เตรียมตัวอ่านหนังสือ TCAS68 ยังไงให้สอบติด

มีใครอยากสอบติดมหาลัยฯ แต่ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร หรือควรจะเตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยฯ ยังไงให้สอบติดบ้างมั้ยย พี่เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนน่าจะเป็นแบบนี้อยู่แน่เลย แต่ไม่ต้องกังวลน้าาา เพราะวันนี้พี่เตรียมทั้งทริคในการค้นหาตัวเอง วิธีเตรียมสอบ, เทคนิคการอ่านหนังสือยังไงให้จำได้เยอะขึ้น, และคลิปติวของสนามสอบต่าง ๆ มาฝากทุกคนด้วย น้อง ๆ คนไหนที่อยากเตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยฯ ล่วงหน้า รีบมาอ่านกันเลยยย

1. ค้นหาตัวเองว่าอยากเรียนคณะ / มหาลัยฯ อะไร

การค้นหาตัวเองสามารถทำได้หลายวิธีเลย ไม่ว่าจะเป็นการเช็กจากวิชาที่ชอบ อาชีพในฝัน หรือการทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อค้นหาตัวเอง แต่นี่เป็นแค่วิธีส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะยังมีอีกหลายวิธีเลยที่จะทำให้น้อง ๆ ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ซึ่งพี่ก็ได้รวมรวมเอาไว้ให้แล้วในบทความ รวม 6 วิธีค้นหาตัวเอง สามารถเข้าไปลองทำแต่ละวิธีดูได้เลยยย

2. ศึกษาหลักสูตรของคณะที่น้อง ๆ อยากเข้า

เมื่อรู้แล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร ให้น้อง ๆ ลองดูว่าคณะนี้ มีมหาลัยฯ ไหนบ้างที่เปิดสอนและเข้าไปดูหลักสูตร หรือสอบถามรีวิวการเรียนจากรุ่นพี่ เพราะแต่ละมหาลัยฯ จะมีหลักสูตรที่เปิดสอนไม่เหมือนกัน แม้ว่าชื่อคณะจะเหมือนกันก็ตาม

เช่น คณะนิเทศของมหาลัยฯ A เน้นสอนการแสดงเป็นหลัก แต่คณะนิเทศของมหาลัยฯ B เน้นสอนโฆษณา ซึ่งการศึกษาหลักสูตรของคณะเอาไว้ จะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าอยากเรียนอะไร หรือเข้ามหาลัยฯ ไหนกันแน่ !!

3. ศึกษาระบบ TCAS และวางแผนต่อ

หลังจากที่เลือกได้แล้วว่าอยากเข้าคณะ / มหาลัยฯ ไหน น้อง ๆ ก็ควรศึกษาระบบ TCAS ต่อเพื่อวางแผนว่าคณะที่
น้อง ๆ อยากเข้าสามารถสอบรอบไหนได้บ้าง และควรเริ่มเก็บผลงานต่าง ๆ ตอนไหน จะได้มีเวลาทำ Portfolio ตั้งแต่
เนิ่น ๆ ควบคู่กับการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบและเก็บเกรดที่โรงเรียนไปด้วยยย

เหตุผลที่ต้องศึกษาระบบ TCAS เอาไว้ด้วยก็เพราะว่าระบบนี้มีหลายรอบ / ขั้นตอน ไม่ใช่แค่การสมัครสอบ ยื่นคะแนนแล้วจบ แต่น้อง ๆ ควรจะรู้เรื่องการยืนยันสิทธิ์ สละสิทธิ์ รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในแต่ละรอบเอาไว้ด้วยเหมือนกัน

มีเรื่องให้ต้องหาข้อมูลเยอะแบบนี้ หลายคนอาจจะเริ่มคิดแล้วว่า กว่าจะเข้าใจระบบ TCAS ทั้งหมดคงต้องใช้เวลานาน
แน่เลย T_T แต่อย่าเพิ่งท้อกันน้าา แม้ระแบบ TCAS จะมีรายละเอียดให้ได้เรียนรู้เยอะก็จริง แต่เราค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปทีละเรื่องก็ได้

4. เตรียมตัวอ่านหนังสือ

น้อง ๆ มักจะถามว่าเริ่มอ่านหนังสือตอนไหนดี พี่บอกเลยว่า เริ่มตอนนี้ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องรอกำหนดการออกแล้วค่อยเริ่มอ่านหนังสือ ยิ่งน้อง ๆ เริ่มเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีเวลาทบทวนและปิดจุดอ่อนตัวเองได้มากขึ้นเท่านั้น พี่เชื่อเสมอว่าการเตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยฯ ก่อนใคร ทำให้เรามีชัยไปกว่าครึ่ง !!

