลักธรรมใด
- กำหนดสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย แล้วถามว่าผิดหรือไม่ และผิดยังไง
- รวมถึงการยกตัวอย่างข่าว / สถานการณ์ปัจจุบัน แล้วนำมาถามในประเด็นต่าง ๆ
แนวโน้มการออกข้อสอบ A-Level สังคม 67
อย่างที่พี่บอกไปว่าข้อสอบ A-Level สังคม จะเน้นการวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้มากขึ้น พี่เลยเห็นว่า แนวโน้มของข้อสอบปี 67 นั้น นอกจากจะเน้นเนื้อหาความรู้ตาม 5 พาร์ตที่พี่อธิบายไปแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะอิงกับสถานการณ์ปัจจุบันและเรื่องฮอตฮิตในสังคมมากขึ้น
ดังนั้นพี่แนะนำให้ทุกคนติดตามข่าวสารบ่อย ๆ จะได้ไม่ตกเทรนด์ ไม่ว่าข้อสอบจะออกข่าวเรื่องไหนมาก็รู้และเข้าใจ แถมยังช่วยให้วิเคราะห์โจทย์ได้ตรงจุด เพิ่มโอกาสในการเก็บคะแนนอีกด้วยน้าา
เตรียมสอบ A-Level สังคมยังไงดี ?
อย่างที่น้อง ๆ รู้กันว่า เนื้อหาในวิชาสังคมนั้นจัดเต็มมากกก ดังนั้นถ้าจะเริ่มเตรียมตัว พี่ก็อยากให้เก็บคอนเซปต์ของ
แต่ละพาร์ตให้ได้ก่อน เช่น พาร์ตศาสนา ให้เก็บเนื้อหาหลักธรรมที่มักเจอบ่อย ๆ พอรู้และจำหลักธรรมได้แล้ว น้อง ๆ ก็จะสามารถนำไปวิเคราะห์ตามสถานการณ์ของโจทย์ได้ หรือพาร์ตหน้าที่พลเมือง ถ้าจำหลักการแบ่งมรดกได้ ไม่ว่าข้อสอบจะยกสถานการณ์ไหนมา ทุกคนก็จะสามารถวิเคราะห์และทำได้แน่นอนนน
ซึ่งพี่ก็เข้าใจว่า การจะเก็บคอนเซปต์ของเนื้อหาที่เยอะขนาดนี้เนี่ย น้อง ๆ อาจจะไม่รู้ว่าควรจะเริ่มจากจุดไหนก่อน พี่ขอแนะนำว่า หลังจากอ่านหรือเรียนเนื้อหาจบในแต่ละพาร์ต ให้ลองจดสรุปสิ่งที่จำได้ในแต่ละเรื่องตามความเข้าใจของน้อง ๆ ลงในกระดาษหนึ่งแผ่นก็จะช่วยให้เรียบเรียงความรู้ และจำเนื้อหาได้แม่นขึ้น
และส่วนสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ เมื่อเก็บเนื้อหาครบแล้ว ก็ต้องลองฝึกทำข้อสอบย้อนหลังบ่อย ๆ ด้วยน้าา เพราะถ้าเราเห็นแนวข้อสอบเยอะ เวลาลงสนามจริง น้อง ๆ ก็จะสามารถทำข้อสอบได้อย่างมั่นใจ แถมไวขึ้นด้วยยย
ควรฝึกทำข้อสอบเก่าจากไหน ?
หลังจากที่พี่แนะนำไปแล้วว่าเทคนิคสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ การฝึกทำข้อสอบเก่าย้อนหลัง หลายคนอาจจะสงสัยว่า
แล้วข้อสอบที่ว่าเนี่ย ควรทำย้อนไปไกลถึงปีไหนดีล่ะ ? ถึงจะตรงกับแนวข้อสอบ A-Level สังคมมากที่สุด พี่ก็ขอแนะนำให้ฝึกทำจาก ข้อสอบ A-Level ปี 66 และ ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ (ย้อนหลังประมาณ 5 ปี) หรือถ้าใครฟิต อยากทำเพิ่มอีก ลองฝึกข้อสอบ O-NET (ใช้ฉบับย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี) ก็ได้เหมือนกันน้าา เพราะในวิชาสังคม ยิ่งเก็บประเด็น ยิ่งเจอข้อสอบที่หลากหลายมากเท่าไร ก็ยิ่งดีเท่านั้นนะคร้าบบ
ซึ่งถ้าใครกำลังมองหาโจทย์หรือข้อสอบ A-Level สังคม เพื่อเอาไปฝึกซ้อมมือก่อนลงสนามสอบจริง พี่ก็มีข้อสอบวิชานี้ให้ทุกคนได้ดาวน์โหลดกันแบบฟรี ๆ ที่คลังข้อสอบด้วยน้าา บอกเลยว่ามีทั้งข้อสอบและแบบฝึกหัดให้ฝึกทำแบบจัดเต็ม
ช่วยเสริมความมั่นใจของทุกคนก่อนสอบ A-Level สังคมได้แน่นอน !!
แต่สำหรับใครที่จำเป็นต้องใช้คะแนน A-Level สังคม แล้วอยากเตรียมตัวสอบล่วงหน้า จะได้พร้อมลงสนามจริงมากกว่าใคร พี่ก็ขอแนะนำคอร์สพิชิต A-Level สังคม ฉบับรวบรัด สอนโดย ครูกอล์ฟ ให้เลยย โดยคอร์สนี้ก็จะสอนเนื้อหาวิชาสังคมที่ออกสอบในสนาม A-Level ครบทั้ง 5 พาร์ต และพาตะลุยโจทย์จัดเต็มพร้อมสอนเทคนิคการทำข้อสอบให้ทุกคนได้นำไปใช้อัปคะแนนกันด้วยย (กระซิบว่ายังมี Unseen Mock Test สังคม 1 ชุด อิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุดแจกให้
แบบฟรี ๆ ด้วยน้าา คุ้มมากก) ถ้าน้อง ๆ สนใจ คลิก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยย
อ่านมาจนถึงตรงนี้ พี่ว่าน้อง ๆ คงจะพอเห็นจุดสำคัญที่ต้องรู้ของการสอบ A-Level สังคมกันบ้างแล้ว คงจะทำให้ทุกคนเริ่มวางแผนถูกว่าควรจะอ่านหรือเก็บเนื้อหาในเรื่องไหนบ้าง แต่พี่ก็ขอย้ำอีกครั้งนะว่าเก็บเนื้อหาเสร็จแล้วก็อย่าลืมทำโจทย์กันด้วยน้าา จะได้เป็นการทบทวนเนื้อหาไปในตัวและทำความคุ้นเคยกับข้อสอบก่อนสอบจริงด้วย !!
ดูคลิปติวฟรี A-Level สังคม
ติดตามคลิปติว A-Level สังคมพาร์ตอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ทาง YouTube Channel : SmartMathPro
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Line : @smartmathpronews
รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ อัปเดตอย่างเรียลไทม์
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
Twitter : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro