ใครชอบการเขียนโค้ด หรือสนใจเรื่องการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ฟังทางนี้ !! วันนี้พี่มีบทความเจาะลึก “คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์” ที่น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับการเขียนและพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ แบบเจาะลึกมาฝากด้วยย
และที่พิเศษที่สุด วันนี้ “พี่ซัน” รุ่นพี่จากสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สจล. จะมาเล่าประสบการณ์วิธีค้นหาตัวเอง การเตรียมตัวสอบ ชีวิตช่วงมหาลัยฯ และเรื่องอื่น ๆ อีกมากมายให้ทุกคนฟัง และขอสปอยล์นิดนึงว่าพี่ซันมีเทคนิคอ่านหนังสือสายคำนวณและสายจำของพี่ซันมาฝากด้วย ถ้าใครอยากได้เทคนิคดี ๆ ไว้เตรียมสอบ ห้ามพลาดบทความนี้เลย
สนใจหัวข้อไหน ... กดอ่านเลย
Toggleค้นหาตัวเองและเตรียมสอบเข้ามหาลัยฯ
สำหรับพาร์ตนี้ พี่ซันจะมาเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการอยากเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างวิธีการค้นหาตัวเองว่าพี่ซันใช้วิธีไหนบ้าง และสาเหตุที่ตัดสินใจเลือกเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่สจล. และพี่ซันขอแถมวิธีการเตรียมตัวสอบและเทคนิคการอ่านหนังสือทั้งวิชาสายจำและสายคำนวณด้วยยย
สวัสดีทุกคนน้าา พี่ซันเองงง ตอนนี้เรียนอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 2 (กำลังจะขึ้นปีที่ 3) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พี่เป็น Dek64 จบมาจากสายการเรียนวิทย์ – คณิต
มีวิธีค้นหาตัวเองยังไงบ้าง ?
จุดเริ่มต้นมาจากพี่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เลยไปปรึกษาอาจารย์แนะแนว ซึ่งอาจารย์ก็แนะนำว่าให้ลองไป OPEN HOUSE ของแต่ละคณะ / มหาลัยฯ และตอนแรกจริง ๆ พี่สนใจคณะเภสัชศาสตร์ ยังไม่ได้เลือกที่จะเรียนวิศวกรรมศาสตร์เลยทันที แต่พอได้ลองไป OPEN HOUSE กลับรู้สึกว่าชอบการเรียนของคณะวิศวกรรมศาสตร์มากกว่า เลยตัดสินใจได้ว่าจะเรียนคณะนี้ ยิ่งได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่างจริงจังมากขึ้น ก็ยิ่งสนใจคณะนี้ขึ้นไปอีกค่ะ
แล้วทำไมถึงเลือกเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สจล. ?
ช่วงม.ปลาย พี่มีโอกาสได้ทำโครงงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หลายตัว ซึ่งพอได้ศึกษาและเรียนรู้มากขึ้นเลยทำให้รู้สึกสนุกกับการเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นสาเหตุที่ตัดสินใจเลือกเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็หาข้อมูลเกี่ยวกับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของหลาย ๆ มหาลัยฯ เพิ่มเติม และมีปรึกษารุ่นพี่บ้าง สุดท้ายคือสไตล์การเรียนของสจล. ที่เน้นการปฏิบัติและลงมือทำมากกว่าการนั่งเรียนเลคเชอร์ ตอบโจทย์พี่ที่สุด ก็เลยเลือกเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่นี่นั่นเอง
เลือกคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอื่น ๆ ไว้ด้วยไหม อย่างเช่น วิศวะไฟฟ้า วิศวะเครื่องกล
พี่เลือกวิศวกรรมศาสตร์ สาขาชีวการแพทย์กับสาขาเคมีไว้ด้วย ส่วนที่เลือกสาขาชีวการแพทย์เพราะว่าเป็นสาขาใหม่ที่น่าสนใจมาก ซึ่งหลักสูตรจะเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้กับมนุษย์โดยเฉพาะด้านการแพทย์ และอีก 1 สาขา คือ วิศวกรรมศาสตร์ สาขาเคมี เพราะว่าพี่ชอบวิชาเคมีเป็นอันดับที่ 2 รองจากวิชาฟิสิกส์เลย
ตอนเตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยฯ อ่านหนังสือเยอะไหม ?
จริง ๆ พี่เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ ม.5 เลย ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ศึกษาก่อนว่าจะต้องใช้คะแนนวิชาอะไรบ้าง สัดส่วนคะแนนของวิชาไหนเยอะที่สุด แล้วพี่ก็จะทุ่มกับวิชานั้น ๆ เป็นพิเศษค่ะ โดยวิศวกรรมศาสตร์ใช้คะแนน PAT3 50% + PAT1 20% + GAT 20% (จริง ๆ พี่สอบ PAT2 ด้วยแต่มหาลัยฯ นี้ไม่ได้ใช้) ซึ่งจะเห็นว่าใช้คะแนน PAT3 ค่อนข้างเยอะ พี่ก็จะเน้นอ่านวิชาฟิสิกส์ เคมี คณิต และ Drawing ก่อน จากนั้นก็ค่อยมาอ่านภาษาอังกฤษ และฝึกทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง พอเก็บเนื้อหาหลัก ๆ ครบทั้งหมด ก็ไปลุยอ่านวิชาชีววิทยาเพื่อใช้สอบ PAT2 ต่อ
ขอเสริมจากพี่ซันหน่อยน้าา อาจจะมีน้อง ๆ หลายคนสงสัยว่า PAT2,PAT3 เหมือนกับ TPAT2 / TPAT3 ไหม ? จริง ๆ แล้วเนื้อหามีความทับซ้อนกันบ้าง เพราะก่อนหน้านี้ PAT2 = วิทยาศาสตร์ และ PAT3 = วิศวกรรมศาสตร์
ทั้งนี้ตั้งแต่ TCAS66 เป็นต้นมา วิชาดังกล่าวก็รวมกันเป็น TPAT3 ที่ออกสอบครบทั้งวิทย์และวิศวะ และ TPAT2 ก็กลายเป็นศิลปกรรมศาสตร์แทน ดังนั้นน้อง ๆ Dek68 ที่กำลังจะเตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยฯ จะใช้เกณฑ์ของ TCAS68 น้าาา
มีเทคนิคการอ่านหนังสือยังไง ? เพราะเตรียมสอบเยอะมากทั้งวิชาสายคำนวณและสายจำ
ถ้าเป็นวิชาที่เน้นคำนวณอย่างฟิสิกส์หรือคณิตศาสตร์ หลักการที่ซันใช้มาตลอดคือ “มองตามความเป็นจริง”
หมายถึง การจินตนาการภาพตามโจทย์โดยอ้างอิงตามหลักความเป็นจริง อาจจะใช้การวาดภาพหรือเอาความเป็นชีวิตประจำวันใส่ลงไปในโจทย์ เช่น x + 3 = 7 พี่อาจจะมองเป็น ตอนนี้ทิมอายุเท่าไหร่ ถ้าผ่านไป 3 ปีแล้วทิมอายุ 7 ขวบ แต่เทคนิคนี้พี่ไม่ได้ใช้ทุกครั้งน้าา จะใช้แค่ช่วงแรก ๆ ที่ต้องใช้ความเข้าใจก่อน แต่พอฝึกทำโจทย์ไปเรื่อย ๆ จนเริ่มคล่องกับการทำโจทย์มากขึ้น ก็จะรู้วิธีคิดของโจทย์ข้อนั้น ๆ โดยที่ไม่ต้องสมมติเหตุการณ์ขึ้นมาแล้ว
ส่วนเทคนิควิชาที่เน้นจำ พี่จะใช้วิธีการอ่านออกเสียงและพูดให้เพื่อนฟัง ที่สำคัญมาก ๆ คือความสม่ำเสมอในการอ่านหนังสือสอบ ถ้าน้อง ๆ คนไหนที่อ่านหนังสือแล้วรู้สึกไม่สนุกหรือตีโจทย์ไม่ออก ลองนึกตามความเป็นจริงแบบวิธีของพี่ก็ได้ อาจจะทำให้เข้าใจที่มาที่ไปของโจทย์นั้น ๆ แล้วก็รู้สึกสนุกมากขึ้น
แบ่งเวลาอ่านหนังสือสอบที่โรงเรียนกับสอบเข้ามหาลัยฯ ยังไง ?
ถ้าอยู่ที่โรงเรียน พี่จะตั้งใจเรียนในห้อง ส่วนช่วงคาบว่างจะอ่านหนังสือและทำการบ้านของที่โรงเรียนให้เสร็จ ถ้าเลิกเรียนแล้ว ก็จะเปลี่ยนมาอ่านหนังสือ ทำโจทย์ สำหรับสอบเข้ามหาลัยฯ
โดยหลังเลิกเรียนของทุกวัน พี่จะเรียนพิเศษวันละ 3 ชั่วโมง และเปลี่ยนวิชาเรียนสลับกันไป ส่วนเสาร์ – อาทิตย์
กับปิดเทอมจะใช้เวลาเรียนพิเศษประมาณ 8 ชั่วโมง ครึ่งเช้าจะเป็นวิชาหนึ่ง ครึ่งบ่ายจะเป็นอีกวิชาหนึ่ง แล้วแต่ว่าวันนั้น
จะจัดตารางเรียนพิเศษยังไง และวิชาอื่น ๆ อย่างเช่น Drawing, ภาษาอังกฤษ และ GAT เชื่อมโยง พี่มีพื้นฐานอยู่แล้วเลยเลือกที่จะอ่านเองน้า
ช่วงที่อ่านหนังสือหนัก ๆ เคยรู้สึกหมดไฟบ้างไหม ? แล้วมีวิธีการแก้ไขยังไง ?
พี่หมดไฟบ่อยมากเลยย คิดว่าไม่น่าจะอ่านหนังสือต่อได้ เลยแก้อาการหมดไฟด้วยการพักผ่อน และให้รางวัลตัวเอง อย่างการทำสิ่งที่ชอบ เช่น กินขนม ดูหนัง ฟังเพลง แล้วก็จะขอกำลังใจจากคุณแม่ด้วย
รีวิวการเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่ สจล.
พาร์ตเตรียมตัวสอบก็ผ่านไปแล้ว ต่อมาพี่ซันมาเล่าเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและชีวิตตอนเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่ สจล. เผื่อน้อง ๆ คนไหนสนใจจะเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ แล้วกำลังหาอ่านรีวิวเกี่ยวกับคณะนี้เพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยประกอบการตัดสินใจได้ดีเลยน้าา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?
วิศวกรรมศาสตร์ สจล. จะเรียนแยกสาขาตั้งแต่ปี 1 เลย พี่เลยไม่แน่ใจว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาลัยฯ อื่น ๆ เรียนยังไงบ้าง แต่เท่าที่พี่รู้ คือ เรียนวิชาฟิสิกส์ เคมี และ Drawing แต่ถ้าเป็นวิศวกรรมศาสตร์ สาขาชีวการแพทย์ ก็จะได้เรียนวิชาชีววิทยาเพิ่ม แต่วิชาเหล่านี้จะไม่เจอในวิศวคอมพิวเตอร์น้า มีแค่ 2 วิชาเท่านั้นตอนปี 1 ที่เรียนเหมือนกัน คือ วิชาแคลคูลัสกับวิชาปูพื้นฐานสำหรับวิศวกรรมศาสตร์แค่นั้นเลยย
ส่วนวิศวคอมพิวเตอร์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ? ก็จะแบ่งออกเป็น 3 สายหลัก ๆ คือ
- Software เรียนการเขียนภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษา C, Python, Java รวมไปถึงภาษาระดับล่างอย่าง Assembly
- Hardware เรียนพื้นฐานของวงจรไฟฟ้า การใช้บอร์ด Microcontroller ต่าง ๆ และเรียนเกี่ยวกับส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ว่าต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
- Network เรียนเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบเครือข่าย แนวคิดพื้นฐานและ Protocol ต่าง ๆ ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แต่ละ Layer
พี่มองว่าวิศวคอมพิวเตอร์เป็นสาขาที่ต้องใช้เวลาเรียนรู้และฝึกฝนด้วยตัวเองค่อนข้างมาก และต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลาเพื่อตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทัน โดยที่พี่ฝึกเขียนโค้ดทุกวัน (ถ้าไม่ฝึกอยู่เรื่อย ๆ พอถึงเวลาสอบก็จะไม่คล่องมือ T___T) เพราะมีบางคำสั่งที่ไม่รู้เลยว่ามีคำสั่งนี้ ถ้าไม่ได้เขียนโค้ดบ่อย ๆ หรือลองเขียนให้หลากหลาย ทำให้พี่ต้องฝึกเขียนตลอดนั่นเอง
นอกจากนั้น พี่จะหาความรู้นอกห้องเรียนตลอด เช่น เรียนในยูทูปและอ่านเว็บไซต์ เพราะมันมีประโยชน์มากในช่วงที่ทำโปรเจกต์ เนื่องจากที่นี่จะเน้นการเรียนรู้ด้วยตัวเองค่อนข้างมาก ถ้าไม่หาความรู้เพิ่มเติม อาจจะทำให้สู้เพื่อน ๆ คนอื่น
ไม่ได้เลย เพราะทุกคนที่นี่ขยันมากจริง ๆ
แต่ถ้าถามว่าเรียนหนักมากแค่ไหน พี่ว่ามันขึ้นอยู่กับความขยันและทุ่มเท ถ้าน้อง ๆ ฝึกฝนอยู่เสมอ ไม่ดองงานเอาไว้ทำตอนช่วงเดดไลน์ พี่คิดว่ามันก็จะไม่หนักเกินความสามารถของน้อง ๆ ทุกคนแน่นอน
พี่คิดว่าการมี Connection ในมหาลัยฯ ก็สำคัญประมาณหนึ่งเลย เพราะรุ่นพี่จะคอยส่งต่อเลคเชอร์แต่ละวิชาให้รุ่นน้อง ซึ่งการมีเลคเชอร์จากรุ่นพี่จะช่วยลดระยะเวลาในการอ่านหนังสือได้มาก ๆ แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่าเลคเชอร์จากรุ่นพี่ คือ “ความสม่ำเสมอ” ไม่ว่าจะเป็นการตั้งใจเรียน อ่านหนังสือ ทำการบ้านอย่างเป็นประจำ อย่างตัวของพี่เอง ก็จะเอาเลคเชอร์ของรุ่นพี่และของตัวเองที่จดไว้มาอ่านและสรุปอีกรอบทุก ๆ สัปดาห์ ซึ่งพี่คิดว่าถ้ามีวินัยแบบนี้อยู่ตลอด
ไม่ว่าข้อสอบจะยากแค่ไหนก็จะผ่านมันไปได้
นอกจากรุ่นพี่แล้ว พี่ก็ยังมีเพื่อนที่เป็นกันเองและคอยให้ความช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ ทั้งเรื่องเรียน เรื่องงาน
และเรื่องอื่น ๆ ทำให้พี่รู้สึกไม่เครียดและมีความสุขในช่วงเวลาที่เรียนที่นี่มาก ๆ เลย
แล้วคณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังมีสาขาอื่น ๆ อีกไหม ?
มีหลากหลายเลย เช่น วิศวกรรมโยธา จะครอบคลุมเรื่องการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การสร้างตึก, อาคาร, สะพาน, ถนน ระบบขนส่ง ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ
หรือจะเป็น วิศวกรรมเคมี เรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพ การออกแบบอุปกรณ์ และการควบคุมกระบวนการทำงานทางเคมี รวมถึงเรียนรู้หลักการของกระบวนการผลิตเคมีในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ
นอกจากนี้ก็ยังมี วิศวกรรมชีวการแพทย์ ที่จะได้นำความรู้ทั้งด้านการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์ด้วย
เรื่องสาขาของคณะวิทศวกรรมศาสตร์ยังไม่หมดแค่นี้น้า แนะนำว่าให้น้อง ๆ ทุกคนลองเข้าไปอ่านหลักสูตรได้ที่เว็บไซต์มหาลัยฯ หรือลองแวะไปดู OPEN HOUSE ของมหาลัยฯ ต่าง ๆ ก็จะช่วยให้รู้จักสาขาของคณะวิศวกรรมศาสตร์มากขึ้น
ถ้าเรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถทำงานอะไรได้บ้าง ?