ในช่วงแรกนี้ น้อง ๆ ควรเริ่มจากการเช็ก Test Blueprint ว่าวิชาที่ต้องสอบมีออกเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วทยอยเก็บเนื้อหาให้แม่นและทำแบบฝึกหัดควบคู่กันไป ถ้าใครต้องสอบหลายวิชา แนะนำว่าให้อ่านสลับกันเพื่อที่จะได้เก็บเนื้อหาได้
เร็วขึ้น เช่น วันนี้ท่องศัพท์ 1 ชม. แล้วก็แวะไปอ่านชีววิทยาอีก 1 ชม. และอาจจะปิดท้ายด้วยทำโจทย์คณิต 5 ข้อก็ได้น้า

ซึ่งถ้าน้อง ๆ คนไหนยังไม่รู้ว่าจะเริ้มแต่ละวิชายังไงก็สามารถดูคลิปติวของสนาม ๆ ต่าง ๆ ข้างล่างนี้ดูก่อนได้เลยน้า

ดูคลิปติวสอบเข้ามหาลัยฯ TCAS

ติดตามคลิปติวอื่น ๆ ได้ทาง YouTube Channel : SmartMathPro

แจก 3 วิธีอ่านหนังสือยังไงให้สมาธิไม่หลุด จำได้เยอะขึ้น

1. เขียนแพลนเนอร์

จริง ๆ แล้วการเขียนแพลนเนอร์มีประโยชน์เยอะมากกก อย่างแรก คือ การเขียนแพลนเนอร์จะทำให้เห็นกิจกรรม
ที่ต้องทำทั้งหมดใน 1 วัน ช่วยให้วางแผนกิจกรรมและการอ่านหนังสือได้ดีขึ้น เป็นการฝึกบริหารเวลาที่ดีมาก ๆ เลยล่ะ

โดยประเภทของแพลนเนอร์นอกเหนือจากแพลนเนอร์รายวัน ก็มีอีกหลายแบบให้น้อง ๆ ได้เลือก เช่น แพลนเนอร์
รายสัปดาห์ แพลนเนอร์รายเดือน น้อง ๆ อาจจะลองใช้หลาย ๆ รูปแบบเพื่อให้รู้ว่าแบบไหนเหมาะกับการจดเลคเชอร์ของตัวเองที่สุด

เทคนิคการใช้สีให้หลากหลายใน 1 หน้ากระดาษจะช่วยให้น้อง ๆ จำเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เช่น

  • ต้องการจดเนื้อหา แนะนำให้ใช้สีโทนเย็นอย่าง สีน้ำเงินหรือสีฟ้า เพราะเป็นสีที่ทำให้สบายตา
  • ต้องการจะเขียนคำนิยามหรือความหมายของคำนั้น ๆ ควรเลือกใช้ สีเขียว
  • ต้องการเตือนความจำ เพื่อย้ำว่าห้ามลืมหรือห้ามพลาดตรงจุดนี้ แนะนำให้ใช้ สีม่วง
  • ต้องการย้ำว่าคำนี้สำคัญสุด ๆ ให้ใช้สีที่มีความร้อนแรงอย่าง สีแดง

เพราะเวลากลับมาทบทวน น้อง ๆ จะได้เห็นอย่างชัดเจน (ปล. น้อง ๆ สามารถนำเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้ หรือปรับเปลี่ยนสี ตามที่ตัวเองชอบเวลาอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ ได้เลย) ทั้งนี้ถ้าใครไม่รู้จะเริ่มเขียนแพลนเนอร์ยังไงดี พี่แนะนำให้ลองดูจากกำหนดการ TCAS68 แล้วลองเอากำหนดการที่สำคัญ มาใส่ในแพลนเนอร์ตัวเองดูน้า

2. เลือกช่วงเวลาอ่านหนังสือให้เหมาะสม

การอ่านหนังสือในช่วงเวลาที่สมองปลอดโปร่งและตื่นตัว ถือเป็นเวลาที่ดีที่สุดเพราะจะทำให้น้อง ๆ อ่านหนังสือแล้วจำได้เยอะขึ้น แต่ช่วงเวลาของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน บางคนสะดวกช่วงเช้า (ช่วงเวลาก่อนไปโรงเรียน) เช่น ตี 5 – 7 โมง ส่วนบางคนชอบอ่านหนังสือตอนกลางคืน หรือหลายคนโต้รุ่งไปเลยก็มี (แต่อันนี้ไม่ดีต่อร่างกาย  และไม่ควรทำบ่อย ๆ น้า)

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะเริ่มเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบเข้ามหาลัยฯ แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรจะอ่านหนังสือช่วงเวลาไหนดี
พี่แนะนำให้แบ่งวันใน 1 อาทิตย์ เพื่อให้ได้ทดลองอ่านหนังสือทั้ง 2 เวลา เช่น อ่านตอนเช้า 4 วัน อีก 3 วันอ่านตอน
กลางคืน หรือปรับเวลาตามที่สะดวกได้เลยย

3. เทคนิคมะเขือเทศ (Pomodoro) ใครไม่ค่อยมีสมาธิ แนะนำวิธีนี้ !!

น้อง ๆ หลายคนยังไม่เริ่มเตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยฯ เพราะรู้สึกว่ายังไม่มีสมาธิมากพอที่จะอ่านนาน ๆ เป็นชั่วโมง
ซึ่งจริง ๆ แล้ว สามารถแบ่งเวลาสั้น ๆ สัก 20-25 นาทีเพื่ออ่านหนังสือแล้วค่อยพักเบรก 5 นาทีตามแบบเทคนิคมะเขือเทศได้ แต่ช่วงเวลาที่อ่านนั้น น้อง ๆ จะต้องโฟกัสกับสิ่งที่อ่านแบบ 100% ทำวนแบบนี้ไป 4 รอบ แล้วก็จะรู้ว่าเราอ่านได้ตั้ง
1 ชม. แบบที่สมาธิไม่หลุดเลย !! เหมาะมาก ๆ สำหรับคนที่โฟกัสกับการอ่านหนังสือได้ไม่นาน สามารถเอาวิธีนี้
ไปลองใช้ดูได้น้าา

4. จัดตารางอ่านหนังสือให้เหมาะกับตัวเอง

ก่อนที่น้อง ๆ จะเริ่มอ่านหนังสือ พี่อยากให้ทุกคนลองมองเป็นภาพกว้างก่อนว่าเรามีวิชาหรือเนื้อหาอะไรที่ต้องอ่านบ้าง เพื่อสอบเข้าคณะที่เราใฝ่ฝันเอาไว้ ลิสต์ออกมาแล้วจัดตารางอ่านหนังสือกันดูว่าแต่ละวิชาควรจะอ่านช่วงไหน และควรเก็บเนื้อหากับฝึกทำโจทย์ตั้งแต่เดือนอะไร เราจะได้ไม่ตกหล่นเนื้อหาสำคัญ และเห็นความคืบหน้าในการเตรียมตัวสอบด้วยน้า

ทั้งนี้การจัดตารางอ่านหนังสือพี่ก็แนะนำให้ยึดความสะดวกและความเหมาะสมของเป้าหมายทุกคนไว้เป็นอันดับแรกเลย เพราะถ้าเราจัดตารางอ่านหนังสือแบบที่หนักหรือเบาจนเกินไปก็อาจจะไม่ดีกับตัวเรานั่นเอง 

อยากสอบติด … ต้องคิดแบบนี้

จริง ๆ แล้วการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยฯ ไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะน้อง ๆ ต้องทุ่มเททั้งพลังกาย และพลังใจ ทำให้มีบางครั้งที่รู้สึกท้อ เครียด และหมดไฟ ดังนั้นพี่จะขอเติมกำลังใจให้ทุกคนด้วยการยกข้อชวนคิดของเด็กสอบติดมาให้น้อง ๆ ดูว่าเขามีวิธีคิดกันยังไงและนำไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเองดูน้า

1. ไม่จำเป็นต้องเก็บเนื้อหาครบทุกบท หรือทำข้อสอบได้ทุกข้อ

ถ้าอิงตาม Test Blueprint ของแต่ละวิชา จะเห็นว่าบางบทก็ถูกตัดออก เช่น การให้เหตุผล (ไม่ใช่การอ้างเหตุผลในตรรกศาสตร์) หรือทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ของ A-Level คณิต 1 ซึ่งน้อง ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่าน (แต่ถ้าอยากทบทวนความรู้
ก็สามารถอ่านได้นะ !!) และเลือกเก็บบทอื่น ๆ ที่ออกสอบแทน