ถ้าใครเรียนวิศวคอมพิวเตอร์มา แล้วต้องการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเป็นได้แทบจะทั้งหมดเลยย
เช่น Programmer, Web Developer, System Administrator และก็สามารถทำงานสายอื่นได้เช่นกัน เพราะรุ่นพี่ของพี่บางคนก็ทำธุรกิจส่วนตัว บางคนก็ทำงานเกี่ยวกับคอมและไม่เกี่ยวกับคอมก็มีเหมือนกัน
ข้อความถึงน้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์
อยากให้น้อง ๆ ทุกคนสู้ ๆ น้าา พยายามให้เต็มที่เพื่อความฝันของเรา พี่เชื่อว่าถ้าน้อง ๆ ตั้งใจจะทำ ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถของทุกคนแน่นอน พี่เป็นกำลังใจให้น้าา
ได้ฟังบทสัมภาษณ์ของรุ่นพี่จากสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ตัวจริง เสียงจริงกันไปแล้ว น้อง ๆ ที่อยากเข้าสาขานี้คงได้รับแรงบันดาลใจในการเตรียมตัวสอบกันไปเยอะเลยใช่ไหมมม แต่อย่างที่พี่ซันบอกเลยว่า ความพยายามกับความตั้งใจของเราเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้น Dek68 คนไหนที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้าคณะนี้อยู่ก็ตั้งใจให้เต็มที่กันเลยน้าาาา
แต่สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มเตรียมตัวสอบยังไง เพราะอาจจะมีหลายวิชาให้ต้องอ่านและฝึกทำโจทย์ Dek68 คนไหนที่กำลังกังวลเรื่องนี้อยู่ วันนี้พี่มีตัวช่วยดี ๆ มาแนะนำ คือ คอร์สเตรียมสอบเข้าคณะกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ จาก SmartMathPro นั่นเองงง
ซึ่งมีคอร์สให้น้อง ๆ เลือกเรียนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น TGAT, TPAT3, A-Level คณิต 1 และวิชาอื่น ๆ อีกเพียบ สอนโดยติวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละวิชา โดยในแต่ละคอร์สสอนเนื้อหาปูพื้นฐาน อิงตาม Test Blueprint ปีล่าสุด (ใครที่พื้นฐานไม่แน่นก็สามารถเรียนได้) พร้อมพาตะลุยโจทย์แบบไต่ระดับ ตั้งแต่โจทย์ซ้อมมือไปจนถึงข้อสอบเก่าหรือโจทย์ที่ใกล้เคียงกับข้อสอบจริงเลย แถมยังแจกเทคนิคในการทำข้อสอบที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้เร็วขึ้นและช่วยเพิ่มโอกาสในการอัปคะแนนให้อีกด้วย
แนะนำให้รีบเตรียมสอบตั้งแต่ตอนนี้เลยน้า เพราะ ปีนี้สนามสอบวิชาต่าง ๆ เลื่อนกมาสอบไวขึ้นกว่าปีที่แล้วที่สำคัญ ถ้าสมัครตอนนี้รับฟรี Unseen Mock Test ชุดพิเศษ และสิทธิพิเศษต่าง ๆ ประจำเดือน ถ้าใครสนใจ คลิก เข้ามาดู
รายละเอียดแต่ละคอร์สได้เลยยย
รีวิว คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรียนอะไรบ้าง ?
ดูคลิปรีวิวคณะอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ YouTube : SmartMathPro
บทความ แนะนำ
บทความ แนะนำ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารต่าง ๆ ที่อัปเดตอย่างเรียลไทม์ ได้ที่
Line : @smartmathpronews
FB : Pan SmartMathPro ติวคณิต By พี่ปั้น
IG : pan_smartmathpro
X : @PanSmartMathPro
Tiktok : @pan_smartmathpro