2. เด็กสอบติดจะรู้ว่า … เก็บเนื้อหายังไงก็จะเข้าใจไม่เกิน 50% จนกว่าจะทำโจทย์

การอ่านหนังสือทำให้น้อง ๆ ได้เรียนทฤษฎี แต่ถ้าอยากรู้ว่าเมื่อลงสนามสอบจริงแล้ว จะทำโจทย์ประยุกต์ได้มั้ย หรือใช้สูตรเป็นหรือเปล่า ก็ต้องลองทำโจทย์หรือแบบฝึกหัดก่อน (แนะนำว่าควรเลือกโจทย์ที่เป็นแนวข้อสอบเก่าน้า เพราะจะได้ฝึกทำโจทย์ที่มีความยากใกล้เคียงกับระดับของข้อสอบจริง)

3. เจอข้อที่ทำไม่ได้ แค่เปิดดูเฉลยและทำความเข้าใจ

ถ้าทำโจทย์แล้วเจอข้อที่ทำไม่ได้ สิ่งที่ง่ายที่สุดคือการเปิดเฉลย และดูวิธีทำ ไม่จำเป็นต้องนั่งเครียดกับข้อนั้น ๆ
เป็นเวลานาน เพราะน้อง ๆ อาจจะเจอข้อที่ทำไม่ได้บ่อย ๆ ดังนั้นอย่าจม อ่านเฉลยให้เข้าใจก่อนแล้วค่อยนั่งทำใหม่นะ !!

4. เรียนแล้วลืม อ่านแล้วลืม เป็นเรื่องปกติ

ถ้าไม่ได้ทบทวนอยู่บ่อย ๆ เนื้อหาที่เคยเรียนมาจะค่อย ๆ หายไปเรื่อย ๆ ดังนั้นพี่แนะนำว่าหลังจากเรียนพิเศษแล้ว
ให้น้อง ๆ อ่านทบทวนเลยทันที ถ้ายังจำไม่ได้ ก็แค่ทวนซ้ำใหม่จนกว่าจะเข้าใจและทำได้

5. เด็กสอบติดก็คือ “คนธรรมดา” ที่น้อง ๆ เองก็เป็นได้

ข้อนี้สำคัญมาก จงจำไว้เสมอว่าเด็กสอบติดก็คือ “คนธรรมดา” ที่น้อง ๆ เองก็เป็นได้ ไม่ว่าระหว่างทางจะยากหรือ
มีอุปสรรคมากมายแค่ไหน อาจจะมีปาดเหงื่อ ปาดน้ำตากันบ้าง แต่พี่ขอให้ทุกคนสู้ให้เต็มที่ พี่เองก็จะอยู่สู้ไปกับน้อง ๆ
เช่นกัน !!

6. เวลาเหลือน้อยก็สอบติดได้ !!

เมื่อวันสอบใกล้เข้ามาถึง น้อง ๆ อาจจะรู้สึกเครียดและกังวลว่าจะเตรียมตัวสอบไม่ทัน เพราะบางคนอาจยังเก็บเนื้อหา
ไม่จบ หรือยังเหลืออีกหลายวิชาที่ยังไม่ได้อ่าน ทั้งนี้แม้จะเหลือเวลาน้อยแค่ไหน พี่เชื่อว่าน้อง ๆ ก็มีโอกาสสอบติดคณะในฝันได้ ดังนั้นพี่เลยขอนำ 3 เทคนิคการเตรียมตัวสอบให้ทันมาฝากทุกคนด้วย สามารถทำตามนี้ได้เลยน้าาา

  • ใช้ความตั้งใจเข้าสู้ เพราะถ้าน้อง ๆ มีความตั้งใจและใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้เต็มที่ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมา อาจจะไม่แพ้คนที่เตรียมตัวมานานก็เป็นได้
  • ลุยแบบมีกลยุทธ์ เช่น นำวิธีการอ่านหนังสือของรุ่นพี่ที่สอบติดแล้วมาปรับใช้กับตัวเอง เพราะน้อง ๆ จะได้ไม่เสียเวลาลองผิดลองถูกมากนัก และจะได้มุ่งมั่นกับการอ่านหนังสือเป็นหลัก
  • Stay Focus โดยให้น้อง ๆ นึกถึงเป้าหมายของตัวเองอยู่บ่อย ๆ และลงมือทำไปด้วยเพื่อให้ความฝันกลายเป็นจริง

ดูคลิปเติมกำลังใจสอบเข้ามหาลัยฯ

ติดตาม Podcast อื่น ๆ ของพี่ปั้น ได้ทาง YouTube Channel : SmartMathPro

น้อง ๆ เคยได้ยินประโยคที่ว่า เตรียมตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง กันมั้ยย พี่อยากให้ลองเอาประโยคนี้มาปรับใช้กับการเตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ กันดูน้าา เพราะการเตรียมตัวที่ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบติดของน้อง ๆ ได้มากขึ้น สุดท้ายนี้ไม่ว่าทุกคนจะเห็นบทความนี้ตอนไหน หรือเหลือเวลาเตรียมสอบอีกเท่าไร แต่ถ้าทุกคนลงมือทำอย่างเต็มที่ตอนนี้ พี่เชื่อว่ายังไงก็เป็นผลดีแน่นอน

แต่สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าควรจะเตรียมสอบยังไงดี อยากได้คนช่วยไกด์ให้ว่าควรเริ่มจากตรงไหนก่อน พี่ก็ขอแนะนำตัวช่วยอย่าง คอร์สเตรียมสอบมหาลัยฯ ของ SmartMathPro เลย เพราะมีคอร์สให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น TGAT 2,3, TPAT1, TPAT3, TPAT5 นอกจากนี้ยังมีคอร์ส A-Level คณิต 1, คณิต 2, ภาษาไทยและสังคมศึกษาซึ่งสอนโดยติวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละวิชาด้วยไม่ว่าจะเป็น พี่ปั้น, อ.ขลุ่ย, พี่หมออู๋, ครูกอล์ฟ และพี่ลัคกี้

โดยในแต่ละคอร์สสอนเนื้อหาปูพื้นฐาน อิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุด (ใครที่พื้นฐานไม่แน่นก็สามารถเรียนได้) พร้อมพาตะลุยโจทย์แบบไต่ระดับ ตั้งแต่โจทย์ซ้อมมือไปจนถึงข้อสอบเก่าหรือโจทย์ที่ใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย แถมยังแจกเทคนิคในการทำข้อสอบที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้เร็วขึ้นและช่วยเพิ่มโอกาสในการอัปคะแนนให้อีกด้วย สำหรับ
น้อง ๆ คนไหนที่สมัครตอนนี้ รับฟรี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ และสิทธิพิเศษต่าง ๆ ประจำเดือน ถ้าใครสนใจ
คลิก เข้ามาดูรายละเอียดแต่ละคอร์สได้เลยยย

พี่แนะนำว่าให้เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้เลยน้า เพราะแต่ละวิชาวิชาก็มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ และเวลาในการเตรียมสอบก็น้อยลงจากปีที่แล้ว ดังนั้นยิ่งเราเริ่มเร็วเท่าไร น้อง ๆ ก็จะยิ่งมีเวลาฝึกทำโจทย์ซ้ำบ่อย ๆ จนคล่อง เหลือเวลาให้ทบทวนและปิดจุดอ่อนของตัวเองก่อนวันสอบจริงด้วย

บทความ แนะนำ

บทความ แนะนำ

กำหนดการ TCAS68
TCAS68 สอบวันไหน? ลงทะเบียน MyTCAS68 เมื่อไหร่? สรุปตารางสอบ Dek68 ฉบับอัปเดตล่าสุด
TGAT TPAT คืออะไร? Dek68 ต้องสอบ TGAT TPAT ไหม ? สรุปครบในบทความนี้
TGAT TPAT คืออะไร? มีอะไรบ้าง? สรุปพร้อมแจกแนวข้อสอบและคลิปติว
เตรียมสอบ TGAT ยังไงดี ? สำหรับ Dek68
เตรียมสอบ TGAT ยังไง? รวมเทคนิคเริ่มอ่าน TGAT ครบทุกพาร์ต !
TPAT1 คืออะไร? พร้อมเทคนิคอ่านหนังสือจากรุ่นพี่
TPAT1 คืออะไร ? สอบอะไรบ้าง ? พร้อมตัวอย่างแนวข้อสอบและคลิปติว
สรุป TPAT1 กสพท 68 ฉบับอัปเดตล่าสุด ตามแถลงการณ์
สรุป กสพท คืออะไร? ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง? กสพท68 มีอะไรเปล่ียนแปลง?
เตรียมสอบ TPAT1 ยังไงดี
Dek68 เตรียมสอบ TPAT1 ยังไง? พร้อมแจกเทคนิคเตรียมสอบและคลิปติว
A-Level คืออะไร
A-Level คืออะไร? มีกี่ข้อ? มีวิชาอะไรบ้าง? สรุปครบพร้อมคลิปติว

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่

Line : @smartmathpronews 

FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น 

IG : pan_smartmathpro

X : @PanSmartMathPro 

Tiktok : @pan_smartmathpro

Share